ภาษากรีกคอยนี

ภาษากรีกคอยนี หรือ ภาษากรีกคอยเน (อังกฤษ: Koine Greek, /ˈkɔɪn/,[1] และในชื่อเรียกต่างๆกัน ได้แก่ สำเนียงอเล็กซานเดรีย, แอตติกพื้นบ้าน, ภาษาเฮลเลนิก หรือ ภาษากรีกไบเบิ้ล (โดยเฉพาะพระคริสต์ธรรมใหม่) เป็นรูปแบบของภาษากรีกมาตรฐาน หรือภาษากลาง (ทางวิชาการเรียกว่า ภาษาคอยเน่ หรือ koine language) ที่ใช้ทั้งในการพูดและเขียน ทั่วทั้งบริเวณเมดิเตอเรเนียน และบางส่วนของตะวันออกกลาง ในสมัยเฮลเลนิสติก และสมัยโรมันโบราณ จนถึงช่วงต้นของสมัยไบแซนไทน์ หรือช่วงปลายสมัยโบราณ (late antiquity) ภาษากรีกคอยนี เป็นวิวัฒนาการมาจากภาษากรีกโบราณ โดยเริ่มจากการแพร่กระจายของภาษากรีก ในสมัยของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนค.ศ. ภาษากรีกคอยนีมีพื้นฐานหลักๆ มาจากภาษากรีกสำเนียงแอตติก และภาษากรีกไอโอนิก ซึ่งเป็นภาษาทางการศึกษาและวรรณคดีในโลกของกรีซโบราณคำว่า คอยนี หรือ คอยเน่ (อังกฤษ: Koine) มาจากคำกรีกว่า ἡ κοινὴ διάλεκτος แปลว่า ภาษาสำเนียงกลาง โดยคำกรีก คอยแน (κοινή) หมายถึง "ที่ใช้ร่วมกัน" ในประเทศกรีซเรียกภาษานี้ว่า "ภาษาภูมิภาคเฮลเลนิสติก" (Ελληνιστική Κοινή) เมื่อภาษากรีกคอยนี กลายมาเป็นภาษาที่ใช้ในวงการวรรณกรรม เมื่อราวศตวรรษที่ 1 ก่อนค.ศ. จึงเกิดการแยกภาษาคอยนีที่เป็นภาษาพูด และที่เป็นภาษาเขียนออกจากกัน โดยถือว่าภาษาเขียนของ กรีกคอยนี เป็นภาษาวรรณกรรมหลังยุคคลาสสิก ส่วนภาษาพูดถือว่าเป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ไมใช่ภาษาหนังสือ ฯ บางท่านก็เรียกภาษากรีกคอยนีว่าเป็น "ภาษาสำนวนอเล็กซานเดรีย" (Ἀλεξανδρέων διάλεκτος) ซึ่งถือเป็นสำเนียงสากลของภาษากรีกในสมัยนั้น ภาษากรีกคอยนีมีบทบาทในทางวรรณกรรมมาก โดยเป็นภาษาสื่อสารของยุคหลังคลาสสิก ที่นักวิชาการ และนักเขียนใช้อย่างแพร่หลาย รวมถึง พลูทาร์ก และโพลีบิอัส นอกจากนี้ กรีกคอยนียังเป็นภาษาของพระคริสต์ธรรมใหม่ และของเซปตัวจินท์ (Septuagint) หรือคัมภีร์พระคริสต์ธรรมเก่าภาษากรีกฉบับแปลศตวรรษที่ 3 นอกจากนี้งานเขียนทางเทววิทยาของเหล่าปิตาจารย์แห่งคริสตจักรในช่วงแรกๆ ก็เป็นภาษากรีกคอยนีเกือบทั้งหมด ปัจจุบันภาษานี้ยังใช้อยู่ในฐานะภาษาทางพิธีกรรมของศาสนจักรกรีกออร์โธด็อกซ์

ภาษากรีกคอยนี

ภูมิภาค จักรวรรดิโรมันตะวันออก
ตระกูลภาษา
นักภาษาศาสตร์ grc-koi
ระบบการเขียน อักษรกรีก (manuscript)
รูปแบบก่อนหน้า
ยุค 300 ก่อนค.ศ. – ค.ศ. 300 (เป็นภาษาทางการของไบเซนไทน์จนปี ค.ศ. 1453)
ISO 639-3 grc (includes all pre-modern stages)
ISO 639-2 grc