ระบบเสียง ของ ภาษากอกบอรอก

โดยส่วนใหญ่เป็นไปตามมาตรฐานของตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า ดังนี้

สระ

มี 6 เสียง คือ a e i o u และ w (อา เอ อี ออ อู และ อือ ตามลำดับ) เสียง w ใกล้เคียงกับเสียง ü ในภาษาเยอรมัน และเสียง u ในภาษาฝรั่งเศส

สระ
 หน้ากลางหลัง
สูงi,y u
สูง-กลางe  
ต่ำ-กลาง  ɔ
ต่ำa  

พยัญชนะ

ประกอบด้วยเสียง b d g h j k l m n p r s t y ch kh ph th ng

พยัญชนะ
 LabialDentalApico-
Alveolar
Lamino-
Postalveolar
VelarGlottal
ไม่ก้อง
กัก
p

t̪ʰ
 t͡ʃk
 
ก้อง
กัก
b d͡ʒɡ 
ไม่ก้อง
เสียงเสียดแทรก
  s  h
นาสิกm n ŋ 
เสียงกึ่งสระ  l, r   

สระประสม

ได้แก ai wi ui oi (อัย อืย อุย และออย ตามลำดับ)

พยางค์

คำส่วนใหญ่เกิดจากการรวมรากศัพท์กับปัจจัยหรืออุปสรรค ตัวอย่างเช่น

  • Kuchuk (กูชุก) มาจากรากศัพท์ chuk หมายถึงสูง รวมกับอุปสรรค ku

ไม่มีคำในภาษากอกบอรอกที่ขึ้นต้นด้วย ng ตำแหน่งท้ายพยางค์จะมีสระอะไรก็ได้ยกเว้น w พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดได้ คือ p k m n ng r l เสียง y ที่เป็นตัวสะกดมักพบในสระประสม เช่น ai wi

กลุ่มพยัญชนะ

กลุ่มของพยัญชนะที่พบในภาษากอกบอรอกมักเป็นเสียงควบกล้ำของ r หรือ l กับพยัญชนะอื่น เช่น p หรือ ph

วรรณยุกต์

มีสองเสียงคือเสียงสูงและเสียงต่ำ เสียงสูงแสดงโดยเติม h หลังสระ เช่นLai (ไล) = ง่าย laih (ไหล) = ข้ามCha (ชา) = ถูก Chah (ฉา) = กิน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษากอกบอรอก http://www.deccanherald.com/archives/jan212005/n13... http://www.ethnologue.com/show_language.asp?code=t... http://www.twipra.com http://tripura.nic.in/tripura_kokborok/ http://multitree.linguistlist.org/codes/xtr http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=r... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=t... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=t... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=u... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=x...