ภาษากวยบังคับช้าง ของ ภาษากูย

ภาษากวย เป็นภาษาบังคับช้างที่ใช้บังคับมาจนถึงปัจจุบันหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ ภาษากวย ภาษาช้าง นั่นเอง เช่น( นั่ง = ตะโก ลุก = ยูร์ เดิน = เปาะ ยืน = สยึง ถอยหลัง = ทอยกเรอย ยกขา = เล๊อยืง หมอบลง = มูมแสง ยกงวง = เล๊อโจบย ดึง = ร๊อง ลาก = ดึ วิ่ง = อึมปรอย แต๊ะ = กถ๊าร์ เต้น = รำ กินกล้วย = จาเปรียด กินอ้อย = จา-กต๊วม ไปอาบน้ำ = จีปอยด๊า หยุด = เจชาว์ ไหว้ = จะม๊า ร้องไห้ = เงียม )

นี้เป็นภาษาบังคับช้างในเบื้องต้นเท่านั้น และเป็นการสื่อสารที่ช้างสามารถปฏิบัติตามได้[2]

  • หมายเหตุ การพูดต้องพูดย้ำ ๆ หลายครั้ง
ภาษาไทย   ภาษากูยทั่วไป  ภาษาผีปะกำ
ผัว-สามี   กะยะอันโทน
เมีย-ภรรยากะแดลอันจึง
ลูกกอน เจลย
ไฟอู้กำโพด
น้ำเดียะอวน
คนโกย/กูย/กวย/กุยมานุด (มนษย์)
ช้างต่ออาจึงทะเนียะทนะ
อาบน้ำปอยเดียะปอยตวน
กินข้าวจาโดยกริโกรด      
  • ภาษาผีปะกำ เป็นภาษาเฉพาะที่ใช้สื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อและใช้ระหว่างหมอช้าง ในพิธีกรรมและระหว่างการเดินทางไปคล้องช้าง จากการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ ตรงกับภาษาบาลี-สันสกฤต ร้อยละ 20, ตรงกับภาษาเขมรโบราณ (ในสำเนียงต่าง ๆ กัน) ร้อยละ 40-50[3]