การค้นพบ ของ ภาษาตันกัต

เอกสารภาษาตันกุตที่เก่าที่สุดเป็นพระสูตรทางพุทธศาสนาอายุราว พ.ศ. 1745 ซึ่งแสดงว่าภาษานี้ยังคงใช้อยู่ในช่วง 300 ปีหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิตันกุต

เอกสารภาษาตันกุตส่วนใหญ่ที่พบพบที่คาราโคโตเมื่อ พ.ศ. 2451 โดย Pyotr Kuzmich Kozlov ปัจจุบันเอกสารเหล่านี้เก็บรักษาไว้ที่สถาบันตะวันออกศึกษา สาขาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กของสมาคมวิทยาศาสตร์รัสเซีย เอกสารที่เก็บรักษาไว้นี้ประกอบด้วยเอกสาร 10,000 เล่ม ส่วนใหญ่เป็นพระสูตรทางพุทธศาสนา กฎหมายและเอกสารทางราชการ อายุราว พุทธศตวรรษที่ 16-18 ในกลุ่มของเอกสารทางพุทธศาสนา มีเอกสารที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งไม่ปรากฏในฉบับภาษาจีนและภาษาทิเบตในปัจจุบัน และยังพบเอกสารเกี่ยวพระอวโลกิเตศวรที่พบเฉพาะในภาษาตันกุต นอกจากนี้มีการเก็บรักษาเอกสารภาษษตันกุตจำนวนน้อยในพิพิธภัณฑ์บริติช หอสมุดแห่งชาติที่ปักกิ่ง ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยปักกิ่งและห้องสมุดอื่นๆ

การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอักษรตันกุตเริ่มเมื่อพุทธศตวรรษที่ 25เมื่อ M. Maurisse ได้รับสำเนาของพระสูตรดอกบัวที่เขียนด้วยภาษาตันกุต โดยเป็นการวิจัยร่วมกับนักวิจัยชาวจีน หลังการค้นพบห้องสมุดคารา-โคโตโดย Pyotr Kuzmich Kozlov ตัวอักษรนี้ถูกจำแนกว่าเป็นของจักรววรดิตันกุตในซีเซี่ย จากนั้นจึงเริ่มศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง นักวิจัยที่มีบทบาทสำคัญคือ N.A. Nevskij ชาวรัสเซียที่สร้างพจนานุกรมภาษาตันกุตเล่มแรก และสร้างความหมายของหน่วยทางไวยากรณ์ของภาษาตันกุตขึ้นมาใหม่ ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะอ่านและเข้าใจภาษาตันกุต งานวิจัยของเขาได้รับการเผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2503 และได้รับรางวัลจากสหภาพโซเวียต แต่ความสำเร็จในการเข้าใจภาษาตันกุตอย่างสมบูรณ์ยังห่างไกล โดยเฉพาะเรื่องโครงสร้างประโยคที่ยังค้นไม่พบ