สัทวิทยา ของ ภาษาบีซู

พยัญชนะ

หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาบีซูถิ่นดอยชมภู จังหวัดเชียงราย[4]
ลักษณะการออกเสียงตำแหน่งเกิดเสียง
ริมฝีปากปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
เสียงนาสิกก้องmnɲŋ
ไม่ก้องŋ̥
เสียงหยุดก้องbdɡ
ไม่ก้องไม่พ่นลมptkʔ
พ่นลม
เสียงเสียดแทรก(f)sʃh
เสียงกักเสียดแทรกไม่พ่นลมt͡st͡ɕ
พ่นลมt͡sʰt͡ɕʰ
เสียงข้างลิ้นก้องl
ไม่ก้อง
เสียงกึ่งสระก้องwj
ไม่ก้อง


  • หน่วยเสียงที่เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายมี 8 หน่วยเสียง ได้แก่ /m/, /n/, /ŋ/, /p/, /t/, /k/, /w/ และ /j/
  • หน่วยเสียงพยัญชนะควบมี 12 หน่วยเสียง ได้แก่ /ml/, /mj/, /bl/, /bj/, /kl/, /kw/, /kj/, /kʰl/, /kʰj/, /pl/, /pʰl/ และ /pʰj/ เกิดในตำแหน่งต้นพยางค์เท่านั้น
  • พยัญชนะ /m̥/, /n̥/, /ŋ̥/, /l̥/, /j̥/ ออกเสียงคล้ายมีลมนำหน้า แต่ปัจจุบันเสียงลมนำหน้าลดลงหรือไม่มีแล้ว[5]
  • หน่วยเสียง /f/ พบเฉพาะในคำยืม

สระ

หน่วยเสียงสระเดี่ยวภาษาบีซูถิ่นดอยชมภู จังหวัดเชียงราย[6]
ระดับลิ้นตำแหน่งลิ้น
หน้ากลางหลัง
สูงiɨu
กลางeəo
ต่ำɛaɔ


  • ระบบเสียงภาษาบีซูถิ่นดอยชมภูมีเฉพาะสระเดี่ยว โดยสระประสม /ia/ ปรากฏเฉพาะในคำยืม เช่น /ʔet͡ɕʰia/ 'เอเชีย'
  • ความสั้นยาวของเสียงสระไม่ทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนแปลง แต่สระที่มีพยัญชนะท้ายเป็น /m/, /n/, /ŋ/, /w/, /j/ มักมีเสียงยาวกว่าสระที่มีพยัญชนะท้ายเป็น /p/, /t/, /k/ อย่างไรก็ตาม ระบบเขียนอักษรไทยใช้รูปสระเสียงยาวในทุกบริบท
  • สระในพยางค์เปิดจะเป็นเสียงยาวตามด้วยเสียงกักที่เส้นเสียง เช่น /j̥a/ [j̥aːʔ] 'ไก่'; /kʰɛ/ [kʰɛːʔ] 'กลัว'

วรรณยุกต์

ภาษาบีซูถิ่นดอยชมภูมีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 3 หน่วยเสียง[7] ได้แก่

  • หน่วยเสียงวรรณยุกต์กลาง (mid tone) เช่น /j̥a/ 'ไก่'
  • หน่วยเสียงวรรณยุกต์ต่ำ (low tone) เช่น /j̥à/ 'คัน'
  • หน่วยเสียงวรรณยุกต์สูง (high tone) เช่น /j̥á/ 'ไร่'