ไวยากรณ์ ของ ภาษามราฐี

ไวยากรณ์ภาษามราฐีใกล้เคยงกับภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปรียนอื่นๆ เช่น ภาษาฮินดี ภาษาคุชราตและภาษาปัญจาบ หนังสือไวยากรณ์สมัยใหม่ของภาษามราฐีเล่มแรกพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2348 เขียนโดย 'William Kerry'[10] ไวยากรณืของภาษามราฐีได้รับอิทธิพลจากภาษาสันสกฤตด้วย

เพศ

มี 3 เพศได้แก่

  • เพศชาย — पुल्लिंग (ปุลลินคะ)
  • เพศหญิง — स्त्रीलिंग (สตรีลินคะ)
  • เพศไม่ปรากฏ — नपुंसकलिंग (นปุสกลินคะ)

คำนามเพศชายลงท้ายด้วยอะหรืออุ คำนามเพศหญิงลงท้ายด้วย อา อี หรืออู

การกระทำ

รูปแบบประโยคมี 3 แบบ คือ

  • กัรตารี ประโยค กริยาเปลี่ยนรูปตามประธาน ตัวอย่างเช่น Raam mhanato "รามพูด", Raam aambaa khaato "รามกินมะม่วง"
  • กัรมนี ประโยค คือประโยคที่กริยาเปลี่ยนรูปตามกรรม เช่น Raamaane aambaa khallaa "มะม่วงถูกรามกิน", Raamaane saangitale "มันถูกกล่าวโดยราม"
  • ภาเว ประโยค เป็นประโยคที่กริยาไม่เปลี่ยนรูปตามประธานหรือกรรม ใช้ในประโยคขอร้องหรือบังคับ เช่น Maajha nirop tyaala jaaun saang "ส่งข้อความของฉันให้เขา"

สรรพนาม

มี 3 บุรุษคือ

  • ประถัม ปุรุษ สรรพนามบุรุษที่ 1 ได้แก่ mi "ฉัน" aamhi "เรา (ไม่รวมผู้ฟัง)" aapan "เรา" (รวมผู้ฟัง)
  • ทวิติยะ ปุรุษ สรรพนามบุรุษที่ 2 ได้แก่ tuu "คุณ" tumhi "คุณ (พหูพจน์หรือเป็นทางการ)" aapan (เป็นทางการมาก)
  • ตรุติยะ ปุรุษ สรรพนามบุรุษที่ 3 ได้แก่ to "เขา (ชาย)" tii "เขา(หญิง)" te "มัน" te "พวกเขา (ชายหรือใช้เป็นรูปเอกพจน์ที่เป็นทางการ)" tyaa "พวกเขา (หญิง)" tii "พวกเขา (ไม่ระบุเพศ)" (neuter)

ชนิดของคำ

มี 7 ชนิดคือ นามะ (สามานยนาม) วิเศศนามะ (วิสามานยนาม) สารวะนามะ (สรรพนาม) วิเศษะณะ (คุณศัพท์) กริยาวิเศษะณะ (กริยาวิเศษณ์) กริยาปะทะ (กริยา) อับยายะ

โครงสร้างประโยค

เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา ลำดับของคำเปลี่ยนไปได้บ้างแต่ไม่ทำให้ความหมายเปลี่ยนไป

การผันคำนาม

ภาษามราฐีเป็นภาษาที่มีการผันคำมาก เช่นเดียวกับภาษากลุ่ม อินโด-ยุโรเปียนโบราณ เช่นภาษาสันสกฤต ซึ่งใช้การผันคำแทนการใช้คำบุพบท แบ่งคำนามออกได้ 8 การก

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษามราฐี http://www.ethnologue.com/show_language.asp?code=m... http://maharashtratimes.indiatimes.com/articleshow... http://www.omniglot.com/writing/marathi.htm http://www.msubaroda.ac.in/departmentinfo.php?ffac... http://www.osmania.ac.in/Arts%20College/Marathi.ht... http://dnh.nic.in/deptdoc/vguide.pdf http://www.gulbargauniversity.kar.nic.in/deptmarat... http://nclm.nic.in/shared/linkimages/35.htm http://multitree.linguistlist.org/codes/omr http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=m...