ความหลากหลายของภาษา ของ ภาษามัลดีฟส์

เมื่อภาษาได้แพร่ไปตลอดหมู่เกาะได้เกิดความแตกต่างทางด้านคำศัพท์ และการออกเสียงขึ้น เนื่องจากเกาะอยู่ไกลกันมาก โดยเฉพาะระหว่างเกาะตอนเหนือและตอนใต้ คนในมาเล (Malé) ไม่สามารถเข้าใจภาษาย่อยที่ใช้ในหมู่เกาะอัดดุ (Addu) ได้สำเนียงมาตรฐานคือสำเนียงมาเลที่ใช้พูดในเมืองหลวง สำเนียงที่สำคัญของภาษานี้มักพบทางตอนใต้ได้แก่ ฮูวาดุ ฟูอะ มูลากุ และอัดดุ มีเฉพาะสำเนียงมาเลและสำเนียงมาลิกุเท่านั้นที่ใช้ในการเขียน สำเนียงอื่นใช้เฉพาะการพูดและการร้องเพลง

สำเนียงโมโลกิที่ใช้พูดในเกาะฟุวะห์มุละห์ต่างจากสำเนียงมาเลที่มีเสียง 'l' เป็นตัวสะกด (ލް) มีเสียง 'o' ท้ายคำ แทนที่เสียง 'u' เช่น 'fannu' กลายเป็น 'fanno' อักษรนะวิยะนิ (ޱ) ซึ่งใช้แทนเสียงม้วนลิ้นของ "n" พบมากในภาษาในอินเดีย เช่นภาษาสิงหล ภาษาคุชราต ภาษาฮินดี ถูกตัดออกจากการเขียนมาตรฐานของภาษามัลดีฟส์ เมื่อ พ.ศ. 2493 ปัจจุบันจะพบได้เฉพาะในเอกสารโบราณหรือการเขียนของสำเนียงอัดดุ