ภาษายิดดิช

ภาษายิดดิช (ייִדיש Yidish, แปลว่า "ยิว") เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกซึ่งเป็นภาษาของชาวยิวอัชเคนาซิ มีผู้พูดทั่วโลก 3 ล้านคน เขียนด้วยอักษรฮีบรู กำเนิดจากวัฒนธรรมอัชเคนาซิ ที่พัฒนาขึ้นเมื่อราวพ.ศ. 1500 ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก และแพร่กระจายไปยังประเทศอื่นด้วยการอพยพ ในครั้งแรกเรียกภาษานี้ว่า loshn-ashkenaz (ภาษาอาสเกนาซี) ในด้านการใช้ ภาษานี้เรียก mame-loshn (สำเนียงแม่) เพื่อให้ต่างจากภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิกที่เรีกว่า loshn-koydesh (สำเนียงศักดิ์สิทธิ์) คำว่า”ยิดดิช” เริ่มใช้เมื่อราว พ.ศ. 2300 แบ่งเป็นสองสำเนียงคือยิดดิชตะวันตกกับยิดดิชตะวันออก สำเนียงตะวันออกยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ต่างจากสำเนียงตะวันตกที่มีอิทธิพลจากภาษากลุ่มสลาวิก

ภาษายิดดิช

ตระกูลภาษา
ผู้วางระเบียบ ไม่มี;
YIVO (ในทางพฤตินัย)
ออกเสียง /ˈjidiʃ/
ระบบการเขียน อักษรฮีบรูดัดแปลง
จำนวนผู้พูด 3 ล้านคน[1]  (ไม่พบวันที่)
ISO 639-1 yi
ISO 639-3 มีหลากหลาย:
yid — ภาษายิดดิช (ทั่วไป)
ydd — ภาษายิดดิชตะวันออก
yih — ภาษายิดดิชตะวันตก
ISO 639-2 yid
ภาษาทางการ เขตปกครองตนเองชาวยิวออบลาสต์ ในรัสเซีย (ในทางนิตินัย); ภาษาทางการของชนกลุ่มน้อยในสวีเดน, เนเธอร์แลนด์, และ มอลโดวา
ประเทศที่มีการพูด สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, ลิทัวเนีย, รัสเซีย, อิสราเอล, ยูเครน, มอลโดวา, เบลารุส, เบลเยียม, เยอรมนี, แคนาดา, บราซิล, อาร์เจนตินา, เม็กซิโก, ออสเตรเลีย และ อื่นๆ