การถอดความ ของ ภาษายูราร์เทีย

จารึกภาษายูราร์เทียเขียนด้วยอักษรรูปลิ่มแสดงที่พิพิธภัณฑ์ในเยเรวาน จารึกอ่านได้ว่า: สำหรับเทพเจ้าคาลดี กระเจ้าอาร์กิสติสที่ 1 โอรสแห่งเมนัว สร้างวิหารและป้อมปราการนี้ ข้าป่าวประกาศอิรบูนี (เอเรบูนี) สำหรับความรุ่งเรืองของประเทศแห่งบีอาย (=อูร์ราตู) และสำหรับการยึดครองประเทศลูลุย (=ศัตรู)ด้วยความน่าเกรงขาม ด้วยความยิ่งใหญ่แห่งคาลดี นี่คืออาร์กิสติส โอรสแห่งเมนัว กษัตริย์แห่งบีอายผู้ปกครองเมืองตุชปา

นักวิชาการชาวเยอรมัน F. E. Schulz ผู้ค้นพบจารึกทะเลสาบวานและจารึกอูราร์ตูใน พ.ศ. 2369 ได้ทำสำเนาจารึกจำนวนมาก แต่ไม่ได้พยายามถอดความ หลังจากที่ถอดความอักษรรูปลิ่มอัสซีเรียได้ในราว พ.ศ. 2393 สำเนาของ Schulz กลายเป็นพื้นฐานสำหรับการถอดความภาษายูราร์เทีย ปัจจุบันเป็นที่แน่นอนว่าภาษานี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาษาที่รู้จักกันอยู่ และการพยายามถอดความโดยใช้ภาษาที่เป็นที่รู้จักกันแล้วในบริเวณนั้น ประสบความล้มเหลว จารึกเหล่านี้ถอดความได้ใน พ.ศ. 2425 โดย A. H. Sayce จารึกที่เก่าที่สุดมีอายุราวสมัยซาร์ดูรีที่ 1 แห่งอูราร์ตู

การถอดความได้ก้าวหน้ามากขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อมีการพบจารึกภาษายูราร์เทีย-อัสซีเรียที่ Kelišin และ Topzawä ใน พ.ศ. 2509 มีการตีพิมพ์ไวยากรณ์ภาษายูราร์เทียเขียนโดย G. A. Melikishvili ในรัสเซียและแปลเป็นภาษาเยอรมันใน พ.ศ. 2514 และในเวลาเดียวกันนี้มีการตีพิมพ์เกี่ยวกับความคล้ายคลึงกับภาษาฮูร์เรียโดย I. M. Diakonoff

จารึกที่เก่าที่สุดพบในสมัยซาร์ดูรีที่ 1 มีอายุราว 357 ปีก่อนพุทธศักราช[4]และมีจารึกต่อเนื่องมาจนถึงการล่มสลายของอาณาจักรอูราร์ตูในอีก 200 ปีต่อมา มีจารึกที่เขียนด้วยภาษายูราร์เทียมากกว่าสองพันชิ้นที่เขียนด้วยอักษรรูปลิ่มดัดแปลง[5]