สำเนียงย่อย ของ ภาษาอาหรับจอร์แดน

ภาษาอาหรับจอร์แดนเป็นภาษาพูดที่เข้าใจกันทั่วราชอาณาจักร แต่มีความผันแปรในแต่ละบริเวณ และตามสถานะเชิงเศรษฐกิจและสังคม โดยความผันแปรเกิดขึ้นในระดับการออกเสียง ไวยากรณ์ และคำศัพท์ โดยทั่วไปแบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ 3 สำเนียงคือ

  • สำเนียงในเมือง สำเนียงนี้เกิดขึ้นเมื่อกำหนดให้อัมมานเป็นเมืองหลวงของจอร์แดน และเป็นการผสมผสานระหว่างภาษาของประชากรที่อพยพมาจากเฮารานทางภาคเหนือและโมอับทางภาคใต้ รวมทั้งปาเลสไตน์ เข้ามาสู่เมืองที่สร้างใหม่ ภาษาจะมีลักษณะผสมจากสำเนียงของภาษาอาหรับทั้งสามกลุ่ม โดยได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับสำเนียงเฮารานมากที่สุด และใช้คำยืมจากภาษาอังกฤษมาก
  • สำเนียงชนบท เป็นสำเนียงที่ใช้พูดโดยชาวจอร์แดนในชนบท และเมืองขนาดเล็กโดยทั่วไป แบ่งหยาบๆได้สองกลุ่มคือ
    • ภาษาอาหรับเฮาราน ใช้พูดทางเหนือของอัมมาน ระหว่างเอสซอลท์และแนวชายแดนซีเรีย และใช้พูดในดินแดนเฮารานที่อยู่ในซีเรียตอนใต้ จัดเป็นกลุ่มย่อยของสำเนียงทางใต้ของภาษาอาหรับเลอวานต์
    • ภาษาอาหรับโมอับ ใช้พูดทางใต้ของอัมมาน ในเมืองเช่น การัก ตาฟิละห์ มาอัน เชาบัก และชนบทในบริเวณอื่น ชื่อสำเนียงตั้งตามชื่อราชอาณาจักโมอับ ที่เคยตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจอร์แดน จัดเป็นกลุ่มย่อยของสำเนียงทางใต้ของภาษาอาหรับเลอวานต์
  • สำเนียงเบดูอิน ใช้พูดโดยชาวเบดูอิน ในจอร์แดน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเลทรายทางตะวันออกของเทือกเขาจอร์แดน ภาษาที่ใช้ในบริเวณนี้ต่างจากสำเนียงที่ใช้พูดในเมืองและชนบท และจัดเป็นสำเนียงที่ค่อนข้างเข้าใจยาก รูปแบบการเน้นเสียงในคำใกล้เคียงกับภาษาอาหรับคลาสสิก มากกว่าภาษาอาหรับเบดูอิน

ใกล้เคียง