สัทศาสตร์ ของ ภาษาเกาหลี

ข้อมูลการเทียบเสียงต่อไปนี้เป็นเพียงการเทียบเสียงเบื้องต้น ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องมากนัก พยัญชนะทุกตัวในภาษาเกาหลีมีเสียงแตกต่างกัน แต่พบว่าบางครั้งการได้ยินของคนไทยไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างได้เหมือนคนเกาหลี เช่น คำว่า 자 (ja; ชา) กับ 차 (cha; ชา) เป็นต้น

พยัญชนะ

ฐานริมฝีปากฐานปุ่มเหงือกฐานหลังปุ่มเหงือกฐานเพดานอ่อนฐานเส้นเสียง
เสียงกักและ
เสียงกึ่งเสียดแทรก
สิถิลเบา /p/, /b/ b ป~บ /t/, /d/ d ท~ต~ด /t͡ɕ/, /d͡ʑ/ j จ~จ͡ย /k/, /g/ g ก~ก͡ง
สิถิลหนัก /p͈/ pp ป* /t͈/ tt ต* /t͡ɕ͈/~/tʃ/ jj จ* /k͈/ kk ก*
ธนิต /pʰ/, /bʱ/ p พ /tʰ/, /dʱ/ t ท /t͡ɕʰ/, /d͡ʑʱ/ ch ช /kʰ/, /gʱ/ k ค
เสียงเสียดแทรกเบา /sʰ/ หรือ /zʱ/ s ซ หรือ ช (เมื่อผสมกับสระ ㅣ) /h/ h ฮ
หนัก /s͈/ หรือ /ɕ͈/ ss ซ*
เสียงนาสิก /m/ m ม /n/ n น /ŋ/ ng ง (ตัวสะกด)
เสียงข้างลิ้น**/w/ w ว /l/ l ล**/j/ y ย
  • * หมายถึง พยัญชนะเสียงหนัก
  • ** หมายถึง เสียงพยัญชนะที่มากับรูปสระ
  • สำหรับ ㅇ เมื่อเป็นพยัญชนะต้นแต่มีคำอื่นมาก่อน จะนำพยัญชนะสะกดของคำก่อนหน้ามาเป็นเสียงพยัญชนะต้น ดูที่ การอ่านโยงเสียง

ตัวอย่างคำศัพท์

หน่วยเสียงตัวอย่างทับศัพท์คำอ่านไทย
โดยประมาณ
คำแปล
ㅂ /p/ [pal]balพัลเท้า
ㅃ /p͈/빨다 [p͈alda]ppaldaปัลดาซักผ้า
ㅍ /pʰ/ [pʰal]palพัลแขน
ㅁ /m/ [mal]malมัลม้า
ㄷ /t/ [tal]dalทัลดวงจันทร์
ㄸ /t͈/ [t͈al]ttalตัลลูกสาว
ㅌ /tʰ/타다 [tʰada]tadaทาดาขี่, โดยสาร
ㄴ /n/ [nal]nalนัลวัน
ㅈ /t͡ɕ/ [t͡ɕal]jalชัลบ่อน้ำ, ดี
ㅉ /t͡ɕ͈/짜다 [t͡ɕ͈ada]jjadaจาดาคั้น
ㅊ /t͡ɕʰ/차다 [t͡ɕʰada]chadaชาดาเตะ
ㄱ /k/가다 [kada]gadaคาดาไป
ㄲ /k͈/깔다 [k͈alda]kkaldaกัลดากระจาย
ㅋ /kʰ/ [kʰal]kalคัลมีด
ㅇ /ŋ/ [paŋ]bangพังห้อง
ㅅ /s/ [sal]salซัลเนื้อหนัง
ㅆ /s͈/ [s͈al]ssalซัลข้าวสาร
ㄹ /l/바람 [paɾam]baramพารัมลม
ㅎ /h/하다 [hada]hadaฮาดากระทำ

สระ

สระเกาหลีพื้นฐาน
ฐาน+อี
ฐานㅏ /a/ a อาㅓ /ʌ/ eo ออ (ปากเหยียด)ㅗ /o/ o โอㅜ /u/ u อูㅡ /ɯ/ eu อือㅣ /i/ i อีㅐ /ɛ/ ae แอㅔ /e/ e เอㅚ /ø/ oe เว (เอว์)ㅟ /y/ wi วี (อวี)ㅢ /ɰi/ ui อึย
ย+ㅑ /ja/ ya ยาㅕ /jʌ/ yeo ยอ (ปากเหยียด)ㅛ /jo/ yo โยㅠ /ju/ yu ยูㅒ /jɛ/ yae แยㅖ /je/ ye เย
ว+ㅘ /wa/ wa วาㅝ /wʌ/ wo วอ (ปากเหยียด)ㅙ /wɛ/ wae แวㅞ /we/ we เว
  • /ʌ/ (eo) ออกเสียง "ออ" ปากเหยียด บางตำราก็ใช้ /ə/ "เออ"
  • /ø/ (oe) ออกเสียง "เอ" ปากห่อ

สระเกาหลีไม่เหมือนภาษาไทยซึ่งมีเสียงสั้นเสียงยาวแยกกัน เช่น อิ กับ อี จะรวมเป็นสระเดียว คือ ㅣ (/i/) แต่จะเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวนั้นขึ้นอยู่กับการเน้นเสียง แม้คำที่เขียนเหมือนกันแต่อ่านด้วยเสียงที่ต่างกัน ความหมายก็อาจเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ดังตัวอย่างต่อไปนี้

รูปสระสระเสียงสั้นสระเสียงยาว
IPAเสียงไทย
โดยประมาณ
คำเกาหลีIPAทับศัพท์ความหมายIPAเสียงไทย
โดยประมาณ
คำเกาหลีIPAทับศัพท์ความหมาย
/i/อิ시장[ɕiˈʥaŋ]sijangความหิว/iː/อี시장[ˈɕiːʥaŋ]sijangตลาด
/e/เอะ베개[peˈɡɛ]begaeหมอน/eː/เอ베다[ˈpeːda]bedaตัด
หนุน
/ɛ/แอะ태양[tʰɛˈjaŋ]taeyangดวงอาทิตย์/ɛː/แอ태도[ˈtʰɛːdo]taedoท่าทาง
ทัศนคติ
/a/อะ[ˈmal]malม้า/aː/อา[ˈmaːl]malคำ
การพูด
ภาษา
/o/โอะ보리[poˈɾi]boriข้าวบาร์เลย์/oː/โอ보수[ˈpoːsu]bosuการตอบแทน
ค่าตอบแทน
การอนุรักษ์
การซ่อมแซม
/u/อุ구리[kuˈɾi]guriทองแดง/uː/อู수박[ˈsuːbak]subakแตงโม
/ʌ/เอาะ[ˈpʌl]beolชุด (ลักษณนาม)
การลงโทษ
/ʌː/เออ[ˈpʌːl]beolผึ้ง
/ɯ/อึ어른[ˈəːɾɯn]eoreunผู้ใหญ่
ผู้อาวุโส
/ɯː/อือ음식[ˈɯːmɕik]eumsikอาหาร
/ø/ [we]เวะ교회[ˈkjoːɦø̞] ~ [kjoː.βwe̞]gyohoeโบสถ์/øː/ [weː]เว외투[ø̞ː.tʰu] ~ [we̞ː.tʰu]oetuอาหาร
/y/ [ɥi]วิ[t͡ɕy] ~ [t͡ɕɥi]jwiหนู
ตะคริว
/yː/ [ɥiː]วี귀신[ˈkyːʑin] ~ [ˈkɥiːʑin]gwisinผี
วิญญาณ
  • ชาวเกาหลีส่วนใหญ่ออกเสียง /ʌː/ "ออ" (เสียงยาว) เป็น /əː/ "เออ"

ตัวสะกด

แม้พยัญชนะเกาหลีจะมีหลายตัว และแต่ละตัวเสียงแตกต่างกัน แต่เมื่อนำมาใช้เป็นตัวสะกดแล้ว จะมีทั้งหมด 7 มาตราเท่านั้น ดังตาราง จะเห็นว่าคล้ายคลึงกับภาษาไทย โดยที่ต่างออกไปคือ เสียง [ㄹ] (ล) เมื่อนำไปเป็นตัวสะกดแล้วจะไม่ใช่เสียง [น] เช่นในภาษาไทย นอกจากนี้อาจพบตัวสะกดแบบที่มีพยัญชนะสะกดสองตัว เช่น 여덟, 앉다 ฯลฯ ตัวสะกดลักษณะนี้จะเลือกออกเสียงเฉพาะตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น และอีกตัวจะไม่ออกเสียง เช่น 여덟 อ่านว่า /ยอ-ด็อล/ ไม่ใช่ /ยอ-ด็อบ/ การที่จะทราบว่าตัวสะกดคู่จะออกเสียงพยัญชนะตัวใด แสดงดังตาราง อย่างไรก็ตามมีตัวสะกดคู่บางส่วนที่ออกเสียงไม่แน่นอนขึ้นกับคำ คือ ㄺ และ ㄼ

ตัวสะกดพยัญชนะตัวอย่างคำเสียงอ่านโดยประมาณ
กงซ็อง
กนㄴ, ㄵ, ㄶว็อน
กมㅁ, ㄻนัม
กกㄱ, ㄲ, ㅋ, ㄳพัก
กดㄷ, ㅅ, ㅆ, ㅈ, ㅊ, ㅌ, ㅎ이것อีก็อด
กบㅂ, ㅍ, ㅄ, ㄿ
없다
ชิบ
อ็อบตา
กลㄹ, ㄽ, ㄾ, ㅀพัล
ไม่แน่นอนㄺ, ㄼ여덟ยอด็อล

การอ่านโยงเสียง

ในพยางค์หนึ่งๆ กรณีที่พยัญชนะต้นเป็นตัวอีอึง (ㅇ) เสียงของมันอาจไม่ใช่เสียง "อ" แต่จะเป็นเสียงของตัวสะกดในพยางค์ก่อนหน้าแทน เช่น

  • 직업 อ่านว่า /지겁/ (ชี-กอบ) ไม่ใช่ /직-업/ (ชิก-ออบ)
  • 당신은 อ่านว่า /당시는/ (ทัง-ชี-นึน) ไม่ใช่ /당-신-은/ (ทัง-ชิน-อึน)

ถ้าไม่มีคำใดมาก่อนจะออกเสียงคล้าย อ หรือถ้าคำก่อนหน้าไม่มีพยัญชนะสะกด จะออกเสียงเชื่อมสระเข้าด้วยกัน

กฎการอ่านแบบกลมกลืนเสียง*

ในพยางค์ใดที่ลงท้ายด้วยตัวสะกดและพยัญชนะต้นในพยางค์ถัดไปที่ติดกัน

เสียงของตัวสะกดจะเปลี่ยนเพื่อให้ออกเสียงได้สะดวกกลมกลืนและไม่ขัดกัน โดยจำแนกไว้เป็นกฎต่างๆดังต่อไปนี้

1. พยางค์ใดลงท้ายด้วยตัวสะกดในแม่ /ㄱ/, /ㄷ/, /ㅂ/ และพยัญชนะต้นในพยางค์ถัดไปเป็นเสียงนาสิก เสียงตัวสะกดจะเปลี่ยนเป็น /ㅇ/,/ㄴ/,/ㅁ/ ตามลำดับ เพื่อให้ออกเสียงได้สะดวกกลมกลืนและไม่ขัดกัน


ตัวอย่างเช่น

집는다 -> /짐는다/ เขียนว่า "ชิบนึนดา" แต่จะอ่านเป็น "ชิมนึนดา" เพื่อให้ออกเสียงได้สะดวกกลมกลืนและไม่ขัดกัน

받는다 -> /반는다/ เขียนว่า "พัดนึนดา" แต่จะอ่านเป็น "พันนึนดา" เพื่อให้ออกเสียงได้สะดวกกลมกลืนและไม่ขัดกัน

속는다 -> /송는다/ เขียนว่า "ซกนึนดา" แต่จะอ่านเป็น "ซงนึนดา" เพื่อให้ออกเสียงได้สะดวกกลมกลืนและไม่ขัดกัน


ที่คุ้นเคยกันดีได้แก่ ไวยากรณ์ลงท้ายประโยคอย่างสุภาพ "~습니다" ถึงแม้ว่าจะเขียนเป็น ซึ่บนิดา แต่เพื่อให้เป็นไปตามเหตุผลดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว เราก็จะอ่านว่า ซึมนิดา