ประวัติและความสำคัญ ของ ภาษาแมนจู

สัญลักษณ์ของชาวแมนจูชื่อที่เป็นทางการสำหรับจีนในภาษาแมนจู อ่านว่า "Dulimbai gurun".

ภาษาแมนจูเป็นภาษาสำคัญในสมัยราชวงศ์ชิง แต่ชาวแมนจูกลับหันมาใช้ภาษาจีนมากขึ้น และเริ่มสูญเสียภาษาของตนเอง และต้องมีการอนุรักษ์ภาษา ใน พ.ศ. 2315[6] จักพรรดิเฉียนหลงพบว่าข้าราชการชาวแมนจูจำนวนมากไม่เข้าใจภาษาแมนจู จักรพรรดิเจียกิง (พ.ศ. 2325 – 2363) กล่าวเช่นกันว่าข้าราชการไม่เข้าใจและเขียนภาษาแมนจูไม่ได้ เมื่อราว พ.ศ. 2442 – 2443 พบว่าในเฮยหลงเจียงมีชายชาวแมนจูที่อ่านภาษาแมนจูได้เพียง 1% และพูดได้เพียง 0.2% ในราว พ.ศ. 2449 – 2450 ราชวงศ์ชิงได้จัดให้มีการศึกษาภาษาแมนจู และใช้ภาษาแมนจูเป็นคำสั่งทางทหาร

การใช้ภาษาแมนจูในสถานะภาษาราชการในสมัยราชวงศ์ชิงลดลงเรื่อยๆ ในช่วงต้นของราชวงศ์ เอกสารที่มีความอ่อนไหวทางการเมืองหรือเป็นหัวข้อทางการจะเขียนเป็นภาษาแมนจูไม่ใช้ภาษาจีน[7] บันทึกลักษณะนี้ยังคงเขียนต่อมาจนถึงปีท้ายๆของราชวงศ์ที่สิ้นสุดใน พ.ศ. 2455 เอกสารภาษาแมนจูยังถูกเก็บรักษาในฐานะเอกสารสำคัญสมัยราชวงศ์ชิง ในปัจจุบัน ตัวเขียนภาษาแมนจูยังเห็นได้ในสถาปัตยกรรมของนครต้องห้าม สัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์จะเขียนทั้งในภาษาแมนจูและภาษาจีน ภาษานี้ใช้ในการออกคำสั่งทางทหารจนถึง พ.ศ. 2421

ภาพสลักในนครต้องห้าม ใน ปักกิ่ง, ประเทศจีน ทั้งในภาษาจีน(ซ้าย, qián qīng mén) และภาษาแมนจู(ขวา, kiyan cing men)

นักวิชาการชาวยุโรป

นักวิชาการชาวยุโรปในพุทธศตวรรษที่ 23 ที่ไม่สามารถอ่านภาษาจีนเพราะระบบการเขียนที่ซับซ้อนเลือกที่จะแปลจากภาษาแมนจูหรือใช้รูปแบบที่มีภาษาแมนจูคู่ขนานอยู่ด้วย โดยกล่าวว่าภาษาแมนจูเป็นหน้าต่างในการเข้าไปศึกษาวรรณคดีจีน นักวิชาการด้านจีนชาวรัสเซียได้ศึกษาภาษาแมนจูเช่นกัน หลังจากที่มาจัดตั้งนิกายรัสเซียนออร์ธอดอกซ์ในปักกิ่ง มีการแปลเอกสารจากภาษาแมนจู และทำพจนานุกรมภาษาแมนจู-จีน มีการสอนการแปลภาษาแมนจูในอินกุตส์ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23 และสอนต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ชาวยุโรปได้ใช้การถอดคำในภาษาจีนด้วยอักษรแมนจู เพื่อช่วยในการออกเสียงภาษาจีนซึ่งนิยมใช้มากกว่าระบบที่ใช้อักษรโรมัน