จุดกำเนิดและการใช้ในปัจจุบัน ของ ภาษาแอราเมอิกใหม่ยิวบาร์ซาน

ภาษาของชาวยิวในภาคเหนือของอิรัก ตุรกีตะวันออกและตะวันตกเฉียงเหนือของอิหร่านเป็นภาษาแอราเมอิกใหม่หลากหลายสำเนียง ควายุ่งยากในบริเวณนี้ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และการจัดตั้งรัฐอิสราเอลเมื่อ พ.ศ. 2494 ทำให้ชาวยิวในบริเวณนี้ลดลง

ผู้พูดภาษานี้เป็นภาษาแม่คนสุดท้ายตายเมื่อ พ.ศ. 2541 ผู้พูดเป็นภาษาที่สองที่เหลืออยู่มีอายุมากกว่า 70 ปี โดยเขาเหล่านั้นพูดภาษาฮีบรูหรือภาษาเคิร์ดเป็นภาษาแม่ บางส่วนพูดภาษาอาหรับหรือภาษาแอราเมอิกสำเนียงอื่น จึงถือว่าภาษานี้เป็นภาษาตายโดยสมบูรณ์ ไม่มีหลักฐานที่เชื่อมโยงภาษาแอราเมอิกใหม่ยิวบาร์ซานเข้ากับภาษาแอราเมอิกใหม่สำเนียงอื่น มีความใกล้เคียงกับภาษาลิซานิด โนซาน ที่ใช้พูดทางตะวันออกเฉียงใต้ของบาร์ซาน ไม่มีข้อมูลหรือเอกสารที่เขียนด้วยภาษานี้

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาแอราเมอิกใหม่ยิวบาร์ซาน https://www.ethnologue.com/18/language/bjf/ https://archive.org/details/myfathersparadis00saba... https://doi.org/10.2307%2F602651 https://doi.org/10.1017%2FS0041977X08000815 https://doi.org/10.1017%2Fs0041977x04000011 https://doi.org/10.2307%2F600067 https://www.jstor.org/stable/602651 https://www.jstor.org/stable/600067 https://zenodo.org/record/999663 https://api.semanticscholar.org/CorpusID:162155580