สัทวิทยา ของ ภาษาโซ่_(ทะวืง)

พยัญชนะ

หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาโซ่ (ทะวืง) ถิ่นหนองม่วงและหนองแวง จังหวัดสกลนคร[2]
ลักษณะการออกเสียงตำแหน่งเกิดเสียง
ริมฝีปากปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
เสียงนาสิกmnɲŋ
เสียงหยุดก้องbd
ไม่ก้องไม่พ่นลมptckʔ
พ่นลม
เสียงเสียดแทรก(f)sh
เสียงข้างลิ้นl
เสียงกึ่งสระwj


  • หน่วยเสียงที่เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายมี 11 หน่วยเสียง ได้แก่ /m/, /n/, /ŋ/, /p/, /t/, /k/, /ʔ/, /s/, /h/, /w/ และ /j/
  • หน่วยเสียง /c/ อาจออกเสียงเป็น [c] หรือ [t͡ɕ][3]
  • หน่วยเสียง /f/ พบเฉพาะในคำยืมจากภาษาไทย ผู้พูดรุ่นเก่ามักออกเสียงพยัญชนะนี้เป็น [pʰ][4]
  • หน่วยเสียง /s/ เมื่ออยู่ในตำแหน่งต้นพยางค์ออกเสียงเป็น [s] หรือ [ʃ] และเมื่ออยู่ในตำแหน่งท้ายพยางค์ออกเสียงเป็น [ç][3]

สระ

สระเดี่ยว

หน่วยเสียงสระเดี่ยวภาษาโซ่ (ทะวืง) ถิ่นหนองม่วงและหนองแวง จังหวัดสกลนคร[5]
ระดับลิ้นตำแหน่งลิ้น
หน้ากลางหลัง
สูงiɨu
กึ่งสูงeəo
กึ่งต่ำʌ
ต่ำɛaɔ

สระประสม

หน่วยเสียงสระประสมภาษาโซ่ (ทะวืง) ถิ่นหนองม่วงและหนองแวงมี 2 หน่วยเสียง[5] ได้แก่ /ia/ และ /ua/

ลักษณะน้ำเสียง

ภาษาโซ่ (ทะวืง) ถิ่นหนองม่วงและหนองแวงมีลักษณะน้ำเสียง 3 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะน้ำเสียงปกติ ลักษณะน้ำเสียงทุ้มต่ำ และลักษณะน้ำเสียงสูงบีบ ปัจจุบันลักษณะน้ำเสียงเหล่านี้อยู่ระหว่างการพัฒนาขึ้นมาเป็นเสียงวรรณยุกต์[6]