ประวัติ ของ ภาษาโนไก

ชาวนาไกเป็นลุกหลานของนาไกข่าน ผู้มีศักดิ์เป็นหลานของเจงกีสข่าน ซึ่งได้ขยายอาณาเขตไปจนถึงแม่น้ำดานูบในราวพุทธศตวรรษที่ 18 เริ่มแรกภาษานี้เขียนด้วยอักษรอาหรับ และมีอักษรที่ใช้เฉพาะเสียงในภาษาโนไกคือ

ڮ, ۇ, ۋ, پ, ںُ, چ, ژ , گ

เปลี่ยนมาใช้อักษรละตินเมื่อ พ.ศ. 2471 รูปแบบการเขียนกำหนดโดยนักวิชาการชาวโนไก A. Dzhanibekov และใช้อักษรละตินสำหรับภาษาตุรกีเป็นพื้นฐาน ตัวอักษรที่ใช้ได้แก่

A aB вÇ çD dE eӘ әG gƢ ƣ
I iK kL lM mN nN̡ n̡O oӨ ө
P pQ qR rS sŞ şT tU uY y
J jЬ ьZ zV v

และเปลี่ยนมาใช้อักษรซีริลลิกแบบภาษารัสเซียในอีกสิบปีต่อมา ตัวอักษรที่ใช้ได้แก่

А аАь аьБ бВ вГ гД дЕ еЁ ё
Ж жЗ зИ иЙ йК кЛ лМ мН н
Нъ нъО оОь оьП пР рС сТ тУ у
Уь уьФ фХ хЦ цЧ чШ шЩ щЪ ъ
Ы ыЬ ьЭ эЮ юЯ я

การก่อตั้งสหภาพโซเวียตและกำหนดเขตสาธารณรัฐปกครองตนเอง เมื่อราว พ.ศ. 2493 ได้แบ่งเขตของชาวโนไกส่วนหนึ่งอยู่ในสาธารณรัฐดาเกสถาน อีกส่วนอยู่ในสาธารณรัฐเชเชน-อิงกุซ การสอนภาษารัสเซียในยุคนั้นมีความสำคัญมากกว่าภาษาของชนกลุ่มน้อย ผู้พูดภาษาโนไกจึงลดจำนวนลง ปัจจุบันคาดว่ามีผู้พูดราว 80,000 คน หนังสือพิมพ์ภาษาโนไกเริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในพ.ศ. 2516 แต่เพราะการติดต่อสื่อสารยังไม่ดีพอ หนังสือพิมพ์เหล่านี้จึงมักไม่ถึงมือชาวโนไก ปัจจุบันมีการใช้สอนในโรงเรียนในดาเกสถานจากปีที่ 1 ถึงปีที่ 10