ชนิด ของ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ภูมิคุ้มกันบกพร่องแบบปฐมภูมิ

โรคที่พบยากบางชนิดมีลักษณะการเพิ่มความไวรับต่อการติดเชื้อตั้งแต่วัยเด็ก ความผิดปกติดังกล่าวมักถ่ายทอดทางพันธุกรรมและมีลักษณะด้อย (autosomal recessive) หรือมียีนบนโครโมโซมเพศ (X-linked) กลุ่มอาการที่ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิดพบแล้วมากกว่า 80 กลุ่มอาการซึ่งมีลักษณะร่วมกันของความผิดปกติในระบบภูมิคุ้มกัน เช่นในลิมโฟไซต์หรือแกรนูโลไซต์[1]

การรักษาภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิดขึ้นกับธรรมชาติของโรค และอาจต้องให้แอนติบอดีในเส้นเลือด การใช้ยาปฏิชีวนะระยะยาว หรือในบางกรณีอาจรักษาด้วยสเต็มเซลล์

ภูมิคุ้มกันบกพร่องแบบเกิดภายหลัง

ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจเป็นผลจากปัจจัยภายนอกหรือโรคบางอย่าง จึงเรียกผลดังกล่าวว่าภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องแบบทุติยภูมิ หรือเกิดขึ้นภายหลัง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากทุพโภชนาการ (malnutrition) , ความชรา (aging) และยาบางชนิด เช่น เคมีบำบัด, ยารักษาโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ (disease-modifying antirheumatic drugs) , สารกดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressive drugs) ที่ให้หลังจากการปลูกถ่ายอวัยวะ, และสเตอรอยด์เช่นกลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoids)

โรคบางชนิดมีผลทางตรงและทางอ้อมในการทำลายระบบภูมิคุ้มกัน เช่นมะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะมะเร็งไขกระดูกและเม็ดเลือด (เช่นมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) , มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (lymphoma) หรือมัลติเปิลไมอีโลมา (multiple myeloma)) และโรคเรื้อรังบางชนิด ที่รู้จักกันดีเช่นเอดส์ (AIDS) หรือกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อมซึ่งมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องเป็นอาการหลัก เกิดจากไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งทำลายระบบภูมิคุ้มกันทางอ้อม

ในประเทศไทย สาเหตุของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องที่พบได้บ่อยคือการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งพบได้มากกว่าภูมิคุ้มกันบกพร่องแบบปฐมภูมิ การวินิจฉัยเด็กที่สงสัยว่ามีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจึงควรคำนึงถึงโรคเอดส์เอาไว้ด้วย[2]

ใกล้เคียง

ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ภูมิคุ้มกันหมู่ ภูมิคุ้มกันบำบัดสำหรับสารก่อภูมิแพ้ ภูมิคุ้มกันรับมา ภูมิคุ้มกัน ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ ภูมิคุ้มกันวิทยา ภูมิคุ้มกันต่ออาร์เอช แอนติเจน ภูมิภาคของประเทศไทย ภูมิศาสตร์