ภูมิประเทศธรรมชาติ ของ ภูมิอากาศจุลภาค

พื้นผิวลาดชันของภูเขา

ปัจจัยหลักที่มีผลต่อภูมิอากาศจุลภาค คือภูมิประเทศ (topography) ตั้งแต่รูปลักษณะของพื้นผิวดิน ความลาดชัน (slope) และทิศทางของความลาดชัน (aspect) ที่เป็นตัวกำหนดปริมาณในการรับแสงแดด ซึ่งส่งผลกระทบต่อแสงและเงาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และส่งผลต่ออุณหภูมิผิวดิน[4][1] เช่น พื้นที่ลาดชันที่หันเข้าสู่ทิศใต้ของซีกโลกเหนือและพื้นที่ลาดชันที่หันเข้าสู่ทิศเหนือของซีกโลกใต้จะได้รับแสงแดดโดยตรงมากกว่าพื้นที่ลาดชันที่อยู่ตรงข้ามกัน การได้รับแสงมากกว่าจึงมีความอุ่นขึ้นเป็นระยะเวลานาน (ความร้อนสะสมนานกว่า) ซึ่งทำให้ทางลาดมีสภาพอากาศที่อุ่นกว่าพื้นที่โดยรอบอื่น พื้นที่ต่ำสุดของหุบเขาบางครั้งอาจแข็งตัวเร็วหรือแข็งกว่าจุดที่ขึ้นเขาในบริเวณใกล้เคียง เนื่องจากอากาศเย็นจะจมลง ลมที่พัดพาให้แห้งอาจไม่ถึงด้านล่างต่ำสุด และความชื้นยังคงอยู่และตกตะกอน จากนั้นจึงกลายเป็นน้ำแข็ง

ดิน

ประเภทของดินในพื้นที่สามารถส่งผลกระทบต่อภูมิอากาศจุลภาค จากคุณสมบัติของดินในการกักเก็บน้ำไว้ในพื้นที่ และปลดปล่อยน้ำออกสู่ชั้นบรรยากาศผ่านการระเหย ส่งผลต่อปริมาณความชื้นในอากาศ[4] และการสะสมความร้อนในโพรงอากาศระหว่างเม็ดดิน ดินที่มีสัดส่วนของดินเหนียวมากกว่าจะสามารถกักเก็บน้ำและสร้างความชื้นให้กับพื้นที่ได้มากกว่าดินที่สัดส่วนของดินทรายสูง กล่าวคือดินทรายมีอุณหภูมิสูงกว่าดินร่วนและดินเหนียว ตามลำดับ

นอกจากสัดส่วนขององค์ประกอบภายในดินแล้ว ปริมาณสิ่งปกคลุมบนผิวดินก็มีผลต่ออุณหภูมิและปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ภายในพื้นที่ ดินที่ไม่มีสิ่งปกคลุมจะได้รับแสงและความร้อนมากกว่าพื้นที่ที่ถูกปกคลุมด้วยพืชพรรณหรือหญ้า[1]

แอ่งอากาศเย็น

ตัวอย่างที่ดีของแอ่งอากาศเย็น (cold air pool, CAP) ได้แก่ หลุมยุบคชเต็ทเนอร์อัล์ม (Gstettneralm) ในออสเตรีย (อุณหภูมิต่ำสุดที่บันทึกไว้ −53 °ซ. (−63 °ฟ.))[5] และหลุมยุบปีเตอร์ (Peter Sinks) ในสหรัฐอเมริกา

ซึ่งเกิดจากปัจจัยอิทธิพลที่สัมพันธ์กันคือ ความเร็วลม ความลึกของแอ่ง และความถี่ในการลอยตัวของมวลอากาศในแอ่ง กล่าวคือ ขึ้นกับปัจจัยอิทธิพลจากลมอุ่นภายนอกที่พัดลงในแอ่งในการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ (อุณหภูมิของอากาศในแอ่ง)[6]

ปล่องภูเขาไฟ

ที่ภูเขาไฟเมานาเคอา ในฮาวาย พบการก่อตัวของชั้น​ดินเยือกแข็งใต้ผิวของปล่องภูเขาไฟ แม้ว่ายอดภูเขาไฟนี้จะเป็นพื้นที่ปราศจากน้ำแข็งและแห้งแล้งเป็นพิเศษ แต่ดินเยือกแข็งกระจายตัวในส่วนที่เป็นชั้นสะสมของเถ้าลาวา (กรวยขี้เถ้ายอดยอดภูเขาไฟ) ทำให้เกิดสภาพภูมิอากาศจุลภาคที่เป็นเอกลักษณ์[7] และยังอาจนำไปอธิบายสภาพภูมิอากาศจุลภาคของดาวอังคารได้ ซึ่งพบแผ่นน้ำแข็งประปรายในบริเวณที่ค่อนข้างอบอุ่น[7]

ภูมิอากาศจุลภาคพืช

ตามที่รูด็อล์ฟ ไกเกอร์ (Rudolf Geiger) ชี้ให้เห็นในหนังสือของเขา[8] ไม่เพียงแต่สภาพอากาศเท่านั้นที่มีอิทธิพลต่อพืชที่มีชีวิต แต่ผลกระทบที่ตรงกันข้ามกับปฏิสัมพันธ์ของพืชที่มีต่อสิ่งแวดล้อมสามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน และเป็นที่รู้จักกันในนามสภาพภูมิอากาศของพืช ผลกระทบนี้มีผลสำคัญต่อผืนป่าในใจกลางทวีป ซึ่งหากป่าไม้ไม่สร้างเมฆและวัฏจักรของน้ำจากกิจกรรมการคายระเหยอย่างมีประสิทธิภาพ จะไม่สามารถมีป่าไม้ได้ในที่ห่างไกลจากชายฝั่ง[9] เนื่องจากตามสถิติแล้วหากไม่มีปัจจัยอิทธิพลอื่น ๆ น้ำฝนที่ตกจะมีปริมาณค่อย ๆ ลดลงนับจากชายฝั่งไล่ไปสู่ใจกลางพื้นทวีป การปลูกต้นไม้เพื่อต่อสู้กับภัยแล้งในพื่นที่ที่ไม่เคยเป็นป่ามาก่อนได้รับการเสนอเป็นส่วนหนึ่งบริบทของการปลูกป่า[10]

แอ่งน้ำ

แอ่งน้ำธรรมชาติ อ่างเก็บน้ำ และเขื่อน ล้วนสร้างภูมิอากาศจุลภาค และมักมีอิทธิพลต่อสภาพอากาศมหภาคเช่นกัน

ใกล้เคียง

ภูมิอากาศไทย ภูมิอากาศ ภูมิอากาศจุลภาค ภูมิอากาศวิทยา ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา ภูมิอากาศแบบอบอุ่น

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภูมิอากาศจุลภาค //www.amazon.com/dp/B00T3N7MTW http://www.wetter-freizeit.com/mikroklima.html http://astrobiology.nasa.gov/nai/reports/annual-re... //doi.org/10.1525%2Fbio.2009.59.4.12 //www.worldcat.org/issn/0006-3568 https://citycracker.co/city-environment/microclima... https://issuu.com/ifrahasif/docs/micro-climates https://academic.oup.com/bioscience/article/59/4/3... https://regenerative.com/five-factors-affect-micro... https://archive.unu.edu/unupress/unupbooks/80a01e/...