ภูมิสถาปัตยกรรม ของ ภูมิอากาศจุลภาค

ในเขตเมืองที่หนาแน่นรวมทั้งวัสดุเช่นอิฐ คอนกรีต หรือแอสฟัลต์ ต่างดูดซับพลังงานของดวงอาทิตย์ ทำให้ร้อนขึ้น[11] และแผ่ความร้อนนั้นกลับคืนสู่อากาศแวดล้อมในสภาพกึ่งปิดโดยเฉพาะพื้นที่อาคารสูงทำได้ยาก และมีระบบถนนที่แคบและปิดทางลม สร้างสภาวะที่เรียกว่าเกาะความร้อนในเมือง ซึ่งเป็นภูมิอากาศจุลภาคชนิดหนึ่ง

ความคิดเรื่องภูมิอากาศและการจัดการภูมิอากาศจุลภาคในการเกษตร (agronomy) ยังนำมาประยุกต์ใช้สำหรับภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ เช่น การจัดการพืชสวนแบบต่าง ๆ

สภาวะน่าสบาย

การสร้างสภาวะน่าสบาย (comfort zone) ด้วยการควบคุมปัจจัยอิทธิพลที่ก่อเกิดสภาพภูมิอากาศจุลภาค เช่น แสงแดด กระแสลม โดยการใช้องค์ประกอบเชิงภูมิสถาปัตยกรรมได้แก่

น้ำ ใช้ในการช่วยปรับอุณภูมิของพื้นที่ ช่วยเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศผ่านการระเหย และลดการกักเก็บความร้อนของพื้นที่ เนื่องจากมวลน้ำมีศักยภาพในการกักเก็บความร้อนได้แย่กว่าพื้นดิน นอกจากนี้อุณหภูมิที่ต่างกันของผิวน้ำและผิวดินจะทำให้เกิดการหมุนเวียนของกระแสลมขึ้นในพื้นที่[4] รวมทั้งโครงข่ายการเชื่อมกันของแหล่งน้ำ (network of water bodies)[3]

พืชพรรณ (vegetation) ช่วยดูดซับความร้อนภายในพื้นที่ เนื่องจากพืชจะกักเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์ไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง และในกระบวนการดำรงชีวิตของพืชจะมีการคายน้ำออกมาซึ่งช่วยเพิ่มปริมาณความชื้นในอากาศ นอกจากนี้พืชยังช่วยสร้างสร้างร่มเงาให้แก่พื้นที่และลดการสะท้อนความร้อน การปลูกพืชพรรณจึงช่วยลดอุณหภูมิภายในพื้นที่ พื้นที่บริเวณที่มีพืชพรรณมีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นที่โดยรอบ 2-2.5 องศาเซลเซียส[1]

กลุ่มของไม้ยืนต้นและไม้พุ่มจะช่วยกำหนดทิศทางของกระแสลม ปรับอุณหภูมิของลมที่พัดเข้ามาภายในพื้นที่ และทำหน้าที่เป็นทั้งกำบังให้แก่พื้นที่ที่มีลมพัดแรงเกินไป และสร้างช่องลมเพื่อออกแบบทิศทางของกระแสลมที่จะพัดเข้าสู่พื้นที่ให้เหมาะสมต่อการใช้งาน[1]

พื้นที่เปิด (open space) จากหลักการอากาศที่ร้อนจะลอยตัวสูงขึ้นแล้วอาการที่เย็นกว่าจะไหลเข้ามาแทนที่ การสร้างพื้นที่เปิดโล่งจะทำให้อากาศร้อนสามารถระบายออกจากพื้นที่ได้อย่างสะดวกและอากาศเย็นจะเป็นลมพัดพาเข้ามาในพื้นที่แทน จึงช่วยทำให้อุณหภูมิภายในพื้นที่ลดลง[1] ยังครอบคลุมถึงการวางผังช่องลม (wind channels) แผนผังของการจราจร (street pattern) และการเรียงตัวของอาคาร (building line)[12][3]

วัสดุ การเลือกใช้วัสดุที่สามารถกักเก็บความชื้นได้ เช่น แนวรั้วไม้ พื้นกรวด พื้นหญ้า เพื่อลดความร้อนที่จะเกิดขึ้นจากการสะสมความร้อนไว้ในวัสดุ และลดการสะท้อนความร้อนออกไปยังพื้นที่ข้างเคียง[1]

ใกล้เคียง

ภูมิอากาศไทย ภูมิอากาศ ภูมิอากาศจุลภาค ภูมิอากาศวิทยา ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา ภูมิอากาศแบบอบอุ่น

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภูมิอากาศจุลภาค //www.amazon.com/dp/B00T3N7MTW http://www.wetter-freizeit.com/mikroklima.html http://astrobiology.nasa.gov/nai/reports/annual-re... //doi.org/10.1525%2Fbio.2009.59.4.12 //www.worldcat.org/issn/0006-3568 https://citycracker.co/city-environment/microclima... https://issuu.com/ifrahasif/docs/micro-climates https://academic.oup.com/bioscience/article/59/4/3... https://regenerative.com/five-factors-affect-micro... https://archive.unu.edu/unupress/unupbooks/80a01e/...