ประวัติ ของ ภูเขาน้ำแข็งบี-15

ภูเขาน้ำแข็งบี-15เอ ที่เดินทางเป็นระยะเวลาสี่ปี ตั้งแต่ กรกฎาคม 2545 ถึง มีนาคม 2549เส้นทางของภูเขาน้ำแข็งบี-15แซด ตั้งแต่ 2557–2561

ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคม พ.ศ. 2543 ภูเขาน้ำแข็งบี-15 ได้แยกตัวออกมาจากหิ้งน้ำแข็งรอสส์ใกล้กับเกาะโรสเวลต์ ทวีปแอนตาร์กติกา[4][5] การแยกตัวออกมานั้นเป็นการแยกตัวตามรอยแต่ที่มีอยู่แล้วตามหิ้งน้ำแข็ง[4] ภูเขาน้ำแข็งสามารถวัดความยาวได้ประมาณ 295 กิโลเมตร กว้าง 37 กิโลเมตร คิดเป็นขนาดพื้นที่ 10,915 ตร.กม.—ขนาดใกล้เคียงกับเกาะจาเมกา นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการที่ก้อนน้ำแข็งขนาดมหึมาแตกออกนั้นเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรตามธรรมชาติในระยะยาวซึ่งเกิดขึ้นทุก ๆ 50–100ปี[4] ใน พ.ศ. 2543, 2545 และ 2546 แตกออกมาเป็นภูเขาน้ำแข็งเล็ก ๆ หลายลูก โดยมีลูกที่ใหญ่ที่สุดคือ ภูเขาน้ำแข็งบี-15เอ ที่มีขนาด 6,400 ตร.กม.[2]

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ภูเขาน้ำแข็งบี-15เจได้แตกออกจากภูเขาน้ำแข็งบี-15เอ ทำให้บี-15เอได้ลอยตัวออกจากเกาะรอสส์สู่ทะเลรอสส์ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ภูเขาน้ำแข็งรูปมีดบี-15เคได้แตกออกทำให้บี-15เอลอยขึ้นไปทางเหนือ เมื่อถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2548 กระแสน้ำได้พัดบี-15เอไปทางลิ้นน้ำแข็งไดรกัลสกี (เป็นธารน้ำแข็งที่อยู่บริเวณส่วนปลายของธารน้ำแข็งดาวิด มีลักษณะเป็นพื้นน้ำแข็งยืนยาวออกไปในทะเล[6]) ก่อนจะถึงลิ้นน้ำแข็งไดรกัลสกีไม่กี่กิโลเมตร บี-15เอก็เกยตื้นกับภูเขาใต้ทะเล ก่อนจะลอยไปทางเหนืออีกครั้ง[7] ในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2548 บี-15เอชนกับลิ้นน้ำแข็ง ทำให้ส่วนปลายของลิ้นน้ำแข็งแตกออก แต่บี-15เอไม่ได้รับผลกระทบจากการปะทะ[6]

ภูเขาน้ำแข็งบี-15เอยังคงลอยเรียบไปตามชายฝั่งแมกเมอร์โดเซาน์ เมื่อวันที่ 27–28 ตุลาคม พ.ศ. 2548 บี-15เอเกยตื้นที่นอกชายฝั่งแหลมอาแดร์ วิกตอเรียแลนด์และได้แตกออกเป็นภูเขาน้ำแข็งลูกเล็ก ๆ แรงสั่นสั่นสะเทือนจากการชนวัดได้ไกลถึงสถานีวิจัยขั้วโลกใต้อามุนด์เซน-สก็อตต์[8][9] การชนกันครั้งนี้ได้แตกเป็นภูเขาน้ำแข็งบี-15พี บี-15เอ็มและบี-15เอ็น ส่วนภูเขาน้ำแข็งลูกที่ใหญ่ที่สุดใช้ชื่อว่าบี-15เอต่อไป (1,700 ตร.กม.) บี-15เอได้ลอยไกลขึ้นไปทางเหนือก่อนจะแตกออกเป็นภูเขาน้ำแข็งลูกเล็ก ๆ ตามการรายงงานของหน่วยลาดตระเวนการประมงของกองทัพอากาศในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549[ต้องการอ้างอิง] ในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 มีผู้พบเห็นเศษภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่หลายลูกห่างจากชายฝั่งทิมารุ ประเทศนิวซีแลนด์เพียง 60 กม. ลูกที่ใหญ่ที่สุดวัดขนาดได้ประมาณ 18 กิโลเมตร โผล่พ้นผิวน้ำทะเล 37 เมตร

ใน พ.ศ. 2561 ศูนย์น้ำแข็งแห่งชาติติดตามภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่เหลือได้ 4 ลูก (ขนาดไม่ต่ำกว่า 37,040 ตร.ม.)[3] เช่น บี-15แซด ที่อยู่ห่างจากเกาะเซาท์จอร์เจียไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือราว 277.8 กิโลเมตร วัดขนาดได้ 18,520x9,260 ตารางเมตร และยังคงลอยไปทางเหนือ ยิ่งมันลอยไปเหนือเท่าไหร่อัตราการละลายของมันก็ยิ่งเพิ่มขึ้น[10]

ใน พ.ศ. 2563 มีภูเขาน้ำแข็งเพียง 2 ลูกที่ยังติดตามได้คือ บี-15เอเอ อันเป็นเศษของบี-15แซด อยู่บริเวณตะวันออกของเกาะเซาท์จอร์เจียในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ กับอีกลูกคือ บี-15เอบี ที่ยังลอยอยู่นอกชายฝั่งแอนตาร์กติกา[11]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภูเขาน้ำแข็งบี-15 http://articles.chicagotribune.com/2000-03-24/news... http://earthobservatory.nasa.gov/IOTD/view.php?id=... http://www.nasa.gov/vision/earth/lookingatearth/ic... http://www.esa.int/esaCP/SEMCYK638FE_index_0.html //doi.org/10.1016%2Fj.dsr2.2003.04.003 //doi.org/10.1029%2F2006gl027235 //doi.org/10.1029%2F2009jb006700 //doi.org/10.1029/2006gl027235 //doi.org/10.1029/2009jb006700 //www.worldcat.org/oclc/52739140