หอสังเกตการณ์ ของ ภูเขาไฟเมานาโลอา

ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่วัดที่หอสังเกตการณ์เมานาโลอา

เมานาโลอาเป็นสถานที่สำคัญสำหรับการเฝ้าสังเกตชั้นบรรยากาศโดยโครงการเฝ้าติดตามบรรยากาศโลกและหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์อื่นๆ หอสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์แห่งเมานาโลอา (MLSO) ตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 3,400 เมตรบนลาดเขาทางทิศเหนือ มีบทบาทสำคัญในการสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ ขณะที่หอสังเกตการณ์เมานาโลอา โดยองค์กรการบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (NOAA) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กัน และอยู่ห่างไกลจากกิจกรรมของมนุษย์ในท้องถิ่น ทำหน้าที่เฝ้าสังเกตชั้นบรรยากาศของโลก รวมถึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการตรวจวัดถูกปรับเปลี่ยนเพื่ออธิบายการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากภูเขาไฟ[7] และยังมีหน่วยงานอื่นๆ เช่น Array for Microwave Background Anisotropy (AMIBA) ที่เริ่มสำรวจหาต้นกำเนิดจักรวาลมาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 หรือหอสังเกตการณ์ภูเขาไฟแห่งฮาวายที่ตรวจวัดแผ่นดินไหวและถ่ายภาพกิจกรรมบนปล่อง Mokuʻāweoweo[8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภูเขาไฟเมานาโลอา http://gsa.confex.com/gsa/2002CD/finalprogram/abst... http://www.peakbagger.com/peak.aspx?pid=11915 http://www.youtube.com/watch?v=fu5soxn5ydM http://www.wrcc.dri.edu/cgi-bin/cliGCStT.pl?hi6198 http://www.wrcc.dri.edu/cgi-bin/cliMAIN.pl?himaun http://www.soest.hawaii.edu/GG/HCV/maunaloa.html http://www.soest.hawaii.edu/GG/HCV/mloa-eruptions.... http://www.volcano.si.edu/world/volcano.cfm?vnum=1... http://mlso.hao.ucar.edu/cgi-bin/mlso_homepage.cgi http://volcano.und.edu/vwdocs/volc_images/north_am...