รูปแบบ ของ มงกุฎพระราชินีแมรี

มงกุฎองค์นี้สร้างโดยบริษัทการ์ราร์ด แอนด์ โค ตัวเรือนทำด้วยเงิน และทองคำ ประดับด้วยเพชรกว่า 2,200 เม็ด รวมถึงเพชรโคอินัวร์ และเพชรคูลลิแนน 3 และคูลลิแนน 4 ปราศจากรัตนชาติอื่นๆ[1] ต่อมาในปีค.ศ. 1914 ได้ถูกถอดออกเปลี่ยนเป็นคริสตัลแทน ตัวเรือนประกอบด้วยส่วนโค้งจำนวน 4 โค้ง (8 ก้าน) ซึ่งแล่นไปรวมอยู่บนยอดซึ่งประดับด้วยลูกโลกฝังเพชรซึ่งเป็นฐานของกางเขนประดับตรงกลางด้วยเพชรคูลลิแนน 3 ทรงหยดน้ำ โดยนำแบบก้านโค้งมาจากมงกุฎพระราชินีอเล็กซานดรา ซึ่งจะแตกต่างจากมงกุฎราชาภิเษกองค์อื่นๆ คือสามารถถอดประกอบส่วนโค้ง เพื่อสามารถสวมเป็นมงกุฎแบบไม่มียอดได้ (Circlet)[2] ด้านในของมงกุฎกรุด้วยผ้ากำมะหยี่สีม่วงเข้ม และกรุขอบด้วยขนเออร์มิน

อัญมณีต่างๆส่วนใหญ่ของมงกุฎองค์นี้ถูกนำมาใช้ในปีค.ศ. 1937 ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระมเหสีของพระราชโอรสของพระองค์ ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งในระหว่างพระราชพิธีนั้น สมเด็จพระราชินีแมรี (พระราชชนนี) ทรงมงกุฎองค์นี้แบบไม่มียอดร่วมพระราชพิธีด้วย และต่อมาในรัชสมัยของพระราชนัดดาของพระองค์ คือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 สมเด็จพระราชินีแมรี (พระอัยยิกา)ก็ยังทรงมงกุฎองค์นี้แบบย่ออยู่อย่างเสมอในพระราชพิธีต่างๆ และหลังจากเสด็จสวรรคตในปีค.ศ. 1953 มงกุฎองค์นี้ก็ยังไม่ถูกทรงอีกเลย จนกระทั่งถูกสวมอีกครั้ง (อัญมณีสำคัญๆถูกแทนที่ด้วยคริสตัล) ในงานรัฐพิธีเลี้ยงพระกระยาหารค่ำโดยดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ ในพระบรมราชานุญาตเป็นกรณีพิเศษของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2

มงกุฎองค์นี้นั้นได้อยู่ในพระราชพินัยกรรมของพระองค์ โดยทรงพระราชทานให้สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี และในปัจจุบันได้ตกทอดเป็นพระราชสมบัติส่วนพระองค์ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

ใกล้เคียง

มงกุฎ มงกุฎพระสันตะปาปา มงกุฎดอกส้ม มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด มงกุฎอิมพีเรียลสเตต มงกุฎดอกหญ้า มงกุฎทิวดอร์ มงกุฎจักรพรรดิแห่งออสเตรีย มงกุฎไพร มงกุฎราชาภิเษกพระเจ้าจอร์จที่ 4