เพชรโคอินัวร์
เพชรโคอินัวร์

เพชรโคอินัวร์

โคห์อินัวร์ (อังกฤษ: Koh-i-Noor, เปอร์เซีย: کوہ نور‎ อ่านออกเสียง: koh iː nuːɾ|pron, "ภูเขาแห่งแสง"; บางครั้งสะกดเป็น Kuh-e Nur หรือ Koh-i-Nur) คือเพชรที่มีขนาด 105.6 กะรัต มีน้ำหนัก 21.6 กรัม ในสภาพที่เจียระไนครั้งล่าสุด (ก่อนหน้านี้มีขนาด 186.6 กะรัต หนัก 37.21 กรัม) และยังเคยเป็นเพชรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ตามหลักฐานนั้นค้นพบในรัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย พร้อมกันกับเพชรคู่แฝดที่มีชื่อว่า ดารยา-เย-นัวร์ (แปลว่า​ "ทะเลแห่งแสง") โคห์อินัวร์นั้นมีประวัติอันยาวนาน โดยตกเป็นเพชรของหลายราชวงศ์ในอดีต รวมถึง ราชปุตแห่งอินเดีย, ราชวงศ์โมกุล, ราชวงศ์อัฟชาริด, ราชวงศ์ดูร์รานี, ราชวงศ์ซิกข์ และล่าสุดนั้นตกเป็นของจักรวรรดิอังกฤษ[1]โคห์อินัวร์ได้ถูกริบจากผู้ครอบครองคือ ดูลิป สิงห์ ในปีค.ศ. 1850 โดยบริษัทอินเดียตะวันออก และต่อมาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งอินเดียในปีค.ศ. 1877 โคห์อินัวร์เคยถูกเรียกว่า "ศิยมันทกามณี" และต่อมา "มณยัก" หรือ "ราชาแห่งอัญมณี" ก่อนจะถูกเรียกเป็น "โคห์อินัวร์" ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยชาห์นาเดอร์ ภายหลังจากการยึดครองอินเดียของพระองค์ ในปัจจุบันโคห์อินัวร์ถูกเก็บรักษาและจัดแสดงที่หอคอยแห่งลอนดอน

เพชรโคอินัวร์

น้ำหนัก 186 1/16 กะรัต (37.21 กรัม)
สถานที่ค้นพบ  อินเดีย
ผู้ครอบครอง ส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร
แหล่งกำเนิด เหมืองกอลลูร์ อำเภอกุนตูร์ รัฐอานธรประเทศ