ทฤษฏีมาลธูเซียนในปัจจุบัน ของ มหันตภัยมาลธูเซียน

ผลการผลิตข้าวสาลีในประเทศกำลังพัฒนา ค.ศ. 1950-2004 หน่วยเป็นกิโลกรัม/เฮกตาร์ (เส้นฐานที่ 500)การผลิตเริ่มเพิ่มขึ้นในระดับสูงในประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มตั้งแต่ในคริสต์ทศวรรษ 1940อัตราการเพิ่มผลผลิตจะถึงจุดสูงสุดในช่วงแรก ๆ ดังนั้นในประเทศกำลังพัฒนา การเพิ่มผลผลิตของข้าวโพด ก็ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่องอยู่[2]

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบบเกษตรกรรมที่ใช้เครื่องจักร ได้เพิ่มผลผลิตขึ้นอย่างมาก และการปฏิวัติที่เรียกว่า "Green Revolution (การปฏิวัติเขียว)" ก็ได้เพิ่มผลผลิตขึ้นอีก ซึ่งทั้งเพิ่มปริมาณและลดราคาอาหารจึงทำให้ประชากรโลกเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ทำให้นักวิชาการบางพวก[3] เริ่มจะพยากรณ์ว่าจะเกิดมหันตภัยมาลธูเซียนโดยไม่ช้าแต่ว่า ประชากรในประเทศพัฒนาแล้วโดยมาก ก็โตขึ้นช้ากว่าการเพิ่มผลผลิตทางเกษตรกรรม

โดยต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ประเทศพัฒนาแล้วได้ผ่านช่วงการเปลี่ยนสภาพทางประชากรไปแล้ว ซึ่งเป็นช่วงพัฒนาการทางสังคมที่ซับซ้อน มีผลเป็นอัตราเจริญพันธุ์รวมที่ลดลง เนื่องจากอัตราภาวะการตายของทารกลดลง การย้ายเข้าไปอยู่ในเมือง และวิธีการคุมกำเนิดหลายอย่างที่มีประสิทธิภาพ แล้วมีผลเป็นปรากฏการณ์ที่เมื่อรายได้และการศึกษาสูงขึ้น อัตราการเจริญพันธุ์กลับลดลง

โดยสมมุติว่า การเปลี่ยนสภาพทางประชากร กำลังกระจายไปจากประเทศพัฒนาแล้ว ไปยังประเทศพัฒนาน้อยกว่า กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประเมินว่า ประชากรมนุษย์จะถึงจุดสูงสุดในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 21 แทนที่จะเติบโตจนกระทั่งผลาญทรัพยากรทั้งหมด[4]

ประชากรโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1800 ถึง 2100อาศัยข้อมูลจากค่าคาดหมายของสหประชาชาติปี ค.ศ. 2004 (แดง ส้ม เขียว)และค่าประมาณตามประวัติศาสตร์ของ USCBการเพิ่มผลผลิตของอาหาร เร็วกว่าการเพิ่มประชากรอาหารต่อคนเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 กราฟเพิ่มขึ้นช้าลงเมื่อผ่านปี ค.ศ. 2010

นักประวัติศาสตร์ได้ประมาณจำนวนประชากรโลกทั้งหมด กลับไปจนถึง 10,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[5] รูปที่เห็นแสดงแน้วโน้มประชากรทั้งหมดจากปี ค.ศ. 1800-2005 และต่อจากนั้นแสดงค่าประมาณไปจนถึงปี ค.ศ. 2100 (ค่าต่ำ ปานกลาง และสูง)ส่วนภาพบนสุดแสดงอัตราการเพิ่มต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกันซึ่งถ้าการเพิ่มประชากรเป็นแบบยกกำลัง อัตราการเพิ่มประชากรจะเป็นเส้นแบนตรงแต่เพราะอัตราเพิ่มขึ้นในระหว่างปี ค.ศ. 1920-1960 นี้แสดงว่า ประชากรเพิ่มเร็วกว่าอัตรายกกำลังในช่วงเวลานั้นแต่ว่า ตั้งแต่นั้น อัตราการเพิ่มก็ได้ลดลง และคาดว่าจะลดลงเรื่อย ๆ[6] ค่าคาดหมายของสหประชาชาติจนถึงปี ค.ศ. 2100 (สีแดง ส้ม และเขียว) แสดงจุดสุดยอดของประชากรโลกเร็วที่สุดในปี ค.ศ. 2040 ในกรณีแรกหรือว่าในปี ค.ศ. 2075 ในกรณีที่สอง หรือว่าเพิ่มขึ้นโดยไม่มีขอบเขตในกรณีที่สาม

ภาพที่แสดงอัตราการเพิ่มประชากรต่อปีที่ผ่านมา ไม่ปรากฏเหมือนกับจะเป็นแบบยกกำลังในระยะยาวคือถ้าเป็นการเพิ่มแบบยกกำลัง เส้นกราฟควรจะตรงและมีค่าเสมอแต่ว่า เส้นกราฟจริง ๆ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1800-2005 เริ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเริ่มที่ปี ค.ศ. 1920 ถึงจุดสูงสุดในกลางทศวรรษ 1960แล้วค่อย ๆ ลดลงในช่วง 40 ปีที่ผ่านมาส่วนความยึกยักช่วงปี ค.ศ. 1959-1960 เป็นผลจากนโยบายก้าวกระโดดครั้งใหญ่ (ของเหมา เจ๋อตง) และภัยพิบัติธรรมชาติในประเทศจีน[6] นอกจากนั้นแล้ว ยังสามารถเห็นผลของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ สงครามโลกทั้งสองครั้ง และโรคหวัดระบาดทั่วในปี ค.ศ. 1918

แม้ว่าแนวโน้มระยะสั้น ๆ แม้เป็นทศวรรษ ๆ หรือเป็นศตวรรษ ๆ จะไม่สามารถพิสูจน์หรือหักล้าง กลไกที่ทำให้เกิดมหันตภัยมาลธูเซียนในระยะที่ยาวกว่าได้แต่ความสมบูรณ์พูนผลของประชากรมนุษย์ส่วนมาก ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 และข้อโต้แย้งต่อการพยากรณ์ความล้มเหลวในระบบนิเวศน์ (ของนักชีววิทยา ดร. Paul R. Ehrlich) ที่มีในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970มีผลให้นักวิชาการบางท่านรวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์บางพวก เริ่มตั้งประเด็นสงสัยถึงความหลีกเลี่ยงไม่ได้ของมหันตภัย[7]

งานศึกษาในปี ค.ศ. 2004 ของนักเศรษฐศาสตร์และนักนิเวศวิทยาที่มีชื่อเสียง รวมทั้ง ดร. เคนเนธ แอร์โรว์ และ ดร. Paul Ehrlich เอง[8]เสนอว่า ประเด็นหลักเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้เปลี่ยนจากอัตราการเพิ่มประชากร ไปเป็นอัตราส่วนการบริโภคต่อการออมเพราะว่าอัตราการเพิ่มประชากรได้ลดลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970การคาดหมายอาศัยผลการทดลองแสดงว่า นโยบายของรัฐ (เช่นภาษี หรือการให้สิทธิบริหารทรัพย์สินให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น) สามารถส่งเสริมการบริโภคและการลงทุนที่มีประสิทธิภาพกว่า ที่สามารถรักษาความยั่งยืนของระบบนิเวศน์ซึ่งก็คือ เพราะว่า ปัจจุบันโลกมีอัตราการเพิ่มประชากรที่ต่ำโดยเปรียบเทียบ เราสามารถหลีกเลี่ยงมหันตภัยมาลธูเซียนได้ โดยการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค หรือเปลี่ยนนโยบายของรัฐ

แต่ว่า มีนักวิชาการบางพวกที่อ้างว่า มหันตภัยมาลธูเซียนจะไม่เกิดขึ้นในระยะเวลาใกล้ ๆ นี้งานศึกษาในปี ค.ศ. 2002[9]โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติพยากรณ์ว่า ผลผลิตอาหารทั่วโลกจะมากกว่าที่มนุษย์บริโภคภายในปี ค.ศ. 2030แต่ว่า จะมีคนหลายร้อยล้านที่ก็จะยังหิวต่อไป (ซึ่งคาดได้ว่า เป็นเพราะเหตุทางเศรษฐกิจหรือทางการเมือง)

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหันตภัยมาลธูเซียน ftp://ftp.fao.org/docrep/fao/012/ak977e/ak977e00.p... http://www.blupete.com/Literature/Biographies/Phil... http://www.daviddfriedman.com/Academic/Laissez-Fai... http://www.juliansimon.com/writings/Ultimate_Resou... http://www.ac.wwu.edu/~stephan/malthus/malthus.0.h... http://www.census.gov/ipc/www/idb/ http://www.census.gov/ipc/www/worldhis.html http://web.archive.org/web/20150416020841/https://... http://www.esp.org/books/malthus/population/malthu... http://www.fao.org/english/newsroom/news/2002/7828...