ที่มา ของ มหาจุนทโพชฌังคสุตตปาฐะ

มหาจุนทโพชฌังคสุตตปาฐะ นำมาจากพระสูตรในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ชื่อพระสูตรว่า คิลานสูตร (ที่ 3) ว่าด้วย "พระผู้มีพระภาคหายประชวรด้วยโพชฌงค์ 7" [1] บ้างก็เรียกว่า "ตติยคิลานสูตร" หรือ "ตติยคิลานสุตฺตํ" หมายถึงคิลานสูตรที่ 3 ใน สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค (เนื่องจากคิลานสูตรปรากฏอยู่หลายพระสูตรต่างที่มาและเหตุการณ์) [2]

พระสูตรหรือปาฐะนี้มีความแตกต่างจากพระสูตรอื่นๆ ที่ว่าด้วยการเยียวยา หรือคิลานะ และโพชฌงค์ 7 ที่พระพุทธองค์จะตรัสแก่พระสาวก เพราะเพราะสูตรนี้เป็นพระสูตรที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารภให้พระสาวกสาธยายแก่พระองค์ เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงประชวร โดยขณะนั้นพระองค์ประทับอยู่ ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร อันเป็นกลันทกนิวาปสถาน (อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต) ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคทรงประชวร ซึ่งสารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกายระบุว่า "ความป่วยไข้ที่เกิดแต่ความเย็นอ่อนๆ ซึ่งเกิดขึ้นด้วยการถูกต้องกับลมจากต้นไม้มีดอกเป็นพิษที่บ้านแล้ว ที่เชิงแห่งภูเขา" [3]

ครานั้น พระมหาจุนทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระจุนทะ ให้ท่านแสดงโพชฌงค์แก่พระองค์ หลังจากที่ได้แสดงโพชฌงค์แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงทรงหายจากประชวรนั้น เช่นเดียวกับที่พระมหากัสสปะ และพระมหาโมคคัลลานะ ได้สดับโพชฌงค์ แล้วหายจากอาการอาพาธเช่นกัน

ใกล้เคียง

มหาจุฬาลงกรณ์ มหาจุนทโพชฌังคสุตตปาฐะ มหาจุฬา มหาบุรุษพลิกแผ่นดิน มหาปุริสลักขณะ มหาบุรุษซามูไร มหายุคมีโซโซอิก มหายุคพาลีโอโซอิก มหากุมภะ สงครามพญาครุฑ มหาอุปราช (จัน)