เนื้อหา ของ มหาจุนทโพชฌังคสุตตปาฐะ

เอกํ สมยํ ภควา ราชคเห วิหรติ เวฬุวเน กลนฺทกนิวาเปฯ เตน โข ปน สมเยน ภควา อาพาธิโก โหติ ทุกฺขิโต พาฬฺหคิลาโนฯ อถ โข อายสฺมา มหาจุโนฺท เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ; อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา เอกมนฺตํ นิสีทิฯ เอกมนฺตํ นิสินฺนํ โข อายสฺมนฺตํ มหาจุนฺทํ ภควา เอตทโวจ – ‘‘ปฏิภนฺตุ ตํ, จุนฺท, โพชฺฌงฺคา’’ติฯ

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงประชวร ไม่สบาย เป็นไข้หนัก. ครั้งนั้น ท่านพระมหาจุนทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระจุนทะว่าดูกรจุนทะ โพชฌงค์จงแจ่มแจ้งกะเธอ.

‘‘สตฺติเม, ภเนฺต, โพชฺฌงฺคา ภควตา สมฺมทกฺขาตา ภาวิตา พหุลีกตา อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตนฺติฯ กตเม สตฺต?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานโพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?

สติสโมฺพชฺฌโงฺค โข, ภเนฺต, ภควตา สมฺมทกฺขาโต ภาวิโต พหุลีกโต อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ, ธมฺมวิจยะสโมฺพชฺฌโงฺค โข, ภเนฺต, ภควตา สมฺมทกฺขาโต ภาวิโต พหุลีกโต อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ, วิริยะสโมฺพชฺฌโงฺค โข, ภเนฺต, ภควตา สมฺมทกฺขาโต ภาวิโต พหุลีกโต อภิญฺญาย สมฺฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ, ปีติสโมฺพชฺฌโงฺค โข, ภเนฺต, ภควตา สมฺมทกฺขาโต ภาวิโต พหุลีกโต อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ, ปสฺสัทธิสโมฺพชฺฌโงฺค โข, ภเนฺต, ภควตา สมฺมทกฺขาโต ภาวิโต พหุลีกโต อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ, สมาธิสโมฺพชฺฌโงฺค โข, ภเนฺต, ภควตา สมฺมทกฺขาโต ภาวิโต พหุลีกโต อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ, อุเปกฺขาสโมฺพชฺฌโงฺค โข, กสฺสป, มยา สมฺมทกฺขาโต ภาวิโต พหุลีกโต อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สติสัมโพชฌงค์ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน, ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน, วิริยสัมโพชฌงค์ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน, ปีติสัมโพชฌงค์ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน, ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน, สมาธิสัมโพชฌงค์ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน, อุเบกขาสัมโพชฌงค์ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

อิเม โข, ภเนฺต, สตฺต โพชฺฌงฺคา ภควตา สมฺมทกฺขาตา ภาวิตา พหุลีกตา อภิญฺญาย สมฺโพธายย นิพฺพานาย สํวตฺตนฺตี’’ติฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ 7 เหล่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

‘‘ตคฺฆ , จุนฺท, โพชฺฌงฺคา; ตคฺฆ, จุนฺท, โพชฺฌงฺคา’’ติฯ

ดูกรจุนทะ โพชฌงค์ดีนัก ดูกรจุนทะ โพชฌงค์ดีนัก

อิทมโวจายสฺมา จุโนฺทฯ สมนุโญฺญ สตฺถา อโหสิฯ วุฎฺฐหิ จ ภควา ตมฺหา อาพาธาฯ ตถาปหีโน จ ภควโต โส อาพาโธ อโหสีติฯ ฉฎฺฐํฯ

ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย พระผู้มีพระภาคทรงหายจากประชวรนั้นและอาพาธนั้น อันพระผู้มีพระภาคทรงละแล้ว ด้วยประการฉะนี้แล [4] [5]

ใกล้เคียง

มหาจุฬาลงกรณ์ มหาจุนทโพชฌังคสุตตปาฐะ มหาจุฬา มหาบุรุษพลิกแผ่นดิน มหาปุริสลักขณะ มหาบุรุษซามูไร มหายุคมีโซโซอิก มหายุคพาลีโอโซอิก มหากุมภะ สงครามพญาครุฑ มหาอุปราช (จัน)