ที่ตั้ง ของ มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม

มหาวิทยาลัยทำการสอนเป็นหลักภายในเขตจังหวัดนอตทิงแฮมเชอร์ และมีวิทยาเขตต่างประเทศสองแห่ง แห่งหนึ่งที่ประเทศจีน อีกแห่งหนึ่งที่ประเทศมาเลเซีย

วิทยาเขตยูนิเวอร์ซิตีพาร์ก

University Park pictured, The only university to win the coveted Green Flag Award for Parkland greenery each year consecutively over the past decadeMillenium Park (52°56′19″N 1°11′59″W / 52.9387°N 1.1998°W / 52.9387; -1.1998) at the University Park Campus, ranked the world's greenest university campus 2011 by the Greenmetric of World Universities

มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮมมีที่ตั้งหลักที่ด้านตะวันตกของเมืองนอตทิงแฮม มีพื้นที่ 834 ไร่เศษ ลักษณะเป็นมหาวิทยาลัยในสวนออกแบบสวยงาม[5][6]จนได้รับรางวัลธงเขียวติดกันหลายปีซ้อน[7]

วิทยาเขตเฉลิมภาญจนาภิเษก

นอกจากวิทยาเขตยูนิเวอร์ซิตีพาร์กแล้ว มหาวิทยาลัยยังได้จัดสร้างวิทยาเขตจูบิลี หรือวิทยาเขตเฉลิมกาญจนาภิเษกขึ้น ออกแบบโดยไมเคิล ฮอปกินส์ (Michael Hopkins) สถาปนิกชาวอังกฤษ สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2542 ใช้เป็นที่ตั้งของภาควิชาศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยผู้นำโรงเรียนแห่งชาติ (National College for School Leadership) ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และภาควิชาบริหารธุรกิจ วิทยาเขตจูบิลีได้รับรางวัลอนุรักษ์พลังงานเมื่อ พ.ศ. 2548[8] จุดเด่นในวิทยาเขตประกอบด้วยเสาแดงแอสไปร์ (Aspire) ซึ่งเป็นประติมากรรมทำด้วยเหล็กทาสีแดงสูง 60 เมตร วิทยาเขตจูบิลีได้รับการต่อเติมอาคาร โดยล่าสุดเป็นอาคารที่ออกแบบโดยเคน ชัทเทิลเวิร์ท (Ken Shuttleworth) ซึ่งเป็นผู้ออกแบบอาคารเกอร์คิน (Gherkin) ในกรุงลอนดอน ด้วยหมายจะทำให้วิทยาเขตแห่งนี้ได้รับความสนใจ แต่ประชาชนกลับลงคะแนนให้เป็นอาคารที่ออกแบบได้แย่อันดับสองของประเทศ[9]

ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2557 อาคารแกล็กโซสมิทไคลน์ ขณะกำลังก่อสร้างได้ถูกไฟไหม้เสียหาย[10][11]

อาคารพอร์ตแลนด์ ใช้เป็นที่ตั้งสโมสรนักศึกษาและศูนย์บริการนักศึกษา

วิทยาเขตขนาดเล็ก

มหาวิทยาลัยทำการเรียนการสอนสาขาแพทย์เฉพาะทาง อาทิ เวชศาสตร์ทางเดินหายใจ เวชศาสตร์โรคหัวใจล้มเหลว วิทยาเนื้องอก กายภาพบำบัด และสาธารณสุข ที่โรงพยาบาลนอตทิงแฮมเบสต์วูด ทางตอนเหนือของตัวเมือง ส่วนสาขาชีวศาสตร์ สาขาสัตวแพทยศาสตร์ ทำการสอนที่วิทยาเขตซัตตันโบนิงตัน (Sutton Bonington Campus) ในท้องที่อำเภอรัชคลิฟฟ์ (Rushcliffe) ติดกับจังหวัดเลสเตอร์เชอร์ ห่างจากใจกลางเมืองไปทางใต้ 19 กิโลเมตร

วิทยาเขตคิงส์มีโดว์ (King's Meadow Campus) ตั้งไม่ห่างจากวิทยาเขตยูนิเวอร์ซิตีพาร์กมากนัก เดิมทีเป็นสถานีส่งวิทยุโทรทัศน์เซนทรัลอินดีเพนเดนซ์ ปัจจุบันใช้เป็นสถานฝึกสอนด้านการถ่ายภาพยนตร์และข่าวโทรทัศน์

วิทยาเขตต่างประเทศ

นอกเหนือจากที่ตั้งในอำเภอนอตทิงแฮมแล้ว มหาวิทยาลัยยังได้จัดตั้งวิทยาเขตต่างประเทศที่รัฐสลังงอ ประเทศมาเลเซีย (พ.ศ. 2542) และจังหวัดหนิงโป มณฑลเจ้อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน (พ.ศ. 2548)

วิทยาเขตมาเลเซียของมหาวิทยาลัยได้รับรางวัลพระราชทานสำหรับวิสาหกิจดีเด่น (Queen's Award for Enterprise) เมื่อ พ.ศ. 2544 และรางวัลพระราชทานสำหรับอุตสาหกรรม (ด้านการค้าต่างประเทศ) เมื่อ พ.ศ. 2549[12] ต่อมาได้ย้ายที่ตั้งจากรัฐสลังงอเข้ามายังตอนใต้ของกัวลาลัมเปอร์

วิทยาเขตจีน เปิดดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2548 โดยได้สร้างอาคารปลอดมลพิษแห่งแรกของจีน ต่อมาได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีนตะวันออก จัดตั้งสถานศึกษาชั้นสูงซั่งไห่-นอตทิงแฮม (Shanghai Nottingham Advanced Academy (SNAA)) เพื่อให้การเรียนการสอนร่วมกันในทุกระดับ โดยกำหนดให้นักศึกษาต้องไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮมระยะหนึ่งด้วย[13]

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม http://www.bbc.com/news/uk-england-nottinghamshire... http://6f9.cfe.myftpupload.com/wp-content/uploads/... http://www.risepark.plus.com/highfields.html http://www.theguardian.com/uk-news/2014/sep/13/not... http://ukcorr.org/about/campuses/jubilee.php?facil... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://jointmd.medicine.swu.ac.th/LinkClick.aspx?f... http://www.tep.engr.tu.ac.th/th/index.php?option=c... http://www.hesa.ac.uk/dox/dataTables/studentsAndQu...