ที่ตั้ง ของ มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม

วิทยาเขตเอดจ์บาสตัน

อาคารแอสตันเว็บ

มหาวิทยาลัยมีที่ตั้งห่างจากใจกลางเมืองเบอร์มิงแฮมราว ๆ 3 km ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ในท้องที่ตำบลเอดจ์บาสตัน (Edgbaston) ซึ่งได้รับบริจาคจากตระกูลคาลทอร์ป ซึ่งเป็นตระกูลขุนนางสืบทอดหลายชั่วคน เงินทุนประเดิมส่วนหนึ่งได้จากการอุทิศของแอนดรูว์ คาร์เนอกี (Andrew Carnegie) เพื่อให้เป็น "โรงเรียนวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ชั้นนำ"[21]ตามอย่างมหาวิทยาลัยคอร์เนล ซึ่งตั้งที่เมืองอีทากา เทศมณฑลทอมป์กิน รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา[22] นอกจากนี้ชาร์ลส์ โฮลครอฟต์ (Charles Holcroft) ยังได้ช่วยสมทบทุนร่วมกับผู้มีจิตศรัทธาอื่นอีกด้วย[23]

ภายในวิทยาเขตประกอบด้วยหอนาฬิกาขนาดใหญ่ชื่อโอลด์โจ (Old Joe) ตามชื่อของนายกสภาคนแรกซึ่งมีบทบาทอย่างสูงต่อการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ออกแบบโดยอาศัยต้นแบบที่หอนาฬิกาตอร์เดลมังเจีย (Torre del Mangia) เมืองซีเอนา (Siena) ประเทศอิตาลี [24] ครั้นสร้างเสร็จหอนาฬิกาดังกล่าวได้กลายเป็นอาคารที่สูงที่สุดในเมืองเบอร์มิงแฮม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2512 จึงถูกทำลายสถิติไป ถึงกระนั้นหอนาฬิกาดังกล่าวก็ยังคงเป็นอาคารสูงอันดับที่สามในเมือง และเป็นหนึ่งในห้าสิบอันดับอาคารสูงในสหราชอาณาจักรอีกด้วย[25]

นอกจากหอนาฬิกาแล้ว ยังมีอาคารแอสตัน เว็บ (Aston Webb) อันเป็นหอประชุมของมหาวิทยาลัย ใช้ชื่อตามสถาปนิกคนหลัก (คนรองชื่ออินเกรส เบลล์ (Ingress Bell)) ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐแอคคริงตัน (Accrington red brick) ซึ่งเป็นอิฐสีแดงคุณภาพดี แข็งแรง มีชื่อตามสถานที่ผลิตคือ ตำบลแอคคริงตัน จังหวัดแลงคาเชอร์ ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยจึงได้ฉายาว่ามหาวิทยาลัยอิฐแดง (Red Brick universities) ร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่นอีกหลายแห่งที่ก่อตั้งในยุคเดียวกัน มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมได้รับคำชื่นชมว่า "เป็นมหาวิทยาลัยที่ประกอบด้วยอาคารหลากหลายรูปแบบยิ่ง"[26]

ในบริเวณมหาวิทยาลัยมีพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่หนึ่ง ซึ่งชะลอมาจากกรุงดับลินเมื่อ พ.ศ. 2480 มาไว้ที่หน้าสถาบันศิลปกรรมศาสตร์บาร์เบอร์ (Barber Institute of Fine Arts) แต่ตัวอนุสาวรีย์หล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2265[27]

หลังจากที่มหาวิทยาลัยดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง ทางมหาวิทยาลัยได้จัดหาที่ดินเพิ่มเติมจากนิคมคาลทอร์ปเพื่อใช้สร้างหอพักนักศึกษา[28] โดยชั้นแรกสร้างหอพักหญิงพร้อมสระน้ำ มีชื่อได้แก่ ตึกริดจ์ ตึกวิดดริงตัน และตึกเลค เมื่อปี พ.ศ. 2505 ส่วนตึ่กไฮ (ปัจจุบันคือตึกเชมเบอร์เลน) ใช้เป็นหอพักชาย[29] รวมทั้งได้จัดให้มีการสร้างบ้านพักอาจารย์ โรงอาหาร และอาคารคณะพาณิชยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (อาคารแอชลีย์) โดยทั้งหมดเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2508[8] ในส่วนของอาคารแอชลีย์ซึ่งปัจจุบันเป็นอาคารอนุรักษ์แล้ว[30] มีลุกษณะเป็นตึกรูปทรงกระบอกสถาปัตยกรรมบรูทัลลิสต์ ภายนอกประกอบด้วยคอนกรีตหล่อ[8]

นอกเหนือจากนี้ มหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงซ่อมสร้างอาคารต่าง ๆ อาทิ

อาคารที่สร้างในยุคต่อมา ได้แก่ อาคารพลศึกษา อาคารภาควิชาเหมืองแร่ ซึ่งออกแบบโดยฟิลิป ดาวสัน (Philip Dowson) สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2510 และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์เมื่อ พ.ศ. 2519 นอกเหนือจากนี้ มหาวิทยาลัยได้สร้างหอพักลูคัส (Lucas House) ขึ้นเพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาที่มากขึ้น หอพักดังกล่าวสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2510 เช่นกัน

  • พ.ศ. 2510 สร้างอาคารพลศึกษา อาคารภาควิชาเหมืองแร่ อาคารคณะแพทยศาสตร์ หอพักลูคัส (Lucas House)[30] อนึ่ง อาคารภาควิชาเหมือนแร่ได้รับสถานะอาคารอนุรักษ์เมื่อ พ.ศ. 2519
  • พ.ศ. 2511 สร้างอาคารภาควิชาครุศาสตร์เสร็จสิ้น เป็นอาคารแปดชั้นมีห้องบรรยาย ห้องปฏิบัติการและห้องพักอาจารย์ หลังคาของตึกทำจากทองแดง[8]
  • พ.ศ. 2512 สร้างอาคารมัวร์เฮด (Muirhead Tower) ตั้งตามชื่อของจอห์น มัวร์เฮด (John Muirhead) ศาสตราจารย์สาขาปรัชญาคนแรกของมหาวิทยาลัย[31][32]) ความสูง 16 ชั้น[8] ปัจจุบันใช้เป็นที่ทำการคณะสังคมศาสตร์และห้องสมุดแคดเบอรี (Cadbury Library)
  • พ.ศ. 2552 สร้างหอแสดงดนตรีบรามอลล์ ติดกับอาคารแอสตันเว็บ[33]
  • พ.ศ. 2555 สร้างศูนย์กีฬาในร่มมูลค่า 175 ล้านปอนด์[34]
อาคารอักษรศาสตร์

นอกเหนือจากอาคารเรียนแล้ว ยังมีสวนพฤกษศาสตร์วินเทอร์บอร์น ซึ่งมีพื้นที่ขนาด 24,000 ตารางเมตร และป้ายหยุดรถไฟให้บริการภายในมหาวิทยาลัย

วิทยาเขตเซลลีโอ๊ค

วิทยาเขตเซลลีโอ๊คตั้งห่างจากวิทยาเขตเอดจ์บาสตันลงไปทางใต้เล็กน้อย ใช้เป็นสถานที่ทำการเรียนการสอนด้านเทววิทยา สังคมสงเคราะห์ และครุศาสตร์[35] แต่เดิมเป็นที่ตั้งของคณะอาศัย (Colleges) จำนวนหนึ่งซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงสองแห่งที่เปิดดำเนินการอยู่ คือ วูดบรุกคอลเลจ (Woodbrook College) และเฟอร์ครอฟต์คอลเลจ (Fircroft College) คณะอาศัยทั้งสองปัจจุบันมีสถานะเป็นธรรมสถาน และสถานศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่[36]

ภายในวิทยาเขต มีศูนย์วิทยทรัพยากรออร์ชาร์ด ซึ่งเป็นห้องสมุดหนึ่งในหลายห้องของมหาวิทยาลัย[37] นอกจากนี้ยังมีหอแสดงศิลปะขนาด 200 ที่นั่ง[38] และโรงเรียนสาธิตอีกด้วย[39]

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม http://www.takagi-ryo.ac/docs/id/340/lang/1/ http://www.skyscrapernews.com/snuk_list.htm http://ecommons.library.cornell.edu/bitstream/1813... http://www.bhamf.org/ http://www.nobelprize.org/nobel_prizes/chemistry/l... http://www.nobelprize.org/nobel_prizes/medicine/la... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.eng.bham.ac.uk/metallurgy/news/RES%20-%... http://www.medicine.bham.ac.uk/histmed/history.sht... http://www.newscentre.bham.ac.uk/press/2009/08/12A...