ประวัติ ของ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์

ยุคเริ่มแรก

มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ถือกำเนิดจากการรวมกันระหว่างมหาวิทยาลัยวิกตอเรียแมนเชสเตอร์ (Victoria University of Manchester) และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแมนเชสเตอร์ หรือยูมิสต์ (University of Manchester Institute of Science and Technology; UMIST) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 โดยมีการทำความตกลงที่จะรวมสถาบันกันในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546 [7][8]

มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ฯ มีประวัติย้อนหลังตั้งแต่ พ.ศ. 2367 ซึ่งได้มีการก่อตั้งสถาบันช่างกล (Mechanics' Institute) เพื่อให้ทำการสอนแก่นายช่างฝีมือ ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2456 เพื่อรองรับการเป็นเมืองอุตสาหกรรมแห่งแรกของโลก[9] เมื่อวิทยาลัยเจริญมากขึ้น จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแมนเชสเตอร์ เมื่อ พ.ศ. 2498 [10]

ส่วนมหาวิทยาลัยวิกตอเรีย ก่อตั้งขึ้นโดยเงินที่จอห์น โอเวนส์ (John Owens) พ่อค้าชาวอังกฤษอุทิศให้จำนวนทั้งสิ้น 96,942 ปอนด์ทองคำ (หรือ 5 ล้าน 6 แสนปอนด์ในปัจจุบัน[11]) โดยก่อตั้งเป็นวิทยาลัยชื่อ วิทยาลัยโอเวนส์ ตามนามสกุลเจ้าของเงินทุน มีที่ตั้งอยู่ที่บ้านของริชาร์ด คอบเดน (Richard Cobden) ต่อมาเมื่อวิทยาลัยขยายตัว จึงได้ย้ายออกไปยังถนนออกซฟอร์ด และใช้บ้านดังกล่าวเป็นที่ตั้งของศาลจังหวัดแมนเชสเตอร์แทน ครั้นกิจการของวิทยาลัยเจริญมากขึ้น จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยวิกตอเรีย เมื่อ พ.ศ. 2423[12] ต่อมาได้มีการเติมชื่อเมืองที่ตั้งต่อท้ายเป็น มหาวิทยาลัยวิกตอเรีย ณ แมนเชสเตอร์ เมื่อ พ.ศ. 2446[13][14]

ยุคปัจจุบัน

อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ฯ

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติควบรวมมหาวิทยาลัยวิกตอเรียและมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ฯเข้าด้วยกัน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547[15] มีอลัน กิลเบิร์ต (Alan Gilbert) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น เป็นอธิการบดีคนแรก ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2547 จนถึง พ.ศ. 2553[16] หลังจากนั้นมีแนนซี รอทเวลล์ (Nancy Rothwell) เป็นอธิการบดีสืบต่อ

เมื่อ พ.ศ. 2554 คณาจารย์สี่คนของมหาวิทยาลัยได้รับรางวัลโนเบล ได้แก่ แอนเดร เจม (Andre Geim)[17] คอนสแตนติน โนโวเซลอฟ (Konstantin Novoselov) [18] จอห์น ซัลสตัน (John Sulston) และโจเซฟ สติกลิตซ์ (Joseph Stiglitz)

ในปีต่อมา สภาวิจัยวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์กายศาสตร์กายภาพ (Engineering and Physical Sciences Research Council; EPSRC) ได้จัดตั้งสถาบันกราฟีนแห่งชาติที่มหาวิทยาลัย ใช้เงินทุนทั้งสิ้น 45 ล้านปอนด์ โดย 38 ล้านปอนด์มาจากรัฐบาลกลาง ส่วนที่เหลือเป็นของมหาวิทยาลัย[19] เมื่อการจัดตั้งศูนย์สำเร็จ จึงได้รับเงินอีก 23 ล้านปอนด์ จากกองทุนพัฒนาท้องถิ่นยุโรป[20] พร้อมกันนั้น มหาวิทยาลัยโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพได้รับเลือกเป็นที่ตั้งศูนย์นานาชาติว่าด้วยวัสดุขั้นสูง ร่วมกับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ วิทยาลัยอิมพีเรียลลอนดอน และมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์[21][22]

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ http://www.manchesternti.com/about/one-central.htm http://www.ukwhoswho.com/view/article/oupww/whoswh... http://www.ukwhoswho.com/view/article/oupww/whoswh... http://www.epsrc.ac.uk/newsevents/news/2012/Pages/... http://www.eps.manchester.ac.uk/about-us/history/ http://www.manchester.ac.uk/ http://www.manchester.ac.uk http://www.manchester.ac.uk/aboutus/facts/history/ http://www.manchester.ac.uk/aboutus/news/display/?... http://www.manchester.ac.uk/aboutus/news/display/?...