ประวัติ ของ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

พระช่วงเกษตรศิลปกร

โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม

มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีการพัฒนาจาก โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ ซึ่งได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477[1] ตามคำบัญชาของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) รัฐมนตรีกระทรวงธรรมการในขณะนั้นเพื่อเป็นการขยายการศึกษาด้านการเกษตรไปยังส่วนภูมิภาคมากขึ้น ซึ่งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือถือเป็นสถานศึกษาด้านการเกษตรแห่งแรกที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค โดยตั้งอยู่บนพื้นที่จำนวน 900 ไร่เศษบริเวณพื้นที่บ้านแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ควบคู่กับสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพ มีพระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ)|พระช่วงเกษตรศิลปการเป็นอาจารย์ใหญ่คนสุดท้ายของโรงเรียน รับนักเรียนจากผู้ที่สำเร็จมัธยมปีที่ 6 หรือประกาศนียบัตรครูมูลเข้าศึกษาในหลักสูตรกำหนดเวลาเรียน 2 ปี โดยได้รับประกาศนียบัตรประโยคครูประถมกสิกรรม (ป.ป.ก.) มีนักเรียนเข้าศึกษาในปีแรกจำนวน 48 คน ซึ่งในขณะนั้นพื้นที่ของโรงเรียนเรียนมีความไม่พร้อมในการทำเกษตรกรรมเนื่องจากเป็นพื้นที่ดินทรายจึงต้องมีการปรับปรุงดินให้ใช้ในกการทำการเกษตรได้ อีกทั้งสิ่งปลูกสร้างต่างๆเช่น ห้องเรียน เรือนนอน โรงอาหารและบ้านพักครู ต้องจัดสร้างขึ้นอย่างชั่วคราวเพื่อให้ทันต่อนโยบายของกระทรวงธรรมการในการเปิดโรงเรียน ทำให้ช่วงแรกของการก่อตั้งมีความยากลำบากอย่างมากต่อมาได้มีการเปลี่ยนสถานะของโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือเป็น โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือ ในปี พ.ศ. 2479 หลังเปิดการการเรียนการสอนได้เพียง 3 รุ่น ซึ่งกระทรวงธรรมการเห็นว่าหลักสูตรประโยคครูประถมกสิกรรมที่เปิดไปมีผู้สำเร็จการศึกษาจำนวนเพียงพอและมีสถานศึกษาที่ต้องใช้ครูเกษตรจำนวนน้อย จึงเปิดหลักสูตรมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม (มก.) ขึ้นแทนโดยรับผุ้ที่สำเร็จการศึกษาขั้นมัธยมปีที่ 4 เข้าศึกษาโดยกำหนดเวลาเรียน 4 ปี มีผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรจำนวน 4 รุ่น

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ในปี พ.ศ. 2481 ไดมีการยุบรวมโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมในส่วนภูมิภาค ได้แก่ ภาคใต้ที่ตำบลคอหงส์ จังหวัดสงขลา ภาคกลางที่อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี และภาคอีสานที่ตำบลโนนวัด จังหวัดนครราชสีมา แต่มิได้ยุบโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือจากการผลักดันของพระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจและหลวงอิงคศรีกสิการ ให้มีการรักษาโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมไว้ซึ่งต่อมาได้ยกฐานะเป็น วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ โดยรับผู้ที่สำเร็จชั้นมัธยม 8 เข้าศึกษาในหลักสูตรอนุปริญญาทางเกษตรศาสตร์ สหกรณ์และวนศาสตร์เป็นเวลา 2 ปี โดยมีพระช่วงเกษตรศิลปการเป็นผู้อำนวยการคนแรก ซึ่งต่อมาได้เป็นรากฐานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2482 วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ย้ายที่ตั้งจากแม่โจ้ไปยังสถานีเกษตรกลาง อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร โดยในส่วนของพื้นที่แม่โจ้นั้นได้ก่อตั้งเป็น โรงเรียนเตรียมเกษตรศาสตร์ โดยรับผู้สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 เข้าศึกษาในหลักสูตร 2 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจึงสามารถเข้าศึกษาในระดับปริญญาที่วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บางเขนได้โดยไม่ต้องส เมื่อวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี พ.ศ. 2486 โรงเรียนเตรียมเกษตรศาสตร์จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สถาบันอาชีวศึกษา

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ประสบปัญหาจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามดังกล่าวทำให้มีผู้สมัคเรียนจำนวนน้อยอีกทั้งยังมีการคมนาคมที่ลำบากและห่างไกลจากกรุงเทพมหานครมาก จึงมีแนวคิดที่จะยุบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ลงในปี พ.ศ. 2488 โดยได้มีการงดการรับนักศึกษาในปี พ.ศ. 2490 - 2491 เนื่องจากขาดงบประมาณและจำนวนผู้เรียนน้อย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2491 กระทรวงเกษตราธิการได้โอนกิจการของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้กับกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยเปลี่ยนสถานะเป็นสถานศึกษาในระดับอาชีวศึกษาใช้ชื่อว่า โรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ และเริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2492 โดยรับจากผู้สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 เข้าศึกษาในหลักสูตร 3 ปี เมื่อสำเร็จแล้วจะได้รับประกาศนียบัตรอาชีวชั้นสูง แผนกเกษตรกรรม และต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2499

มหาวิทยาลัย

ในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการเปลี่ยนสถานะของวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ใหม่เป็น สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร[2] และย้ายสังกัดจากกรมอาชีวศึกษาไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยแทน โดยเปิดสอนในหลักสูตรเทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต (ทก.บ.) ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกในระดับปริญญาตรี รวมถึงในระดับอนุปริญญา ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงและประกาศนียบัตรบัณฑิต และได้เปลี่ยนชื่อสถาบันในปี พ.ศ. 2525 เป็น สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เนื่องจากคำว่าแม่โจ้เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปมากกว่า[3]

สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ได้รับการสถานปนาเป็น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ [4] เมื่อวัน 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เพื่อขยายขอบเขตการให้การศึกษาและเกิดความคล่องตัวทางวิชาการและการบริหารมากขึ้น โดยปัจจุบันมีการเปิดสอนในระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอกโดยมีความหลากหลายในสาขาวิชานอกเหนือจากสาขาเกษตรกรรมซึ่งแม่โจ้มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะทางด้านการปฏิบัติมาตั้งแต่ในช่วงของการศึกษาด้านอาชีวศึกษา รวมถึงยังมีการจัดตั้งวิทยาเขตเพื่อขยายการศึกษาไปยังส่วนภูมิภาคต่างๆ โดยวิทยาเขตแรกคือมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติตั้งอยู่ที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรที่อำเภอละแม จังหวัดชุมพร และวิทยาเขตล่าสุดคือมหาวิทยาลัยแม่โจ้-อุตรดิตถ์ที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ. 2539 เปลี่ยนสถานะจากมหาวิทยาลัยของรัฐเป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ภายในการกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ โดยไม่สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ. 2560 ซึ่งประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560 และมีผลบังคับใช้ 30 วันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปคือให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาวิทยาลัยแม่โจ้ http://www.cm108.com/ http://drama-addict.com/2011/08/19/%E0%B8%82%E0%B8... http://www.facebook.com/groups/143313795716154/ http://greenmetric.ui.ac.id/overall-ranking-2015/ http://www.webometrics.info/en/Asia_Pacifico/South... http://www.maejo.net/MaejoFlowerSymbol/index.html http://www.4icu.org/reviews/4489.htm //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.welfares.ae.mju.ac.th/ http://www.artsandculture.mju.ac.th/