เบ็ดเตล็ด ของ มหาสติปัฏฐานสูตร

เกร็ด​เล็ก​เกร็ดน้อย​จาก​อรรถกถา​-​ฏีกาของสติปัฏฐานสูตร​และ​สติปัฏฐานสูตร มีดังนี้​ :-

  1. ใน​อรรถกถา​-​ฏีกาท่านแนะ​ไว้​ใน ​สัจจบรรพะวรรณนา​ ของทีฆนิกายว่า​ ​ไม่​ควรกำ​หนด​ 4 ​บรรพะดังต่อไปนี้ก่อน​ ​คือ​ ​อิริยาบถบรรพะ​ ​สัมปชัญญบรรพะ​ ​นิวรณบรรพะ​ ​และ​โพชฌังคบรรพะ

​เพราะ​อิริยาบถ​ทั้ง​น้อย​และ​ใหญ่​ไม่​ใช่​สัมมสนรูป จึงไม่ใช่อารมณ์ของวิปัสสนา, นิวรณ์เป็นปหาตัพพธรรม ควรข่มให้ได้ก่อน ไม่ใช่มัวแต่สัมมสนะ แล้วปล่อยให้นิวรณ์เกิด,​ ​ส่วน​โพชฌงค์​ใน​ที่นี้ท่านหมาย​ถึง​โลกิยโพชฌงค์​ ​ซึ่ง​ถ้า​หากกำ​หนด​ให้​เบื่อหน่าย​แล้ว​ก็​จะ​ไม่​คิดเจริญต่อ​ ​ฉะ​นั้น​จึง​ไม่​ควรกำ​หนดตั้งแต่​แรก​.

  1. ​ใน​อรรถกถาท่านกล่าวว่า​ สติปัฏฐาน​ เป็น​วินัย​ทั้ง​ 2 ​คือ​ ​ทั้งตทังควินัย​และ​วิกขัมภนวินัย ​กล่าวคือ​ ​เป็น​ได้​ทั้ง​ขณิกสมาธิ​และอัปปนาสมาธิ​ ​ซึ่ง​อีกที่หนึ่งก็กล่าว​ให้​บางบรรพะ​เป็น​สมถะ​และ​บางบรรพะ​เป็น​ วิปัสสนา​ ​จึง​สรุป​ความ​ได้​ว่า​ สติปัฏฐาน​เป็น​ได้​ทั้ง​สมถะ​และ​วิปัสสนา​ อย่าง ​อิริยาบถบรรพะ​เป็น​ต้นท่านก็ว่า​เป็น​วิปัสสนา​ ​ส่วน​การ​จะ​ทำ​ฌาน​ให้​เป็น​สติปัฏฐาน​ได้​นั้น​ก​็ต้อง​ทำ​เพื่อ​เป็นบาทของวิปัสสนา​ ​และ​ถ้า​ไม่​ทำ​ฌานแต่​จะ​ทำ​สติปัฏฐานก็​ต้อง​ทำ​วิปัสสนา​ ​เพียงแต่การ​ได้​ฌาน​จะ​ช่วย​ให้​บรรลุ​ได้​สบายขึ้นกว่าคนที่​ไม่​ทำ​ฌาน มาก่อน​เท่า​นั้น​เอง​.
  2. หลักการวิปัสสนาที่อรรถกถาขยาย​ความ​สติปัฏฐาน​ใน​แต่ละบรรพะคือหลักปริญญา​ 3 ​ที่มา​ใน​ ​พระ​ไตรปิฎก เล่ม​ 29 ​คัมภีร์มหานิทเทส​ และปฏิสัมภิทามรรค​ของพระสารีบุตร​ รวมถึงเนตติปกรณ์ทั้ง​สิ้น​ พระพุทธโฆสาจารย์ไม่​ใช่​การแต่งขึ้นเองแต่อย่าง​ใด​.
  3. บทว่า​ ​สมุทยธมฺมานุปสฺสี​, ​วยธมฺมานุปสฺสี​, ​สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี​ ​ ที่มี​อยู่​ใน​ทุกบรรพะ​ ​ใน​อรรถกถา​และ​ฏีกาท่าน​ให้​แปลว่า​ ​ผู้​หมั่นเห็นเหตุของ​ความ​เกิดขึ้น​, ​ผู้​หมั่นเหตุ​แห่ง​ความ​หมดไป​, ​ผู้​หมั่นเหตุ​แห่ง​ความ​เกิดขึ้น​และ​ความ​หมดไป​ ​ตามลำ​ดับ​. ​เพราะ​คำ​ว่า​ ​ธรรม​ หมาย​ถึง​เหตุ​เกิดขึ้น​หรือ​เหตุดับของขันธ์​ 5 ​อย่าง ​ที่มา​ในปฏิสัมภิทามรรค​ ​อุทยัพพยญาณนิทเทส ​และ​วิสุทธิมรรค​อุทยัพพยญาณกถา​ ​ได้​แก่​ ​การเกิดขึ้น​และ​การดับของธรรมะ​ 2 ​อย่าง​ ​คือ​ ​ปัจจัย​ 6 ​อย่าง​ ​ได้​แก่​ ​อวิชชา​ ​ตัณหา​ ​กรรม​ ​อาหาร​ ผัสสะ นามรูป ​และ​นิพพัตติลักษณะ​ ​คือ​ ​อุปาทขณะของสภาวะธรรม​นั้น​ ​ๆ​ ​หรือ​ ​วิปริณามลักษณะ​ ​คือ​ ​ภังคขณะของสภาวะธรรม​นั้น​ ​ๆ​ ​อย่าง​ใด​อย่างหนึ่ง​ ​หากแปลว่า​ ​ธรรมคือ​ความ​เกิด​ ​เป็น​ต้น​ ​จะ​หมาย​ถึง​ ​นิพพัตติลักษณะ​หรือ​วิปริณามลักษณะ​เท่า​นั้น​ ​ส่วน​ธรรมอีก​ 4 ​อย่างที่​เป็น​ปัจจัย​จะ​คลุม​ไม่​ถึง​ จึงเป็นคำแปลที่ขัดกับปฏิสัมภิทามรรค, อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร, ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร.
  4. ​ใน​อรรถกถาของทีฆนิกาย​ ​ระบุจำ​นวนคนที่บรรลุ​ไว้​ 30,000 ​ใน​ตอนจบของอรรถกถาสูตรนี้​.
  5. ใน​อรรถกถา​ใช้​หลักปริญญา​ 3 ​เป็น​เกณฑ์​ใน​การอธิบายเนื้อ​ความ​ทั้ง​หมด​ ​และ​ท่านขยาย​ความปริญญา​ 3 ​ไว้​แล้ว​ ​ใน​นิทเทสของวิสุทธิ​ 3 ​ได้​แก่​ ​ทิฏฐิวิสุทธิ​กังขาวิตรณวิสุทธิ​ ​และ​มัคคามัคญาณทัสสนวิสุทธิ​ ​ซึ่ง​เมื่อรวมพื้นฐาน​แล้ว​ก็​ได้​วิสุทธิ​ทั้ง​ 7 ​หรือ​ ​วิสุทธิมรรค​ทั้ง​เล่มนั่นเอง​. ​ฉะ​นั้น​ท่าน​จึง​อ้าง​ถึง​วิสุทธิมรรค​ไว้​บ่อยมาก​ ​และ​ใครที่​ไม่​เคยอ่านวิสุทธิมรรค​ ​หรือ​อ่าน​แล้ว​แต่​ไม่​รู้​เรื่อง​เพราะ​ไม่​ชำ​นาญพระอภิธรรม​ ​หากไปอ่านอรรถกถาของมหาสติปัฏฐานสูตร​เป็น​ต้น​ ​และ​อรรถกถา​ส่วน​ใหญ่​ที่​เป็น​ข้อปฏิบัติอาจ​จะ​ไม่​เข้า​ใจเลย​ ​เพราะ​ข้ามลำ​ดับการศึกษา​ไปนั่นเอง​ ​แต่​ทั้ง​นี้หาก​จะ​อ่าน​ให้​ผ่านตา​ไว้​ก่อน​ใน​ระหว่างศึกษาคัมภีร์พื้นฐาน​อยู่​ก็ควรทำ​ ​เพราะ​จะ​สะสม​เป็น​อุปนิสัย​ ​ให้​สามารถ​เข้า​ใจ​ใน​อนาคต​ได้​ใน​ที่สุด​.
  6. ก่อนสติปัฏฐานสูตร​ ​ใน​มัชฌิมนิกาย​ ​มีสูตรชื่อว่า​ สัมมาทิฏฐิสูตร ​ซึ่ง​ท่านพระสารีบุตรบอกกรรมฐาน​ไว้​มากกว่าสติปัฏฐานสูตรอีก​ ​โดย​กล่าว​ไว้​ถึง​ 32 ​กรรมฐาน​ ​ใน​ขณะที่สติปัฏฐานสูตรกล่าว​ไว้​เพียง​ 21 ​กรรมฐาน​เท่า​นั้น​. ​ใน​บรรดาพระสูตร​ด้วย​กัน​ ​สัมมาทิฏฐิสูตร​จึง​ถูกจัดว่า​ ​เป็นสูตรที่​แสดงกรรมฐาน​ไว้​มากที่สุด.
  7. ใน​อรรถกถา​และ​ฏีกาท่านอธิบายคำ​ว่า​ ​เอกายนมรรค​ ​ไว้​ว่า​ ​หมาย​ถึง​ ​ทางมุ่งสู่พระนิพพานอย่างเดียว​. ​ซึ่ง​จาก​คำ​อธิบาย​และ​ตัวอย่าง​ใน​ฏีกา​นั้น​ ​ทำ​ให้​ทราบ​ได้​ว่า​ ​เอกายนมรรคอาจ​จะ​มีข้อปฏิบัติหลายอย่าง​ได้​ ​เช่น​ ​ในสติปัฏฐานสูตรก็มีกรรมฐาน​ถึง​ 21 ​ข้อ​ ​ใน​​สัมมาทิฏฐิสูตรก็มีกรรมฐาน​ถึง​ 32 ​ข้อ​ ​เป็น​ต้น​.
  8. จาก​การที่สติปัฏฐาน​เป็น​ได้​ทั้ง​สมถะ​และ​วิปัสสนา​จึง​ทำ​ให้​ทราบ​ได้ว่าสติปัฏฐานมี​ทั้ง​บัญญัติ​และ​ปรมัตถ์​เป็น​อารมณ์​ ​เพราะ​สมถะ​ ​เช่น​ ​​ นิมิต​ ​ซึ่ง​เป็น​ที่ทราบ​กัน​ดีว่านิมิตเป็น​บัญญัติ​, ​ส่วน​วิปัสสนา​ ​เช่น​ ​อิริยาบถบรรพะ​ ​ก็มีอิริยาบถ​และไตรลักษณ์เป็น​ต้น​ ​ซึ่ง​เป็น​บัญญัติ​ ​เป็น​อารมณ์​ได้​.
  9. ในสติปัฏฐานสูตรจะเน้นให้พิจารณาทั้งสิ่งที่เป็นของตนและของคนอื่นเพราะมี ข้อความว่า "พหิทฺธา วา กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ-เป็นผู้หมั่นพิจารณากายในกายอยู่" อยู่ในทุกบรรพะทั้ง 21 บรรพะเลยทีเดียว ซึ่งพระอรรถกถาและพระฏีกาจารย์ก็ย้ำไว้อีกในอรรถกถาของทุกบรรพะเช่นกันว่า "พิจารณาภายนอก หมายถึง ของคนอื่น". คำนี้ก็สอดคล้องกับสูตรทั่วไป เช่นที่เรามักได้ยินคำว่า "รูปที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ภายใน ภายนอก หยาบ ละเอียด เลว ประณีต ไกล ใกล้" เป็นต้น.
  10. สาเหตุที่คนมักเข้าใจว่า ท่านให้พิจารณาแค่จิตของตนเท่านั้น กายของตน เท่านั้น เป็นต้น อย่างหนึ่งน่าจะมาจากข้อความว่า "กายยาววาหนาคืบ"ซึ่งมีต้นเค้ามาจากพระไตรปิฎก แต่คำนี้ท่านก็ไม่ได้ระบุว่าหมายถึงของตนเองเท่านั้น.
  11. คำว่า "ตัณหาจริตอย่างอ่อน" และ"ทิฏฐิจริตอย่างอ่อน"นั้น สมัยนี้มีการพูดถึงกันมาก เพราะเอามาจากอรรถกถาสติปัฏฐานสูตรเป็นต้นนั่นเอง มาจากศัพท์ว่า "มนฺทสฺส ตณฺหาจริตสฺส" กับ "ทิฏฺฐิจริตสฺส มนฺทสฺส" ซึ่งดูจากฏีกาวิสุทธิมรรค และเนตติปกรณ์ รวมถึงในอรรถกถาของทีฆนิกายแล้ว ถ้าจะอ่านให้รู้เรื่องควรเข้าใจคำนี้ว่าเป็น "ตัณหาจริต ปัญญินทรีย์แก่กล้า/ปัญญินทรีย์อ่อนหัด" กับ "ทิฏฐิจริต ปัญญินทรีย์แก่กล้า/ปัญญินทรีย์อ่อนหัด".
  12. การแสดงข้อมูลสำหรับสะสมอบรมสติปัฏฐานไว้ถึง 21 แบบ ซ้ำกันไปซ้ำกันมาในเรื่องเดียวกันอยู่อย่างนี้ เพราะทรงแสดงตามนิสัยสันดานของแต่ละคนที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านข้อมูลและภาษาเป็นต้นมาไม่เหมือนกัน หากทรงแสดงย่อเพียงแบบใดแบบหนึ่ง ผู้ฟังบางส่วนอาจไม่สามารถทำความเข้าใจจนบรรลุได้. แต่หากทรงแสดงหลากหลายแบบ เลือกคำพูดและร้อยเรียงเอาเรื่องราวที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลมาแสดงแล้ว ก็อาจทำให้ผู้ฟังบรรลุได้ตามประสงค์ เพราะผู้ฟังก็มีความเข้าใจในเรื่องนั้นๆอยู่ในระดับชำนาญเฉพาะทางอยู่แล้ว เพียงแค่ทรงบอกแนะเพิ่มเติมในจุดที่ขาดตกบกพร่องไปเท่านั้นเขาก็สามารถเข้าใจและบรรลุตามได้ไม่ยากเลย, เหมือนการอธิบายเรื่องพระเจ้าหลุยให้ชาวฝรั่งเศสฟังด้วยภาษาฝรั่งเศส ถ้าเจอคนโง่ก็อธิบายให้คนโง่ฟังอย่างละเอียด ถ้าเจอคนฉลาดก็อธิบายให้คนฉลาดอย่างสังเขป เป็นต้นนั่นเอง.
  13. ทั้ง 21 บรรพะนี้ พึงทราบว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้อย่างย่อเท่านั้น รายละเอียดจำเป็นต้องดูเพิ่มเติมที่สติปัฏฐานสังยุตต์ ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, สติปัฏฐานนิทเทส ในขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค, สติปัฏฐานวิภังค์ ในอภิธรรมปิฎก วิภังคปกรณ์(<<ละเอียดที่สุด) และคัมภีร์ชั้นอรรถกถา-ฏีกา เช่น อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร ในสุมังคลวิลาสินีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานสูตร ในปปัญจสูทนีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานสังยุตต์ ในสารัตถปกาสินีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานนิทเทส ในสัทธัมมปกาสินีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานวิภังค์ ในสัมโมหวิโนทนีปกรณ์, อภิธัมมัตถวิภาวินีฏีกา ฏีกาของอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 7(ย่อไว้ดีมาก),ฏีกา-อนุฏีกาของอรรถกถาเหล่านั้น เป็นต้น. อย่างไรก็ตาม การจะทำความเข้าใจอย่างละเอียดนั้นจำเป็นต้องมีพื้นฐานในด้านข้อมูล-ภาษา-และความสัมพันธ์ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก-อรรถกถา-ฏีกามากพอสมควร ซึ่งสามารถหาประสบการณ์และความชำนาญได้ด้วยการหาความรู้เพิ่มเติมไปอีก เช่น ถ้าอ่านเรื่อง "รูปขันธ์" ในขันธบรรพะ พร้อมอรรถกถา-ฏีกาแล้ว ก็ควรอ่านขันธวารวรรค ในสังยุตตนิกาย, ขันธวิภังค์ ในวิภังคปกรณ์, ขันธนิทเทส ในวิสุทธิมรรค ปัญญานิทเทส, การจำแนกขันธ์ที่มาในธัมมสังคณีปกรณ์, อภิธัมมัตถสังคหปกรณ์, อภิธัมมัตถวิภาวินีปกรณ์ เป็นต้น.

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาสติปัฏฐานสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=02... http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10... http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10... http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10... http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10... http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10... http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10... http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10... http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12... http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12...