ลักษณะ ของ มหาอำนาจ

ไม่มีเกณฑ์หรือลักษณะจำกัดความของมหาอำนาจ ลักษณะเหล่านี้มักถือว่าเป็นเชิงประสบการณ์และประจักษ์ชัดในตัวของผู้ประเมิน[5] อย่างไรก็ดี ความเข้าใจนี้มีข้อเสียเรื่องอัตวิสัย ผลคือ มีความพยายามหยิบยกเกณฑ์สามัญบางข้อมาพิจารณาและจัดเป็นส่วนสำคัญของสถานภาพมหาอำนาจ

งานเขียนช่วงต้นเกี่ยวกับเรื่องนี้มักตัดสินรัฐตามเกณฑ์สัจนิยม ตามที่แสดงโดยนักประวัติศาสตร์ เอ. เจ. พี. เทย์เลอร์ เมื่อเขาเขียนว่า "การทดสอบมหาอำนาจ คือ การทดสอบความเข้มแข็งในการทำสงคราม"[6] นักเขียนสมัยหลังได้ขยายการทดสอบนี้ โดยพยายามนิยามมหาอำนาจในแง่ขีดความสามารถทางทหาร เศรษฐกิจและการเมืองโดยรวม[7] เคนเน็ธ วอลทซ์ ผู้ก่อตั้งทฤษฎีสัจนิยมใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้ใช้ชุดหลักเกณฑ์ 5 ข้อ เพื่อระบุความเป็นมหาอำนาจ: คุณภาพ,จำนวนประชากรและลักษณะที่ตั้งของภูมิประเทศ; การบริหารทรัพยากร; ศักยภาพทางเศรษฐกิจ; ความมั่นคงและอำนาจทางการเมือง;อำนาจทางการทหาร เกณฑ์ดังกล่าวสามารถแบ่งออกได้ในสามหัวข้อ: ขีดความสามารถแห่งอำนาจในแง่พื้นที่ และสถานภาพ[1]

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาอำนาจ http://post.queensu.ca/~nossalk/papers/hyperpower.... http://www.google.com/books?id=9jy28vBqscQC&pg=PA5... http://www.google.com/books?id=BWPa0MB_AyQC&pg=PA2... http://www.google.com/books?id=ZgFu2p5uogwC&dq=gre... http://encarta.msn.com/encyclopedia_761590309/Grea... http://www.press.umich.edu/pdf/0472112872-appb.pdf http://www.press.umich.edu/titleDetailLookInside.d... http://www.washington.edu/uwpress/search/books/EBE... http://yaleglobal.yale.edu/about/pdfs/china_views.... http://journals.cambridge.org/action/displayAbstra...