ชีวิตการศึกษาและการทำงาน ของ มอริส_วิลคินส์

มอริสเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ โดยเข้าสังกัดวิทยาลัยเซนต์จอห์น เขาศึกษาในสาขาวิชาฟิสิกส์และวิชาโทวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ต่อมาได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต

มาร์ก โอลิฟันต์ (Mark Oliphant) อาจารย์ของมอริสในขณะนั้น ต่อมาได้เป็นหัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม มาร์กได้จ้างจอห์น แรนดอล (John Randall) เข้ามาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมด้วย จอห์นได้รับมอริสมาเป็นนักศึกษาปริญญาเอกในเวลาต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2488 จอห์นและมอริสได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับการวาวแสง (phosphoresence) และการกักอิเล็กตรอนจนได้รับปริญญาเอก[1]

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง มอริสได้พัฒนาระบบกันเรดาร์ที่มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ต่อมาได้ทำวิจัยด้านการแยกไอโซโทปที่โครงการแมนฮัตตัน(Manhattan Project) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2484-2485[2]

ครั้นจอห์น แรนดอลได้ขึ้นเป็นหัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูว์เมื่อ พ.ศ. 2488 จอห์นได้จ้างมอริสเป็นผู้ช่วยสอนในภาควิชาของเขา ในขณะเดียวกันจอห์นได้เจรจาร่วมมือกับสภาวิจัยการแพทย์ (Medical Research Council;MRC) เพื่อให้ตั้งห้องปฏิบัติการชีวฟิสิกส์ ซึ่งนับว่าเป็นวิชาใหม่มากในสมัยนั้น แต่สภาวิจัยฯกลับบอกว่าการตั้งห้องปฏิบัติการต้องทำที่มหาวิทยาลัยอื่น ปีถัดมาจอห์นได้เป็นหัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน โดยมีชื่อตำแหน่งว่า ศาสตราจารย์วีตสโตนสาขาฟิสิกส์ (มาจากชื่อของชาลส์ วีตสโตน) โดยมีทุนวิจัยในสาขาชีวฟิสิกส์ด้วย จอห์นกับมอริสผู้เป็นคู่หูกันต่างก็ติดตามกันมาอยู่ที่มหาวิทยาลัยลอนดอนด้วย โดยให้มอริสเป็นผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยวิจัยชีวฟิสิกส์ ณ ที่นี่ ต่อมาราชวิทยาลัยลอนดินได้รับงบประมาณสร้างห้องปฏิบัติการของภาควิชาฟิสิกส์และคณะวิศวกรรมเสียใหม่เพราะเสียหายจากสงคราม หน่วยวิจัยชีวฟิสิกส์รวมถึงห้องปฏิบัติการวิจัยต่าง ๆ ก็ย้ายเข้าไปที่ห้องใต้ดินใต้วิทยาเขตสแตรนด์ ครั้นแล้ว เฟรเดอริก ลินเดอมานน์ (Frederick Lindemann) ได้ให้เกียรติทำพิธีเปิดห้องปฏิบัติการ บทความในวารสาร Nature ของมอริสได้กล่าวว่าทั้งภาควิชาฟิสิกส์และคณะวิศวกรรมต่างก็รุ่งเรืองภายใต้การนำของเขา[3]

แหล่งที่มา

WikiPedia: มอริส_วิลคินส์ http://www.abc.net.au/rn/relig/enc/stories/s39549.... http://dnaandsocialresponsibility.blogspot.com/201... http://www.nature.com/nature/dna50/archive.html http://www.nytimes.com/indexes/2003/02/25/health/g... http://www.nytimes.com/packages/pdf/science/dna-ar... http://www.nzedge.com/heroes/wilkins.html http://www.peoplesarchive.com/ //dx.doi.org/10.1038%2F170261a0 //dx.doi.org/10.1038%2Fnature01397 http://www.kingscollections.org/exhibitions/archiv...