ประวัติ ของ มอแกลน

แต่เดิมชาวเลทั้งสามกลุ่มอันได้แก่ มอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ยมีบรรพบุรุษเป็นชาวมลายูดั้งเดิม[2][3] อาศัยและเดินทางไปมาระหว่างชายฝั่งทะเลตะวันตกของไทยและหมู่เกาะมะริดในพม่ามานานนับศตวรรษก่อนการออกโฉนด โดยมีภาษา วิถีชีวิต และวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง[8] แต่หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในปี พ.ศ. 2547 ทำให้ชาวไทยและชาวโลกรู้จักชาวเลในทะเลอันดามัน เพราะหลังจากเหตุการณ์นั้นก็มีการฉวยโอกาสออกเอกสารสิทธิ์ทับซ้อนกับชุมชนชาวเลดั้งเดิมที่อาศัยอยู่เป็นเวลาช้านานแต่ไม่มีการออกเอกสารสิทธิ์จึงทำให้มีเอกชนเข้าครอบครองแทนที่[9] เรือดั้งเดิมที่ชาวมอแกลนใช้ออกหาปลาในอดีตเป็นเรือขุด เสริมกราบด้วยไม้กระดาน ใช้แจว บ้างติดใบเรือเช่นเดียวกับอูรักลาโว้ย[10] แต่ปัจจุบันชาวมอแกลนตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งมาช้านานกว่าศตวรรษ[2] หันมาประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง รับจ้าง หรือทำสวน[11]

ในประเทศไทยมีชาวมอแกลนอาศัยอยู่ราว 2,500[12] บ้างว่า 3,700 คน[5] และ 4,500 คน[1] ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณชายฝั่งของจังหวัดพังงาและตอนบนของเกาะภูเก็ต ได้แก่ เกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี บ้านทุ่งน้ำดำ อำเภอตะกั่วป่า บ้านลำปี อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา และบ้านแหลมหลา อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต[1][11]

แหล่งที่มา

WikiPedia: มอแกลน http://www.manpattanalibrary.com/newsdetail.php?id... http://thaiworldmission.com/index.php?option=com_c... http://moken.hilltribe.org/thai/mokenFAQ.php http://www.andaman.cusri.chula.ac.th/%E0%B8%A1%E0%... http://museum.socanth.tu.ac.th/images/page5Online%... http://chumchonthai.or.th/data-chaola http://www.sac.or.th/main/activities_detail.php?le... http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content... http://www.thaihealth.or.th/Content/17154-%E0%B8%A...