ตัวละครในเรื่อง ของ มังกรหยก

  • ก๊วยเจ๋ง จอมยุทธอุดร ยอดวีรบุรุษแห่งตงง้วน (เป็นคนเรียนรู้ได้ช้า มีความคิดอ่านไม่ปราดเปรื่อง แต่เป็นคนสัตย์ซื่อและมีความขยัน จึงได้รับการเอ็นดูจากจอมยุทธมากมายจึงถ่ายทอดวิชาให้ มีสัญลักษณ์สลักคำว่าเอี๊ยคัง ผู้เป็นบิดาสลักไว้ให้ติดตัวมาตั้งแต่เด็กหลังบิดาตาย)
  • ก๊วยเซาเทียน ผู้เป็นบิดาจอมยุทธก๊วยเจ๋ง และ เป็นพี่น้องร่วมสาบานกับเอี๊ยทิซิม (ผู้เป็นบิดาของเอี๊ยคัง)
  • หลีเพ้ง มารดาของก๊วยเจ๋ง หลังจากสามีได้ถูกสังหารจากสงคราม ได้หนีไปชายแดนและได้ทัพมองโกลอุปการะเลี้ยงดูไว้ทั้งแม่และลูก
  • อึ้งย้ง หรือยงยี้ ได้รับฉายาว่าขงเบ้งหญิง (เนื่องจากมีปัญญายอดเยี่ยม) และยังได้รับการขนานนามว่าเป็นยอดสตรีศรีต้งง้วนอีกด้วย ธิดาของมารบูรพา (อึ้งเอี๊ยะซือ) ภรรยาของ (ก๊วยเจ๋ง)
  • ก๊วยพู้ บุตรสาวคนโตของก๊วยเจ๋ง มีนิสัยชอบเอาแต่ใจไม่ชอบเอี้ยก้วย ภายหลังได้รับการช่วยชีวิตจาก เอี๊ยก้วย
  • ก๊วยเซียง บุตรสาวคนเล็กของก๊วยเจ๋ง น้องสาวฝาแฝดของก๊วยพั่วลู่ มีนิสัยดีชอบช่วยเหลือผู้อื่น ซุกซนขี้เล่น แอบชอบเอี๊ยก้วย (ผู้ก่อตั้งสำนักง้อไบ้ ในมังกรหยก ภาค3 หรือ กระบี่อิงฟ้า ดาบฆ่ามังกร)
  • ก๊วยพั่วลู่ หรือ ก๊วยพั่วโล้ น้องชายของก๊วยพู้ และเป็นน้องฝาแฝดของก๊วยเซียง
  • เอี้ยก้วย บุตรชายของเอี๊ยคัง (หลังจากบิดาและมารดาเสียชีวิต มารดาได้ฝากไว้ให้กับก๊วยเจ๋งเลี้ยงดูแต่ได้มีเรื่องกับศิษย์ของ ก๊วยเจ๋งและบุตรสาวคนโตของก๊วยเจ๋ง (ก๊วยพู้) อยู่บ่อยๆ อึ้งยง ได้ให้ ก๊วยเจ๋ง นำไปฝากไว้กับนักพรตช้วนจินก่าเลี้ยงดูและสั่งสอน อึ้งยง เห็นว่ามีนิสัยคล้าย ๆ เอี๊ยคังผู้เป็นบิดาจึงกลัวว่าเติบโตมาแล้วจะเป็นคนไม่ดีและยังไม่อยากให้ก๊วยเจ๋งต้องมากังวลกับปัญหาอื่นๆในช่วงบ้านเมืองกำลังวุ่นวาย)
  • เซียวเหล่งนึ่ง ศิษย์สำนักสุสานโบราณ ผู้ที่เลี้ยงดูและช่วยเอี๊ยก้วยหลังจากที่เอี๊ยก้วยโดนใส่ร้ายและขับออกจากช้วนจินก่าและยังถูกทำร้ายโดยพิษอีกด้วย เปรียบเหมือนพี่สาวและยังเป็นคนรักเอี๊ยก้วยอีกด้วย มีอายุมากกว่าเอี๊ยก้วย 4 ปี แต่หน้าตากลับดูเยาว์วัยเหมือนยังสาว
  • เอี๊ยคัง ผู้เป็นบิดาเอี้ยก้วย นิสัยไม่ดี ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างตามใจ (พกมีดสั้นที่มีสัญลักษณ์สลักคำว่าก๊วยเจ๋ง ผู้เป็นบิดาสลักไว้ให้ติดตัวมาตั้งแต่เด็กหลังบิดาตาย)
  • เปาเซียะเยียก มารดาของเอี๊ยคัง หลังจากสามีได้ถูกสังหารจากสงคราม อ๋องชาวนีเจินชอบพอจึงให้การอุปการะเลี้ยงดูไว้และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฮูหยินแต่นางรักเดียว ใจเดียว เท่านั้น
  • เอี๊ยทิซิม ผู้เป็นบิดาเอี้ยคัง และ เป็นพี่น้องร่วมสาบานกับก๊วยเซาเทียน (ผู้เป็นบิดาของก๊วยเจ๋ง)
  • เค็กซา หรือ ซ่ากู หรือ โถว โถว บุตรสาวของ เค็กเล้งฮวง ศิษย์อึ้งเอี๊ยะซือ นางมีสติไม่สมประกอบ พอมีวรยุทธอยู่บ้างจากบิดาสอน ต่อมาได้มาอาศัยที่เกาะดอกท้อเนื่องจาก ก๊วยเจ๋งและอึ้งยงไปตามหาตัวเค็กเล้งฮวงแต่ไม่เจอ เจอเพียงจดหมาย และ เค็กซา จึงได้พามาที่เกาะดอกท้อและได้รับการเลี้ยงดูและสอนวรยุทธนิดหน่อยจาก อึ้งเอี๊ยะซือ เนื่องจาก อึ้งเอี๊ยะซือ สำนึกผิดที่ได้ตัดเอ็นร้อยหวาย เค็กเล้งฮวง เพราะความโกรธ
  • เจงกิสข่าน จ้าวแห่งทัพมองโกล ได้อุปการะเลี้ยงดูแม่ของก๋วยเจ๋ง และ ก๋วยเจ๋ง หลังจากบิดาก๋วยเจ๋ง (ก๊วยเซาเทียน) เสียชีวิตลง
  • เอ็งโกว หรือสนมเล่า (ฉายาเทพคำนวณ) อดีตพระสนมอ๋องต้วน ต้วนตี่เฮง (อิดเต็งไต้ซือ) แต่ได้ไปมีสัมพันธ์กับ จิวแป๊ะทง และได้มีลูกด้วยกัน 1 คน แต่ลูกนางได้โดน ฮิ้วโชยยิ่ม ลอบทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส จึงได้ไปขอให้ ต้วนตี่เฮง (อิดเต็งไต้ซือ) ใช้ ดัชนีเอกสุริยันต์ ช่วยลูกของนาง แต่กลับไม่ยอมช่วยเนื่องจาก ไม่พอใจและโกรธนางเพราะไปมีสัมพันธ์กับ (จิวแป๊ะทง) จนทำให้ลูกนางตายลง นางจึงเสียใจอย่างมากและหนีไป และเปลี่ยนชื่อ เป็น เอ็งโกว
  • จิวแป๊ะทง หรือเฒ่าทารก เป็นศิษย์น้องของ เฮ้งเตงเอี้ยง มีนิสัยร่าเริง บ้าๆ บอๆ เหมือนเด็กทารก ต่อมาได้ไปมีสัมพันธ์กับ เอ็งโกว และมีลูกด้วยกัน 1 คน ตอนที่ ต้วนตี่เฮง(อิดเต็งไต้ซือ) ให้ติดตามไปด้วยเพื่อตามหา คัมภีร์เก้าอิม ที่เฮ้งเตงเอี้ยง ซ่อนไว้ แต่ด้วยนิสัยของเขาจึงไม่รู้ว่าเขามีลูกกับเอ็งโกว
  • เซียมตัง (ชาวประมง) 1 ในศิษย์ของอิดเต็งไต้ซือ
  • บู๊ซำทง (กสิกร) 1 ในศิษย์ของอิดเต็งไต้ซือ
  • ฮิ้วโชยตึ๋ง พี่ของฮิ้วโชยยิ่ม มีนิสัยชอบหลอกลวงลักเล็กขโมยน้อย ขู่กรรโชก แต่ไม่มีวรยุทธ์ จึงชอบแอบอ้างชื่อน้องตัวเอง (ฮิ้วโชยยิ่ม) ซึ่งเป็นฝาแฝด

ห้ายอดฝีมือแห่งยุค

  • เฮ้งเตงเอี้ยง (เทพมัชฌิม หรือ กลางอิทธิฤทธิ์) ผู้ก่อตั้งสำนักช้วนจินก่า ได้รับการยอมรับว่ามีฝีมือสูงที่สุดในห้ายอดฝีมือ ภายหลังหายสาบสูญ ผู้ครอบครอง คัมภีร์เก้าอิม วรยุทธ์ที่เด่นชัด เพลงกระบี่ช้วนจิน
  • อึ้งเอี๊ยะซือ (มารบูรพา หรือ ตังเซี้ย- บางฉบับใช้ ภูตบูรพา) เป็นบิดาของอึ้งย้ง และเป็นประมุขเกาะดอกท้อ บิดาของอึ้งย้ง(ยงยี้) หรือ พ่อตาของก๊วยเจ๋ง วรยุทธที่เด่นชัด ฝ่ามือเทพกระบี่สยบผู้กล้า เพลงกระบี่ขลุ่ยหยกมังกรทะยาน ฝ่ามือปัดจุดกล้วยไม้ เพลงเตะพายุรวบใบไม้ และ ยอดวิชานิ้วดีด
  • อั้งฉิกกง (ยาจกอุดร หรือปักข่าย- บางฉบับใช้ ขอทานเหนือ หรือ ยาจกเก้านิ้ว) ประมุขพรรคกระยาจก วรยุทธที่เด่นชัด เพลงไม้เท้าตีสุนัข(เป็นวรยุทธที่สืบทอดเฉพาะประมุขพรรคกระยาจก) และ 18ฝ่ามือพิชิตมังกร
  • อิดเต็งไต้ซือ (ราชันย์ทักษิณ หรือน่ำเต้- บางฉบับใช้อ๋องแดนใต้,ราชันย์ต้วน) เป็นอดีตจักรพรรดิแซ่ต้วนแห่งไต้ลี้ หรือ ต้าหลี่ วรยุทธที่เด่นชัด ดัชนีเอกสุริยันต์
  • อาวเอี๊ยงฮง (พิษประจิม หรือไซตั๊ก) จ้าวแห่งการใช้พิษ ผู้อยู่เหนือพิษทั้งปวง วรยุทธที่เด่นชัด เพลงไม้เท้าอสรพิษ กระบวนท่าลมปราณคางคกพิษ

สำนักช้วนจินก่า

นักพรตทั้ง 7 แห่งนิกายช้วนจินก่า ซึ่งเป็นศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดฝีมือจากเฮ้งเต็งเอี้ยง คือ

  • เบ้เง็ก ฉายา ตั้งเอี้ยงจื้อ - เจ้าสุริยัน ศิษย์คนที่ 1 ของเฮ้งเต็งเอี้ยง และเป็นเจ้าสำนักต่อจากเฮ้งเต็งเอี้ยง
  • คูชู่กี ฉายา เชี่ยงชุนจื้อ - ผู้อมตะ มีพลังฝีมือสูงสุดในบรรดานักพรตทั้ง 7 คน
  • เฮ้งชู่อิด ฉายา เง็กเอี้ยงจื้อ - อาทิตย์หยก มีฝีมือสูงส่งในสำนักป็นรองเพียงคูชู่กี
  • ซุนปุกยี่ ฉายา เช็งเจ็งซั่วยิ้น - ผู้วิสุทธิ์พเนจร นักพรตหญิงแห่งชวนจิน

เจ็ดประหลาดแห่งกังหนำ

ประกอบด้วย

  • ค้างคาวเหิน กัวเต็งอัก (Ke Zhen'e) เป็นคนเข้มงวดแต่จริงใจ มีวรยุทธสูงสุดในเจ็ดประหลาดกังหนำ ภายหลังตาบอด วิชาที่ใช้ไม้เท้าวชิระ
  • บัณฑิตมือวิเศษ จูชง (Zhu Cong) มีปัญญาล้ำเลิศในระดับหนึ่ง และมีความสามารถในการฉกขโมยของ
  • เทพอาชา หันปอกือ (Han Baoju) มีความสามารถในการดูม้า และ วิธีการสยบม้าและการใช้ห่วงคล้องม้า
  • อรหันต์ยิ้ม เตียวอาแซ (Zhang Ahsheng) เป็นคนร่าเริ่ง ใจดี มีวรยุทธอยู่ในระดับหนึ่ง
  • นักกระบี่หญิงแคว้นอ้วก หันเสียวย้ง (Han Xiaoying) เป็นจอมยุทธสาวคนเดียวใน 7 ประหลาดกังหนำ เก่งเรื่องการใช้กระบี่ และยังเป็นสาวงามอีกด้วย วิชาที่ใช้เพลงกระบี่แคว้นอ้วก

นิกายเม้งก่า

นิกายเม้งก่า (พรรคจรัสหรือพรรครุ่งเรือง) - โดยมาจากศาสนาโซโรอัสเตอร์ของเปอร์เซีย (ประเทศอิหร่านปัจจุบัน) บูชาเทพอัคคี

จากการเกิดการแก่งแย่งในนิกายเพื่อค้นหาผู้นำทำให้นิกายเกือบล่มสลาย หลังจากนั้นไม่นาน บ่อกี๋ได้รับมาเป็นประมุข นิกายจึงเจริญขึ้นและยิ่งใหญ่ในยุทธภพ ภายในนิกายบังคับบัญชาในระบบอาวุโส คือ ประมุข ทูตซ้าย-ขวา สี่ผู้คุมกฎ ได้แก่ มังกรเสื้อม่วง อินทรีคิ้วขาว ราชสีห์ขนทอง ค้างคาวปีกเขียว รองลงมาก็คือ ห้าพเนจร

ในด้านกำลังพล มีห้ากองธง และมี “จูหยวนจาง (จูหงวนจัง)” เป็นผู้กุมกำลังพล ภายหลังคนผู้นี้ ได้ทรยศบ่อกี๋ และนำกำลังของนิกายขับไล่มองโกลออกไปจากต้าซ้องได้สำเร็จ แล้วสถาปนาตนเองเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง ซึ่งชื่อราชวงศ์ก็มาจากชื่อของนิกายเม้งก่านั่น

ใกล้เคียง

มังกรหยก มังกรหยก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2526) มังกรหยก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537) มังกรหยก ภาค 2 ตอน ตำนานศึกเทพอินทรี มังกรหยก ตอน กำเนิดเอี้ยก้วย (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2526) มังกรหยก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2519) มังกรหยก ตอน ศึกเทพอภินิหารเจ้าอินทรีย์ มังกรหยก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2560) มังกรหยก ตอน กำเนิดเอี้ยก้วย (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2538) มังกรหยก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2546)