พัฒนาการ ของ มังโยงานะ

ฮิรางานะและมังโยงานะแม่แบบคาตากานะและมังโยงานะแม่แบบ

อักษรคันจิในระบบมังโยงานะ ต่อมาได้พัฒนาไปเป็นอักษรฮิรางานะและคาตากานะ

อักษรฮิรางานะดัดแปลงมาจากอักษรมังโยงานะที่เขียนด้วยพู่กันในรูปแบบอักษรหวัด วัตถุประสงค์เดิมของอักษรฮิรางานะ คือ เพื่อให้สตรีซึ่งสังคมไม่ยอมได้ให้รับการศึกษาสูง ได้อ่านออกเขียนได้ วรรณกรรมในยุคเฮอังส่วนใหญ่ที่ผู้แต่งเป็นสตรีถูกเขียนด้วยอักษรฮิรางานะ

ส่วนอักษรคาตากานะก็ดัดแปลงมาจากอักษรมังโยงานะเช่นกัน แต่ตัดเฉพาะบางส่วนของอักษรมังโยงานะมาเป็นอักษรคาตากานะหนึ่งตัว อักษรคาตากานะกำเนิดในสำนักสงฆ์ยุคเฮอัง ใช้เสมือนการย่ออักษรมังโยงานะเพื่อให้ง่ายต่อพระสงฆ์ในการศึกษาพระคัมภีร์

ตัวอย่างเช่น เสียง ru เขียนเป็นอักษรฮิรางานะว่า る ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมังโยงานะ 留 แต่เขียนเป็นอักษรคาตากานะว่า ル ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมังโยงานะ 流 โดยอักษรมังโยงานะใช้เขียนแทนเสียง ru ทั้งคู่

การที่เสียงภาษาญี่ปุ่นหนึ่งพยางค์สามารถเขียนด้วยอักษรคันจิหลายตัวนั้น ทำให้เกิดอักษรเฮ็นไตงานะ (ญี่ปุ่น: 変体仮名 โรมาจิhentaigana) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของอักษรฮิรางานะขึ้นมา แต่ได้ถูกเลิกใช้อย่างเป็นทางการไปใน พ.ศ. 2443

ปัจจุบัน อักษรมังโยงานะยังคงปรากฏอยู่ในชื่อสถานที่ต่าง ๆ ของญี่ปุ่น โดยเฉพาะบนเกาะคีวชู การใช้อักษรคันจิอีกประเภทที่มีลักษณะคล้ายกับมังโยงานะคืออาเตจิ (当て字, 宛字 ateji) ซึ่งเป็นการเขียนคำยืมจากภาษาต่างประเทศ โดยใช้แทนเสียงมากกว่าความหมาย ตัวอย่างเช่น 倶楽部 (kurabu คลับ) และ 珈琲 (kōhii กาแฟ) เป็นต้น ปัจจุบันนี้ยังคงมีใช้กันอยู่ในป้ายร้านค้า