หลักการเขียน ของ มังโยงานะ

มังโยงานะจะใช้หลักการนำตัวอักษรจีนที่มีเสียงใกล้เคียงเสียงภาษาญี่ปุ่นของคำที่จะเขียน โดยไม่คำนึงถึงความหมายของอักษรจีนตัวนั้น หรือเรียกว่า "ชากูอง" (ญี่ปุ่น: 借音 โรมาจิshakuon ทับศัพท์ยืมเสียง) เนื่องจากมีอักษรจีนหลายตัวที่อ่านออกเสียงเหมือนกัน การเลือกว่าจะใช้อักษรจีนตัวใดสำนวนภาษาของผู้เขียน เห็นได้จากหนังสือ “มันโยชู” บทที่ 17/4025 ซึ่งเขียนไว้ดังนี้

มังโยงานะ之乎路可良多太古要久礼婆波久比能海安佐奈藝思多理船梶母我毛
คาตากานะシヲヂカラタダコエクレバハクヒノウミアサナギシタリフネカヂモガモ
แบบปัจจุบัน志雄路からただ越え来れば羽咋の海朝凪したり船梶もがも
โรมาจิShioji karaTadakoe kurebaHakuhi no umiAsanagi shitariFunekaji mogamo

จากตัวอย่างด้านบน เสียง mo (母, 毛) และ shi (之, 思) เขียนด้วยอักษรจีนได้หลายตัว และในขณะที่คำส่วนมากเขียนโดยถอดเสียงเป็นพยางค์ ๆ โดยไม่คำนึงถึงความหมาย (เช่น 多太 tada และ 安佐 asa เป็นต้น) แต่คำว่า umi (海) และ funekaji (船梶) เป็นการเขียนโดยใช้ความหมายของอักษรจีนตัวนั้น ไม่ใช้การถอดเสียง

เสียงภาษาญี่ปุ่นบางพยางค์จะถูกแทนด้วยอักษรจีนที่กำหนดเอาไว้เป็นกฎการสะกดคำ (orthographic) ในยุคนาระ ที่เรียกว่า "โจไดโตกูชูกานาซูไก" (ญี่ปุ่น: 上代特殊仮名遣 โรมาจิJōdai Tokushu Kanazukai) ซึ่งช่วยให้ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ภาษาสรุปได้ว่า เสียงในภาษาญี่ปุ่นยุคเก่าซึ่งแทนด้วยอักษรมังโยงานะนั้น อาจเริ่มมีมาตรฐานตั้งแต่ในครั้งนั้นเป็นต้นมา