ที่มาของชื่อบท ของ มัตสึกาเซะ

มัตสึคะเซะ คือ เสียงลมที่พัดผ่านทิวสน ชื่อ มัตสึคะเสะ ของบทนี้ เกี่ยวข้องกับบท อะคะชิ ซึ่งคฤหาสน์ของอะคะชิโนะคิมิ ตั้งอยู่บนเนินที่แวดล้อมไปด้วยทิวสน ยามนางบรรเลงสังคีตก็ผสานเสียงลมแผ่วผิวทิวสน ต่อมาเก็นจิย้ายนางไปพำนักที่คฤหาสน์ริมแม่น้ำโออิ ใกล้กับเมืองหลวง ซึ่งเขาสร้างจำลองให้เหมือนคฤหาสน์บนเนินเขาที่อะคะชิของนาง คือแวดล้อมไปด้วยทิวสน ด้วยเหตุว่ามีภารกิจมากมาย เก็นจิจึงปลีกตัวไปพบนางได้ยาก ยามอะคะชิโนะคิมิเศร้าใจ ก็หยิบคินโนะโกะโตะ (โกะโตะจีนมี 7 สาย) ที่เก็นจิทิ้งไว้ ออกมาบรรเลงเพลงผสานเสียงลมแผ่วผิวทิวสน มารดาของนางซึ่งขณะนี้บวชเป็นชี จึงรำพึงออกมากเป็นกลอนว่า


「身を変へて一人 帰れる山里に  聞きしに似たる松風ぞ吹く」[1]


"Mi wo kae te hitori kaere ru yama-zato ni Kiki shi ni ni taru matsu-kaze zo fuku"

มิ โวะ คะเอะเตะ ฮิโตะริ คะเอะรุ ยะมะซะโตะ นิคิคิ ชิ นิ นิตะรุ มัตสึคะเสะ โซะ ฟุขุ


หวนคืนกลับถิ่นฐานบ้านบนเขา เพียงตัวเราภิกษุณานิจจาเอ๋ย จำนรรเสียงลมแผ่วผิวทิวสนรำเพย วันวารเคยสดับเพราะเสนาะกรรณ