ชีวิตหลังสงครามและอาชีพ ของ มันเฟรท_ร็อมเมิล

ในปี ค.ศ. 1947 เขาได้รับอบีทัวร์ขณะศึกษาอยู่ที่บีเบอรัคอันแดร์ริส และไปศึกษากฎหมายที่มหาวิทยาลัยทือบิงเงิน เขาแต่งงานกับลีเซอล็อทเทอในปี ค.ศ. 1954 และมีลูกสาวชื่อคาเทอรีเนอ[4] หลังจากยุติการทำงานในฐานะนักกฎหมาย ในปี ค.ศ. 1956 ร็อมเมิลเข้าข้าราชการพลเรือนและต่อมาได้กลายเป็นเลขานุการของรัฐในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค

ในปี ค.ศ. 1974 ร็อมเมิลสืบตำแหน่งต่อจากอาร์นุล์ฟ เคล็ท ในฐานะโอเบอร์เบือร์เกอร์ไมส์เทอร์ (เทียบเท่ากับนายกเทศมนตรี) ของชตุทการ์ทโดยชนะ 58.5 เปอร์เซนต์ของคะแนนเสียงในรอบที่สองของการเลือกตั้ง ซึ่งเอาชนะเพเทอร์ ค็อนราดี จากพรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนี เขาได้รับการเลือกตั้งใหม่หลังจากรอบแรกของการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1982 โดยมีคะแนนเสียงถึง 69.8 เปอร์เซนต์ และในปี 2533 มีคะแนนเสียงถึง 71.7 เปอร์เซนต์ของการลงคะแนนเสียง ในฐานะนายกเทศมนตรีเมืองชตุทการ์ท เขายังเป็นที่รู้จักสำหรับความพยายามของเขาที่จะให้กลุ่มกองทัพแดงเยอรมันผู้ก่อการร้ายผู้ที่ได้ฆ่าตัวตายที่เรือนจำชตัมไฮม์-ชตุทการ์ทได้รับการฝังศพที่เหมาะสม แม้จะมีความกังวลว่าหลุมฝังศพจะกลายเป็นจุดเดินทางของพวกการเมืองฝ่ายซ้ายหัวรุนแรง[5][6]

ระหว่างการเป็นโอเบอร์เบือร์เกอร์ไมส์เทอร์เมืองชตุทการ์ท ร็อมเมิลเริ่มต้นมิตรภาพที่ได้รับการเผยแพร่อย่างแพร่หลายกับพลตรีกองทัพบกสหรัฐจอร์จ แพ็ทตันที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรชายของนายพลจอร์จ เอส. แพตตัน ผู้เป็นศัตรูของพ่อเขาในสงครามโลกครั้งที่สองที่ได้รับมอบหมายให้อยู่ในสำนักงานใหญ่กองพลที่เจ็ดใกล้เมือง[7][8] นอกจากนี้ เขายังเป็นเพื่อนกับเดวิด มอนต์โกเมอรี ไวเคานต์มอนต์โกเมอรีแห่งอลามีนที่ 2 ผู้เป็นบุตรชายของจอมพลเบอร์นาร์ด ลอว์ มอนต์โกเมอรี ผู้เป็นศัตรูที่ยิ่งใหญ่อีกรายของพ่อเขา มิตรภาพดังกล่าวได้รับการมองว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการคืนดีของอังกฤษและเยอรมันหลังจากสงคราม และการเข้าสู่นาโตของเยอรมนีตะวันตก[9]

ในการเฉลิมฉลองปี ค.ศ. 1996 ที่โรงละครรัฐเวือร์ทเทิมแบร์ค มันเฟรท ร็อมเมิล ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี อันเป็นเกียรติยศแด่พลเมืองชาวเยอรมันระดับสูงสุด ในการกล่าวสุนทรพจน์ เฮ็ลมูท โคล ได้เน้นความสำคัญต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับเยอรมนีในระหว่างการดำรงตำแหน่งของร็อมเมิล ในฐานะการเป็นโอเบอร์เบือร์เกอร์ไมส์เทอร์เมืองชตุทการ์ท ไม่กี่วันหลังมอบเกียรติยศนี้แด่ร็อมเมิล เมืองชตุทการ์ทได้มอบรางวัลพลเมืองกิตติมศักดิ์แก่เขา[10] นอกจากนี้เขายังเสี่ยงต่อการเป็นที่นิยมของเขา เมื่อเขายืนหยัดในการปฏิบัติต่อผู้อพยพชาวต่างชาติอย่างเป็นธรรม ที่ได้รับการชักจูงสู่ชตุทการ์ท โดยเศรษฐกิจที่เฟื่องฟูของเมือง[11] ในฐานะนายกเทศมนตรี ร็อมเมิลยังทำ "การควบคุมการเงินของเมืองที่เข้มงวด, การลดหนี้และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนและระบบขนส่งสาธารณะ [ขณะทำงาน]...เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมัน"[11] การเมืองของร็อมเมิลได้รับการอธิบายว่าใจกว้างและเสรีนิยม[12]

แหล่งที่มา

WikiPedia: มันเฟรท_ร็อมเมิล http://findarticles.com/p/articles/mi_m0425/is_1_6... http://www.badische-zeitung.de/suedwest-1/die-vaet... http://www.germnews.de/archive/dn/1996/12/17.html http://idw-online.de:8008/pages/en/news?id=84581 http://www.stern.de/lifestyle/leute/was-macht-eige... http://www.tagesspiegel.de/politik/deutschland/man... http://www.zeit.de/1987/43/tage-des-zorns-tage-der... http://alumni.georgetown.edu/career/career_138.htm... http://www.dailymail.co.uk/news/article-2254904/Le... https://books.google.com/books?id=p4ootbf49WsC&pri...