ประวัติ ของ มันไซ

พบหลักฐานการแสดงมันไซเป็นครั้งแรกในเทศกาลตรุษญี่ปุ่นช่วงยุคเฮอัง[7] ผู้แสดงมันไซสองคนที่ตอบโต้กันด้วยคำพูดที่มาจากเหล่าเทพ โดยผู้แสดงคนหนึ่งมีท่าที่หรือแสดงปฏิกิริยาตรงกันข้ามกับอีกฝ่ายหนึ่ง รูปแบบนี้ยังคงมีให้เห็นอยู่จวบจนถึงปัจจุบันในบทบาทของคนใสซื่อ (โบเกะ) และ คนขัดจังหวะ (สึกโกมิ)

ภาพพิมพ์แสดงนักแสดงมันไซสองคนในฉากปีใหม่ (ราว 1825)

ต่อมาในยุคเอโดะ การให้ความสำคัญกับอารมณ์ขันได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ภูมิภาคต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่นได้ออกแบบวิธีการแสดงมันไซที่แตกต่างกันไป เช่น โอวาริ มันไซ (ญี่ปุ่น: 尾張万歳; โรมาจิ: Owari Manzai) มิกาวะ มันไซ (ญี่ปุ่น: 三河万歳; โรมาจิ: Mikawa Manzai) และ ยาโมโตะ มันไซ (ญี่ปุ่น: 大和万歳) การมาถึงของยุคเมจิ ทำให้เกิด โอซากะ มันไซ (ญี่ปุ่น: 大阪万才; โรมาจิ: Ōsaka Manzai) ที่ได้เริ่มสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าในเชิงความนิยมเมื่อเทียบกับมันไซในยุคก่อน ๆ ซึ่งถึงแม้จะเป็นเช่นนั้น รากูโกะ ยังคงเป็นที่นิยมเสียมากกว่า[ต้องการอ้างอิง]

หลังสิ้นสุดยุคไทโช ในปี 1912 บริษัทโยชิโมโตะ โคเกียว ที่ก่อตั้งในช่วงต้น ๆ ของยุคได้คิดค้นมันไซที่ไม่มีการแสดงในเชิงเฉลิมฉลองเหมือนมันไซสมัยก่อน โดยมันไซรูปแบบใหม่ได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากและความนิยมก็ได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศญี่ปุ่น รวมถึงโตเกียวด้วยเช่นกัน และประกอบกับคลื่นเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ มันไซยังถูกแสดงบนเวทีโรงละคร วิทยุ โทรทัศน์ และวิดีโอเกม[8][9][10][11][12]

แหล่งที่มา

WikiPedia: มันไซ http://www.csse.monash.edu.au/~jwb/cgi-bin/wwwjdic... http://japanese.about.com/library/blhiraculture31.... http://www.japanfortheuninvited.com/articles/manza... http://kotaku.com/5846764/ni-no-kunis-funny-bone-h... http://www.japantimes.co.jp/culture/2015/07/17/ent... http://www.japantimes.co.jp/text/ft20120525r1.html http://www.city.chita.lg.jp/citypromotion/ https://hajl.athuman.com/karuta/traditionalculture... https://media.netflix.com/en/press-releases/hibana... https://www.netflix.com/tudum/articles/asakusa-kid...