ความเป็นมา ของ มาตรการบังคับทางอาญา

มาตรการบังคับทางอาญาเป็นวิธีการหนึ่งที่สังคมใช้ตอบโต้ผู้ล่วงละเมิดกฎระเบียบของสังคม และเป็นสิ่งจำเป็นมาแต่โบร่ำโบราณนับจากการกำเนิดสังคมทีเดียว ที่มีการเรียนรู้กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อกันในสังคมผ่านการตกรางวัลและการลงโทษ[1]

เดิมมาตรการบังคับทางอาญาในสังคมคงกระทำในระดับครอบครัว หมู่บ้าน ชุมชน เป็นแรกเริ่มตามลำดับ เช่น ผู้ใหญ่ว่ากล่าวตักเตือนหรือลงโทษผู้น้อย เพื่อนบ้านรวมตัวกันอัปเปหิ เป็นต้น กระทั่งสังคมขยายตัวและมีความซับซ้อนขึ้น การใช้มาตรการบังคับทางอาญาจึงไม่อาจกระทำได้ด้วยปัจเจกบุคคลเพื่อการแก้แค้นเช่นสมัยเดิม และเพื่อความเป็นทำแก่ผู้ถูกกล่าวหา เกิดเป็นระบบที่ผู้ปกครองหรือรัฐจะยื่นมือเข้ามาดำเนินการนี้โดยเหมาะสมกับความผิดที่เกิดขึ้น[2]

มาตรการบังคับทางอาญาจึงได้ชื่อว่าเป็นกฎเกณฑ์อย่างหนึ่งของสังคมที่มีมาแต่โบราณจวบจนปัจจุบัน

ใกล้เคียง

มาตรการรับมือการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่เกี่ยวข้องกับสุกร มาตรการรัดเข็มขัดในประเทศโรมาเนีย คริสต์ทศวรรษ 1980 มาตรการบังคับทางอาญา มาตรการรัดเข็มขัด มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ มาตรการบังคับใช้สิทธิ มาตรการป้องกันโรค มาติกา อรรถกรศิริโพธิ์ มาตราพายุหมุนเขตร้อน มาตรวิทยา