มานุษยดนตรีวิทยา

มานุษยดนตรีวิทยา (อังกฤษ: Ethnomusicology) เป็นศัพท์บัญญัติขึ้นในปี ค.ศ.1950 (พ.ศ. 2493) โดย Jaap Kunst ซึ่งนำคำนี้มาใช้แทนคำว่า Comparative Music (ดนตรีเปรียบเทียบ) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาดนตรี และมีนิยามว่า "การศึกษาการณ์ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของดนตรีและการเต้นรำในบริบทท้องถิ่นและบริบทสากล"[1] หรือที่เจฟฟ์ ทอดด์ ติตอนกล่าวว่าเป็น "การศึกษาผู้สร้างดนตรี"[2]มนุษยดนตรีวิทยาเป็นการศึกษาดนตรีพื้นเมือง ศิลปะดนตรีตะวันออก และดนตรีร่วมสมัยในวิธีการสืบทอดแบบมุขปาฐะ (Oral Tradition) โดยมีประเด็นในการศึกษา อาทิเช่น รากฐานการก่อเกิดดนตรี การพัฒนาและความเปลี่ยนแปลงทางดนตรี สัญลักษณ์และลักษณะดนตรี เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับดนตรีโดยรอบ (บริบท) บทบาทของหน้าที่ของดนตรีต่อสังคม โครงสร้างของดนตรี วิถีการดำรงอยู่ของดนตรี และดนตรีที่เกี่ยวข้องกับการเต้นรำ รวมถึงศิลปะดนตรีประจำท้องถิ่นหรือดนตรีพื้นเมือง (Folk Song) ของตะวันตกด้วยนักมานุษยดนตรีวิทยาจะมุ่งเน้นในการศึกษาดนตรีที่ยังคงอยู่ (Living Music) ของวัฒนธรรมที่ใช้การถ่ายทอดด้วยปากเปล่า ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร มุ่งศึกษาดนตรีของผู้ไม่รู้หนังสือ ดนตรีของชนกลุ่มน้อย ดนตรีที่ถ่ายทอดด้วยปากเปล่าของชาติที่มีวัฒนธรรมอันเก่าแก่ในซีกโลกตะวันออกและดนตรีพื้นเมือง ใช้การรวบรวมข้อมูลในแง่พฤติกรรมของมนุษย์เพื่ออธิบายว่า มนุษย์เล่นดนตรีเพื่ออะไร อย่างไร และวิเคราะห์บทบาทของดนตรีกับพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมนั้น ๆ ดำเนินการศึกษาโดยการลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูลและการบันทึกดนตรีที่พบเพื่อนำมาจดบันทึก วิเคราะห์ และเก็บเป็นหลักฐานการจดบันทึกดังกล่าวทำได้ 2 วิธี คือการวิเคราะห์ดนตรีทำได้ 2 แบบ คือ

ใกล้เคียง

มานุษยรูปนิยม มานุษยวิทยา มานุษยรูปนิยมแบบโมเอะ มานุษยวิทยาศาสนา มานุษยวิทยาสังคม มานุษยวิทยาเมือง มานุษยวิทยาวัฒนธรรม มานุษยดนตรีวิทยา มานุษยวิทยาการแพทย์ มานุษยวิทยากายภาพ