สาขาวิชาหลักที่ศึกษา ของ มานุษยวิทยาเมือง

ในการศึกษามานุษยวิทยาเมืองนั้นประกอบด้วยสองแนวทางหลักคือ โดยการศึกษาชนิดของเมือง หรือโดยการศึกษาปัญหาสังคมในเมือง ซึ่งทั้งเป็นเอกเทศและเหลื่อมซ้อนกันในตัวของมันเอง ในการนิยามเมืองชนิดต่าง ๆ นั้น ก็ควรนำปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมืองมาประกอบ และในการศึกษาปัญหาสังคมที่แตกต่างกันนั้นก็ควรจะศึกษาจากมุมมองที่ว่ามันส่งผลกระทบต่อมิติต่าง ๆ ของเมืองอย่างไร[23]

สี่การเข้าถึง (approaches) หลักกลางของการศึกษาเมืองในเชิงมานุษยวิทยา ประกอบด้วย หนึ่งโมเดลระบบนิเวศเมือง (urban ecology model) ที่ซึ่งมีชุมชนและเครือข่ายครอบครัวเป็นศูนย์กลาง สองคืออำนาจและความรู้ เจาะจงไปที่เมืองนั้นถูกวางแผนขึ้นมาอย่างไร สามคือการศึกษาท้องถิ่น (local) และยิ่งกว่าท้องถิ่น (supralocal) รสมถึงความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองหน่วยของเมือง สี่คือการพุ่งเป้าที่เศรษฐศาสตร์การเมือง (political economy) เป็นศูนย์กลางของสาธารณูปโภคเมือง เซธา โลว์ (Setha Low) ได้ใช้การศึกษาสำคัญหลายชิ้นจากมานุษยวิทยาเมืองเพื่อสร้างรายชื่อของชนิดต่าง ๆ ของเมือง โดยที่เมืองหนึ่งอาจไม่ได้อยู่ในหมวดหมู่เดียว และปัจจัยที่ทำให้เมืองนั้นเป็นปัจเจกของตน (individualise factor) ชนิดต่าง ๆ ของเมืองนั้นรวมถึงที่เน้นไปที่ศาสนา, เศรษฐกิจ และกระบวนการทางสังคม เช่น เมืองศาสนา (religious city) คือสิ่งที่โลว์เรียกว่าเป็น "เมืองศักดิ์สิทธิ์" (“sacred city”) คือเมืองที่มีศาสนาเป็นศูนย์กลางของกระบวนการการใช้ชีวิตประจำวันของเมือง[24] เมืองเศรษฐกิจ (economic centered city) คือภาพของเมืองที่เลิกอุตสาหกรรมแล้ว (“Deindustrialised city”)[25] เป็นต้น

ใกล้เคียง

มานุษยรูปนิยม มานุษยวิทยา มานุษยรูปนิยมแบบโมเอะ มานุษยวิทยาศาสนา มานุษยวิทยาวัฒนธรรม มานุษยวิทยาสังคม มานุษยวิทยาเมือง มานุษยดนตรีวิทยา มานุษยวิทยาการแพทย์ มานุษยวิทยาสื่อ