ประวัติ ของ มารีแห่งบูร์กอญ

ทายาทแห่งบูร์กอญ

มารีแห่งบูร์กอญเกิดในปราสาทดยุกแห่งคูดองแบร์กที่บรัสเซลส์ นักบันทึกประวัติศาสตร์ฌอร์ฌ ชาสเตลแลงบันทึกว่าการกำเนิดของมารีตามด้วยเสียงฟ้าผ่าสามครั้งทั้งที่ท้องฟ้าปรอดโปร่ง พ่อทูลหัวของมารีคือโดแฟงหลุยส์แห่งฝรั่งเศสผู้ขณะนั้นเสด็จมาลี้ภัยอยู่ในบูร์กอญ พระองค์พระราชทานนามตามชื่อของพระชนนีของพระองค์--มารีแห่งอองชู ปฏิกิริยาต่อการกำเนิดของมารีทั้งดีและไม่ดี ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งบูร์กอญญผู้เป็นปู่ไม่ยินดียินร้ายเท่าใดนักและไม่เข้าร่วมในพิธีรับศีลจุ่มเพราะเป็นเพียงพิธีสำหรับเด็กผู้หญิง แต่ภรรยา อิสซาเบลลาแห่งบูร์กอญดีใจที่ได้หลาน[1]

เพราะเป็นบุตรีคนเดียวของชาร์ล ดยุกแห่งบูร์กอญ มารีจึงเป็นทายาทของดินแดนอันมหาศาลและมั่งคั่งที่ปประกอบด้วยดัชชีแห่งบูร์กอญ, อาณาจักรเคานท์แห่งบูร์กอญ และส่วนใหญ่ของบริเวณกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ ซึ่งทำให้กลายเป็นที่หมายปองจากเจ้าผู้ครองนครหลายคน คำเสนอครั้งแรกที่ชาร์ลผู้อาจหาญได้รับเมื่อมารียังคงมีอายุได้เพียงห้าขวบ เพื่อสมรสกับผู้ที่ต่อมาเป็นพระเจ้าเฟรนานโดที่ 2 แห่งอารากอน ที่ตามมาก็มีพระอนุชาองค์รองของพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่งเศส ชาร์ลส์แห่งวาลัวส์ ดยุกแห่งแบร์รีผู้ทรงพยายามแม้ว่าจะไม่ที่พึงพอใจต่อพระเชษฐาผู้ที่ทรงพยายามยับยั้งการออกประกาศของพระสันตะปาปาเพราะจะเป็นการเสกสมรสระหว่างญาติพี่น้องที่ใกล้ชิดกัน

ตราอาร์มของมารีแห่งบูร์กอญ

ทันทีที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 11 มีพระราชโอรสผู้ต่อมาเป็นพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 พระองค์ก็มีพระราชประสงค์ที่จัดให้เสกสมรสกับมารี แม้ว่าชาร์ลส์จะมีพระชันษาอ่อนกว่ามารีถึงสิบสามปี นิโคลาส์ที่ 1 ดยุกแห่งลอร์แรนผู้มีอายุแก่กว่ามารีสองสามปีมีดินแดนที่มีพรมแดนติดกันกับดินแดนบูร์กอญ แต่แผนที่จะรวมสองอาณาจักรมาสิ้นสุดลงเมื่อนิโคลาส์มาเสียชีวิตในยุทธการในปี ค.ศ. 1473

เมื่อชาร์ล ดยุกแห่งบูร์กอญเสียชีวิตในสนามรบในการล้อมนองซีเมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1477 มารีเพิ่งมีอายุได้สิบเก้าปี พระเจ้าหลุยส์ที่ 11 ทรงฉวยโอกาสจากการเสียชีวิตของคู่แข่งในการพยายามยึดครองแคว้นบูร์กอญ และฟร็องช์-กงเต, พิคาร์ดี และ อาร์ทัวส์ พระเจ้าหลุยส์ทรงวิตกกังวลที่จะผูกมัดมารีกับโดแฟงชาร์ลส์ เพื่อที่จะได้ดินแดนในกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำมาเป็นของฝรั่งเศส แม้ว่าอาจจะต้องมีการบังคับกัน มารีด้วยคำแนะนำของมาร์กาเร็ตมีความไม่ไว้วางใจพระเจ้าหลุยส์จึงปฏิเสธคำขอจากฝรั่งเศส และหันไปพึ่งเนเธอร์แลนด์ให้ช่วย

มหาอภิสิทธิ์

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1477 มารีเดินทางไปยังเกนต์เพื่อทำการเข้าเมืองอย่างเป็นทางการ (Joyous Entry) เนื่องในโอกาสรับรองฐานะในการเป็นทายาทของชาร์ลโดยการลงนามในกฎบัตรอภิสิทธิ์ (charter of rights) ที่เรียกว่า “มหาอภิสิทธิ์” (Great Privilege) ภายใต้ข้อตกลงนี้จังหวัดและเมืองต่างๆ ของฟลานเดอร์, บราบองต์, เอโนต์ และ ฮอลแลนด์ได้รับสิทธิต่างๆ คืนมาหลังจากที่ถูกยุบเลิกไปตามประกาศของดยุกแห่งบูร์กอญในการพยายามที่จะสร้างรัฐร่วมรัฐเดียวที่ปกครองจากศูนย์กลางตามแบบฝรั่งเศสจากรัฐเดิมหลายรัฐที่เป็นอิสระต่อกันในบริเวณกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ โดยเฉพาะรัฐสภาแห่งเมเชเลนที่ก่อตั้งโดยชาร์ลผู้อาจหาญในปี ค.ศ. 1470 ถูกยุบเลิกและแทนที่ด้วยรัฐสภาแห่งปารีสที่มีอยู่เดิม ซึ่งเป็นการสร้างดุลยภาพของการปกครองจากศูนย์กลางที่คืบเข้ามาโดยทั้งชาร์ลและฟิลิปที่ 3 มารีต้องตกลงที่จะไม่ประกาศสงคราม, สร้างสันติ หรือขึ้นภาษีโดยไม่ได้รับการยินยอมจากรัฐต่างๆ และต้องจ้างเฉพาะผู้อยู่ในท้องถิ่นในการทำราชการเท่านั้น

การปกครองโดยคณะรัฐบาลเดิมเป็นที่ชิงชังของประชาชนเป็นอันมาก จนองคมนตรีผู้มีอิทธิพลสองคนของชาร์ล ดยุกแห่งบูร์กอญ องคมนตรีอูโกเนต์ และ อุมแบร์ตคูร์ตถูกประหารชีวิตที่เกนต์เมื่อพบว่าทำการเขียนจดหมายติดต่อกับกษัตริย์ฝรั่งเศส

การสมรส

มารีแห่งบูร์กอญ (ขวา) กับสามีและลูกอนุสรณ์ของมารีแห่งบูร์กอญในMary's tomb effigy in the เชิร์ชออฟเอาเวอร์เลดี้ที่บรูจส์

มารีเลือกอาร์ชดยุกมัคซีมีลีอานแห่งออสเตรีย (หลังจากการเสียชีวิตของมารีมัคซีมีลีอานที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) จากบรรดาผู้หมายปองเป็นสามี การสมรสจัดขึ้นที่เกนต์เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1477 ซึ่งทำให้มารีได้รับบรรดาศักดิ์เป็นอาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรีย และทำให้กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำกลายเป็นของฮับส์บวร์ก ซึ่งทำให้เป็นการเริ่มสร้างความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสและฮับส์บวร์กที่ดำเนินต่อมาอีกสองร้อยปี ที่ต่อมาขยายตัวไปยังสเปน จนกระทั่งในที่สุดก็เป็นชนวนที่ก่อให้เกิดสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน ระหว่าง ค.ศ. 1701 ถึง ค.ศ. 1714.

แต่ในขณะนั้นในเนเธอร์แลนด์สถานการณ์ก็ดูจะราบรื่นอยู่ระยะหนึ่ง ความก้าวร้าวของฝรั่งเศสก็ดูจะยุติลง และสถานการณ์ภายในโดยทั่วไปก็ฟื้นตัวเป็นส่วนใหญ่

การเสียชีวิต

ห้าปีต่อมามารีผู้มีอายุได้เพียง 25 ปีก็มาเสียชีวิตจากการตกจากหลังม้าเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1482 มารีเป็นผู้ที่ชอบขี่ม้าและออกไปล่าสัตว์ด้วยเหยี่ยวกับอาร์ชดยุกมัคซีมีลีอาน ขณะที่ขี่อยู่ม้าก็สะดุดและโยนตัวมารีลงจากหลังและล้มตัวลงมาทับมารีจนคอหัก มารีก็เสียชีวิตสองสามวันหลังจากนั้นหลังจากที่ได้ทำพินัยกรรมอย่างละเอียดแล้ว ร่างของมารีได้รับการบรรจุไว้ที่บรูจส์

ทันทีที่มารีเสียชีวิตพระเจ้าหลุยส์ก็เริ่มขยายอิทธิพลและบังคับให้อาร์ชดยุกมัคซีมีลีอานลงพระนามในLouis was swift to re-engage, and forced Maximilian to agree to the สนธิสัญญาอาร์ราส (ค.ศ. 1482) ที่ระบุให้ฟรองช์-กงเต และ อาร์ทัวส์กลับมาตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสชั่วคราว ก่อนที่จะทำการแลกเปลี่ยนเป็นบูร์กอญและพิคาร์ดีต่อมาในปีต่อมาในสนธิสัญญาซองลีส์ ซึ่งเป็นผลให้เกิดความสงบสุขขึ้นในบริเวณกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ

ในปี ค.ศ. 1493 อาร์ชดยุกมัคซีมีลีอานเสกสมรสเป็นครั้งที่สองกับบิอังคา มาเรีย สฟอร์ซา (5 เมษายน ค.ศ. 1472- 31 ธันวาคม ค.ศ. 1510) บุตรีของยาน กาลีอัซโซ สฟอร์ซาดยุกแห่งมิลาน และ โบนาแห่งซาวอยแต่ไม่มีลูกด้วยกัน

ใกล้เคียง

มารีแห่งบูร์กอญ มารีแห่งฝรั่งเศส เคาน์เตสแห่งช็องปาญ มารีแห่งลักเซมเบิร์ก มารีแห่งมงเปอลีเย มารีแห่งอ็องฌู มารีแห่งกีซ มารี อ็องตัวแน็ต มารี กูว์รี มารีโอ บาโลเตลลี มารีญา พูลเลิศลาภ