มาห์เซียร์
มาห์เซียร์

มาห์เซียร์

มาห์เซียร์ (อังกฤษ: Mahseers), มหาศีร์ (ฮินดี: महाशीर) หรือ มหาสีร์ (ฮินดี: महासीर) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดขนาดใหญ่จำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในสกุล Tor[1], Neolissochilus[2] และ Naziritor[3]โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสกุล Tor[4] ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)มาห์เซียร์เป็นปลาที่กระจายพันธุ์ในเขตร้อนของทวีปเอเชียตั้งแต่มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, เอเชียใต้ จนถึงอิหร่าน ตลอดจนอนุทวีปอินเดีย[5][4]มาห์เซียร์เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ มีรูปร่างคล้ายปลาคาร์ป เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ มักพบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่ใสสะอาด มีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำสูง เช่น ลำธารหรือน้ำตกในป่าดิบชื้น หรือแม่น้ำขนาดใหญ่หลายสาย เช่น แม่น้ำสาละวิน, แม่น้ำเมย[6], แม่น้ำเพชรบุรี เป็นต้น [7]เป็นปลาที่นิยมตกเป็นเกมกีฬา และนิยมรับประทานเนื้อเป็นอาหารในบางชนิด และบางพื้นที่ แต่ขณะที่บางพื้นที่ในประเทศไทยมีความเชื่อว่า เมื่อรับประทานไปแล้วจะมีอาการมึนเมา หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงเชื่อกันว่าเป็นปลาเจ้า แต่ความจริงแล้ว เกิดจากการที่ปลากินผลไม้พิษจำพวกลูกกระเบาหรือลูกลำโพงเข้าไปแล้วสะสมความเป็นพิษไว้ในตัวเหมือนกับกรณีของปลาบ้า เมื่อมีผู้รับประทานไปแล้วจะเกิดมีอาการมึนเมา[8]มาห์เซียร์ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือปลาเวียนทอง ซึ่งมีสถิติบันทึกไว้ว่ายาวได้ถึง 2.75 เมตร (9 ฟุต) และมีน้ำหนักถึง 54 กิโลกรัม (119 ปอนด์) ถือว่าเป็นหนึ่งในปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วย แต่ปัจจุบันนี้ก็หาตัวอย่างปลาที่มีขนาดใกล้เคียงขนาดนี้ได้ยากเต็มที[9] [6]สำหรับมาห์เซียร์ มีชื่อเรียกหลากหลายในภาษาไทย เช่น "ปลาพลวง", "ปลาโพ"[10], "ปลาเพง[11] ", "ปลาจาด"[10] , "ปลาพุง", "ปลายาด" [12], "ปลาคม", "ปลาเวียน", "ปลาเงียน" ในขณะที่ภาษามลายูจะเรียกว่า "อีกันเมเลาะ" หรือ "อีกันกือเลาะ" เป็นต้น[8]