มาเอสตะ
มาเอสตะ

มาเอสตะ

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งมาเอสตะ (อิตาลี: Maestà) แปลว่า “เดชานุภาพ” เป็นลักษณะการเขียนภาพรูปเคารพแม่พระและพระกุมารที่อาจจะมีนักบุญและทูตสวรรค์รวมอยู่ด้วย “มาเอสตะ” เกี่ยวข้องกับ “บัลลังก์แห่งปรีชาญาณ” (Seat of Wisdom) ซึ่งเป็นหัวเรื่องของภาพ “พระมารดาพระเจ้า” (กรีก: Theotokos) ซึ่งเป็นภาพคู่กับพระคริสต์ทรงเดชานุภาพ (Christ in Majesty) ที่มีมาก่อนหน้านั้นซึ่งเป็นภาพพระเยซูบนบัลลังก์ที่นิยมกันในงานโมเสกของสมัยไบเซนไทน์ หรือบางครั้งนักประวัติศาสตร์ศิลปะจะเรียกว่า “พระราชินีมารีย์” (Maria Regina) ที่เป็นพระแม่มารีย์นั่งบนบัลลังก์แต่ไม่มีพระกุมาร[1]ทางตะวันตกงานเขียนประเภทนี้วิวัฒนาการมาจากศิลปะไบแซนไทน์ เช่น ภาพจักรพรรดินีเฟาสตาสวมมงกุฏอุ้มบุตรชายบนพระเพลาบนเหรียญคอนแสตนติน[2] และในงานเขียนเช่นการฉลองการสวมมงกุฏของพระเจ้าจัสตินที่สองในปี ค.ศ. 565.[3] จิตรกรรมมาเอสตาเข้ามาเผยแพร่ในโรมในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13[4] และเน้นความสำคัญของพระแม่มารีมากขึ้น ภาพมาเอสตามักจะเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่วาดบนผนังที่ฉาบด้วยพลาสเตอร์ หรือเป็นจิตรกรรมแผงสำหรับใช้เป็นฉากประดับแท่นบูชา. ถ้าเป็นภาพที่ใช้สักการะเป็นการส่วนตัวภาพก็มักจะลดลงเหลือเพียงแม่พระและพระกุมาร.