ตัวอย่างการนำไปใช้ ของ มีดโกนอ็อกคัม

ตัวอย่างที่ดีที่สุด ในการใช้หลักการของออคแคมคือ การที่นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการเชื่อว่า ทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสนั้น น่าเชื่อถือมากกว่า ทฤษฎีโลกเป็นศูนย์กลางของอริสโตเติลและทอเลมี

ในงานวิจัยด้านการเรียนรู้ของเครื่องในปัจจุบัน ได้นำหลักการของออคแคมมาใช้อย่างกว้างขวาง (ดู (Duda et al., 2001), (Mitchel, 1997) และ (Mackay, 2003)) แต่มักจะเข้าใจผิดว่า ทฤษฎีที่มีคำอธิบายสั้น คือทฤษฎีที่เรียบง่ายกว่า

อนึ่ง หลักการของออคแคมนี้ สามารถคำนวณออกมาในเชิงตัวเลข (หรือในเชิงปริมาณ ซึ่งสามารถสื่อสารกันได้อย่างเที่ยงตรงมากกว่าเชิงคุณภาพ) ได้ด้วยการใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเบย์ ในการอนุมาน (ดู (Mackay, 2003) และ (Jaynes, 2003)) โดยมีหลักการว่าโมเดลที่ซับซ้อนมาก จะมีตัวแปร (ในศัพท์ของทฤษฎีความน่าจะเป็นและสถิติมักเรียก "ตัวแปร" ที่ปรับได้นี้ ว่า "พารามีเตอร์") จำนวนมาก เพื่อให้ปรับค่าได้ยืดหยุ่นมาก ดังนั้นความน่าจะเป็นที่ตัวแปรจำนวนมากนั้น จะปรากฏเป็นค่าที่เข้ากับข้อมูลของเราได้อย่างลงตัวนั้นจึง "น้อย" กว่าโมเดลที่มีตัวแปรน้อย

แหล่งที่มา

WikiPedia: มีดโกนอ็อกคัม http://www.physics.adelaide.edu.au/~dkoks/Faq/Gene... http://www.csse.monash.edu.au/~dld http://www.csse.monash.edu.au/~dld/MML.html http://www.csse.monash.edu.au/~dld/Ockham.html http://www.csse.monash.edu.au/~dld/Publications/20... http://www.csse.monash.edu.au/~lloyd/tildeImages/P... http://www.csse.monash.edu.au/~lloyd/tildeMML/ http://citeseer.nj.nec.com/fox98we.html http://occamssword.com/CORE%20READINGS%20FOR%20OCC... http://rii.ricoh.com/~stork/OccamWorkshop.html