มีร์_จาฟาร์
มีร์_จาฟาร์

มีร์_จาฟาร์

มีร์ จาฟาร์ อาลี คาน บาฮาดูร์ (Mir Jafar Ali Khan Bahadur) เป็นเจ้าประเทศราชแห่งเบงกอลคนแรกภายใต้การสนับสนุนของบริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตน เดิมทีเขาเป็นผู้บัญชาการทหารของแคว้นเบงกอล เขาได้แสร้งทำเป็นจงรักภักดีต่อ นาวับชีราช อุดดอลา ว่าจะนำทัพ 50,000 นายออกรบกับอังกฤษ แต่ลับหลังเขากลับแอบติดต่อกับพันเอกรอเบิร์ต ไคลฟ์ แห่งบริษัทอินเดียตะวันออก โดยพันเอกไคลฟ์รับปากว่า ถ้าเขานำทัพเข้าร่วมกับฝ่ายอังกฤษในยุทธการที่ปลาศีแล้ว อังกฤษจะตั้งเขาเป็นนาวับแห่งเบงกอลคนใหม่[1] ท้ายที่สุด อังกฤษก็ได้รับชัยชนะในยุทธการที่ปลาศี และแต่งตั้งมีร์ จาฟาร์ เป็นนาวับคนใหม่เมื่อจาฟาร์ได้ขึ้นเป็นนาวับคนใหม่ เขาก็เอื้อประโยชน์ให้แก่อังกฤษมากมาย ทั้งยอมจ่ายเงินจำนวน 17.7 ล้านรูปีแก่อังกฤษเป็นค่าปฏิกรรมการโจมตีป้อมกัลกัตตา และยังให้สินบนตอบแทนแก่เจ้าหน้าที่ของบริษัทที่ช่วยให้เขาได้เป็นนาวับ โดยพันเอกไคลฟ์ได้รับเงินกว่าสองล้านรูปี, วิลเลียม วัตต์ หัวหน้าโรงงานบริษัทฯ ได้รับกว่าหนึ่งล้าน[2] การกระทำของจาฟาร์นี้สร้างความขุ่นเคืองให้แก่จักรพรรดิแห่งโมกุลอย่างมาก โดยมองว่าจาฟาร์เป็นคนขายชาติ เมื่อเวลาผ่านไปซักระยะหนึ่ง จาฟาร์ก็ตระหนักว่าบริษัทฯไม่มีวันเลิกตอดเล็กตอดน้อยเอาผลประโยชน์จากเขาแน่ และเขาก็ไม่อยากเป็นเบี้ยล่างของอังกฤษอีกต่อไป จาฟาร์พยายามดึงพวกบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์เข้ามาในเกมการเมืองนี้ อย่างไรก็ตาม แผนของจาฟาร์เป็นอันล่มไปเมื่ออังกฤษมีชัยเหนือเนเธอร์แลนด์ในยุทธการที่จินสุราเมื่อพฤศจิกายน ค.ศ. 1759 ในปีต่อมา อังกฤษได้บีบให้จาฟาร์สละบัลลังก์แก่มีร์ คาซิม ผู้เป็นลูกเขยอย่างไรก็ตาม มีร์ คาซิม ผู้เป็นลูกเขย กลับพยายามนำเบงกอลเป็นอิสระและขัดขวางอิทธิพลของบริษัทฯในเบงกอล ความไม่ลงรอยกับอังกฤษนี้ ทำให้ในปี 1763 คาซิมได้นำกำลังบุกเมืองปัฏนา และสังหารชาวยุโรปมากมาย อังกฤษได้ปลดคาซิมและคืนตำแหน่งให้แก่จาฟาร์ ส่วนคาซิมก็ไปร่วมมือกับแคว้นอวัธและราชสำนักโมกุลในการทำสงครามกับบริษัทฯในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1764 แม้ฝ่ายเบงกอลจะมีกำลังมากถึง 40,000 นาย แต่ก็พ่ายแพ้ให้กับกองทหารของบริษัทที่มีกำลัง 7,000 คน

มีร์_จาฟาร์

ราชวงศ์ นาจาฟี
ก่อนหน้า มีร์ คาซิม
ระหว่าง 25 กรกฎาคม 1763 – 17 มกราคม 1765
สิ้นพระชนม์ 17 มกราคม ค.ศ. 1765 (อายุ 74)
พระนามเต็ม
พระนามเต็ม
มีร์ มุฮัมหมัด จาฟาร์ อาลี คาน บาฮาดูร์
ถัดไป นาจิมอุดดีน อาลี คาน
ประสูติ ค.ศ. 1691
ศาสนา อิสลาม