ยุทธการที่ปลาศี
ยุทธการที่ปลาศี

ยุทธการที่ปลาศี

 ฝรั่งเศส Monsieur Sinfray
ฝรั่งเศส:
ทหารปืนใหญ่ 50 นาย
ปืนครก 6 กระบอกยุทธการที่ปลาศี (อังกฤษ: Battle of Plassey) เป็นการต่อสู้ระหว่างบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษกับแคว้นเบงกอลของจักรวรรดิโมกุลที่มีฝรั่งเศสหนุนหลัง[1] การต่อสู้เกิดขึ้นในภาคเบงกอลซึ่งอยู่ทางตะวันออกของอินเดียในวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1757 ซึ่งกองทัพของบริษัทได้รับชัยชนะอย่างขาดลอยเหนือกองทัพโมกุล เป็นผลให้จักรวรรดิโมกุลต้องเสียดินแดนในเบงกอลให้แก่บริษัทอินเดีย เป็นจุดเริ่มต้นการยึดครองอนุทวีปอินเดียของสหราชอาณาจักร ซึ่งสหราชอาณาจักรสามารถยึดครองอนุทวีปอินเดียได้ทั้งหมดในอีกหนึ่งร้อยปีข้างหน้าก่อนการปะทะนั้น แคว้นเบงกอลมีผู้ปกครองคือ ชีราช อุดดอลา ตำแหน่งนาวับแห่งเบงกอล ซึ่งขึ้นปกครองมายังไม่ถึงปี เขาได้มีคำสั่งให้อังกฤษยุติการขยายป้อมปราการของอังกฤษ และได้ส่งทหารเข้าโจมตีเมืองกัลกัตตาซึ่งอยู่ในบังคับของอังกฤษและสังหารหมู่นักโทษชาวอังกฤษในคุกใต้ตินของกัลกัตตา อังกฤษจึงส่งกำลังเสริมของพันเอกรอเบิร์ต ไคลฟ์ และนายพลเรือชาลส์ วัตสัน จากเมืองมัทราสสู่แคว้นเบงกอลเพื่อทวงคืนเมืองกัลกัตตา ในวันที่ 23 มีนาคม พันเอกไคลฟ์และนายพลเรือวัตสันได้นำกองเรือไปโจมตีป้อมปราการของฝรั่งเศสซึ่งอยู่ใกล้กับกัลกัตตาด้วย และพันเอกไคลฟ์ได้แอบเจรจากับ มีร์ จาฟาร์ หนึ่งในผู้บัญชาการกองทัพเบงกอลซึ่งกุมกำลังหลัก โดยให้สินบนว่าจะตั้งเขาเป็นนาวับแห่งเบงกอลและจะให้เงินจำนวนหนึ่งหากในสนามรบเขานำกองทหารของเขาเข้าสนับสนุนอังกฤษยุทธการที่ปลาศีเริ่มขึ้นในบริเวณที่เรียกว่าปลาศีริมตลิ่งแม่น้ำภาหิรัฐในภาคเบงกอล ประมาณ 150 กิโลเมตรทางเหนือของเมืองกัลกัตตา ท้ายที่สุด จากการแปรพักตร์ของมีร์ จาฟาร์ กองทหารอังกฤษก็ได้รับชัยชนะเหนือกองทัพเบงกอลและเข้ายึดคืนกัลกัตตา[2] บริษัทฯได้ตั้ง มีร์ จาฟาร์ เป็นนาวับแห่งเบงกอลคนใหม่ การปะทะครั้งนี้กองทัพแขกนั้นมีกำลังพลมากกว่า 50,000 นาย กลับถูกพิชิตโดยกองทหารเพียง 3,000 นายของพันเอกไคลฟ์ การปะทะกินเวลา 11 ชั่วโมง

ยุทธการที่ปลาศี

วันที่สถานที่ผลลัพธ์ดินแดนเปลื่ยน
วันที่23 มิถุนายน ค.ศ. 1757
สถานที่ปลาศี ในภาคเบงกอล
ผลลัพธ์ชัยชนะของบริษัทอินเดียตะวันออก
ดินแดน
เปลื่ยน
เบงกอลตกเป็นของบริษัทอินเดียตะวันออก
สถานที่ ปลาศี ในภาคเบงกอล
ผลลัพธ์ ชัยชนะของบริษัทอินเดียตะวันออก
วันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1757
ดินแดนเปลื่ยน เบงกอลตกเป็นของบริษัทอินเดียตะวันออก

ใกล้เคียง

ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธการที่เซกิงาฮาระ ยุทธการที่มอสโก ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ยุทธการที่อิเหลง ยุทธการที่สตาลินกราด ยุทธการที่ฝรั่งเศส ยุทธการที่โอกินาวะ ยุทธการที่เทอร์มอพิลี ยุทธการที่วอเตอร์ลู