มุสทาฟา_เคมัล_อาทาทืร์ค
มุสทาฟา_เคมัล_อาทาทืร์ค

มุสทาฟา_เคมัล_อาทาทืร์ค

เคมัล อาทาทืร์ค[1] (หรือเขียนอีกอย่างว่า คามัล อาทาทืร์ค,[2] มุสทาฟา เคมัล ฟาสฮา, ค.ศ. 1881 - 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938) เป็นจอมพล นักปฏิวัติ รัฐบุรุษ นักเขียนชาวตุรกี และเป็นบิดาผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐตุรกี ทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดีคนแรก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1923 จนกระทั่งเขาถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1938 การปกครองแบบเผด็จการอย่างมีเมตตากรุณาของเขาได้ยอมรับการปฏิรูปที่ก้าวหน้าอย่างกว้างขวาง ซึ่งทำให้ตุรกีกลายเป็นประเทศที่เป็นรัฐฆราวาส และอุตสาหกรรมที่ทันสมัย[3][4][5] ด้วยอุดมการณ์ในฆราวาสนิยมและชาตินิยม นโยบายของเขาได้กลายเป็นที่รู้จักกันคือ ลัทธิเคมัล เนื่องจากความสำเร็จทางทหารและการเมืองของเขาทำให้อาทาทืร์คได้รับการยกย่องตามผลศึกษาว่า เป็นหนึ่งในผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20[6]อาทาทืร์คได้มีชื่อเสียงในบทบาทของเขาในการรักษาชัยชนะของตุรกีออตโตมันในยุทธการที่กัลลิโพลี (ค.ศ. 1915) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[7] ภายหลังจากความปราชัยและการล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมัน เขาได้นำขบวนการชาตินิยมตุรกี ซึ่งได้ต่อต้านการแบ่งแยกแผ่นดินใหญ่ของตุรกีท่ามกลางอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรผู้มีชัย ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลในเมืองหลวงตุรกีในปัจจุบันคือ อังการา เขาได้มีชัยเหนือกองกำลังที่ถูกส่งมาโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ดังนั้นชัยชนะที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ต่อมาถูกเรียกว่า สงครามประกาศอิสรภาพตุรกี เขาได้ดำเนินทำการยุบจักรวรรดิออตโตมันที่เสื่อมโทรมและประกาศวางรากฐานของสาธารณรัฐตุรกีขึ้นมาแทนในฐานะที่เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐตุรกีที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น อาทาทืร์คริเริ่มโครงการปฏิรูปทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมอย่างเข้มงวด โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการสร้างรัฐชาติแบบฆราวาสที่ก้าวหน้าและทันสมัย เขาได้ทำให้การเข้าศึกษาระดับชั้นประถมแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายและเป็นภาคบังคับ เปิดโรงเรียนใหม่หลายพันแห่งทั่วประเทศ เขายังได้แนะนำอักษรตุรกีที่ใช้ภาษาละตินเป็นพื้นฐาน แทนที่ตัวอักษรตุรกีออตโตมันแบบโบราณ สตรีชาวตุรกีได้รับสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมืองในช่วงการขึ้นครองตำแหน่งของอาทาทืร์คได้นำหน้าไปหลายประเทศตะวันตก[8] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สตรีที่ได้รับสิทธิออกเสียงในการเลือกตั้งท้องถิ่นตามกฎหมายที่ 1580 เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1930 และไม่กี่ปีต่อมา ในปี ค.ศ. 1934 สิทธิในการออกเสียงการเลือกตั้งทั่วไปอย่างเต็มรูปแบบเร็วกว่าประชาธิปไตยส่วนใหญ่ในโลก[9]รัฐบาลของเขาได้ดำเนินนโยบาย Turkification พยายามที่จะสร้างชาติที่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและรวมชาติเป็นปึกแผ่น[10][11][12] ภายใต้การปกครองอาทาทืร์ค ชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่ชาวตุรกีได้ถูกกดดันให้พูดภาษาตุรกีในที่สาธารณะ[13] ภูมินามวิทยาที่ไม่ใช่ภาษาตุรกีและนามสกุลของชนกลุ่มน้อยจะต้องเปลี่ยนเป็นการแปลเป็นภาษาตุรกี[14][15] รัฐสภาตุรกีได้มอบนามสกุลให้แก่เขาว่า อาทาทืร์ค ในปี ค.ศ. 1934 ซึ่งหมายความว่า "บิดาแห่งชาวเติร์ก" เพื่อเป็นการรับรู้ถึงบทบาทที่เขาเล่นในการสร้างสาธารณรัฐตุรกียุคสมัยใหม่[16] เขาถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938 ที่พระราชวังโดลมาบาห์เชในกรุงอิสตันบูล ด้วยวัย 57 ปี[17] เขาได้รับการสืบทอดตำแหน่งในฐานะประธานาธิบดีโดยนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งมายาวนานในสมัยของเขาคือ อิสเมท อีเนอนือ[18] และได้รับเกียรติด้วยงานศพของรัฐ สุสานที่เป็นสัญลักษณ์ของเขาในอังการา ซึ่งถูกสร้างและเปิดทำการในปี ค.ศ. 1953 ได้ถูกล้อมรอบด้วยสวนสาธารณะที่เรียกว่า สวนสาธารณะสันติภาพ เพื่อเป็นเกียรติแก่การแสดงความคิดเห็นของเขาที่มีชื่อเสียงด้วยคำว่า "สันติสุขที่บ้าน สันติภาพในโลก"ในปี ค.ศ. 1981 เมื่อครบรอบร้อยปีของการเกิดของอาทาทืร์ค ความทรงจำของเขาได้รับการยกย่องจากสหประชาชาติและยูเนสโก ซึ่งได้ประกาศว่าเป็นปีแห่งอาทาทืร์คในโลก และได้รับรองมติการครบรอบร้อยปีของอาทาทืร์ค ได้มีการอธิบายถึงเขาว่า"เป็นผู้นำแห่งการสู้รบครั้งแรกที่ต่อต้านลัทธิการล่าอาณานิคมและจักรวรรดินิยม" และ "เป็นผู้ก่อตั้งที่น่าทึ่งของความเข้าใจระหว่างประชาชนและความสงบสุขที่ยั่งยืนระหว่างประชาชาติของโลก และเขาทำงานมาตลอดทั้งชีวิตของเขาเพื่อการพัฒนาความสามัคคีและความร่วมมือระหว่างประชาชนโดยปราศจากความแตกต่าง"[19][20] อาทาทืร์คได้กลายเป็นบุคคลที่ถูกรำลึกไว้อาลัยถึงโดยอนุสรณ์สถานหลายแห่งและสถานที่ที่มีการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขาในตุรกีและทั่วโลก อีเลฟเทริออส เวนิเซลอส อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งกรีซได้เป็นผู้ส่งต่อชื่อของอาทาทืร์คสำหรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปี ค.ศ. 1934[21]

แหล่งที่มา

WikiPedia: มุสทาฟา_เคมัล_อาทาทืร์ค http://www.hurriyetdailynews.com/turkey-commemorat... http://www.isteataturk.com/haber/print.php?haberno... http://www.columbia.edu/~sss31/Turkiye/ata/hayati.... //doi.org/10.1093%2Facref%2F9780192800916.001.0001 //doi.org/10.1093%2Facref%2F9780199546091.001.0001 //doi.org/10.1111%2Fj.1467-6443.2005.00262.x //doi.org/10.4000%2Fejts.2243 //doi.org/10.4000%2Fejts.4142 http://ejts.revues.org/index2243.html http://ejts.revues.org/index4142.html