อีเลฟเทริออส_เวนิเซลอส
อีเลฟเทริออส_เวนิเซลอส

อีเลฟเทริออส_เวนิเซลอส

อีเลฟเทริออส เวนิเซลอส (Eleftherios Venizelos; ชื่อเต็ม : อีเลฟเทรีออส คีรีอาคู เวนิเซลอส ;Elefthérios Kyriákou Venizélos, กรีก: Ἐλευθέριος Κυριάκου Βενιζέλος ; 23 สิงหาคม ค.ศ. 1864 - 18 มีนาคม ค.ศ. 1936) เป็นผู้นำชาวกรีกที่ประสบความสำเร็จในขบวนการปลดปล่อยชาติกรีกและเป็นรัฐบุรุษที่มีเสน่ห์ในช่วงยุคต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นที่จดจำจากการส่งเสริมนโยบายแนวเสรีนิยมประชาธิปไตย[1][2][3] เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งกรีซหลายสมัย โดยดำรงตำแหน่งระหว่างค.ศ. 1910 ถึงค.ศ. 1920 และตั้งแต่ค.ศ. 1928 ถึงค.ศ. 1932 เวนิเซลอสเป็นผู้มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งในกิจการทั้งภายในและภายนอกของกรีซ ซึ่งทำให้เขาได้รับการขนานนามว่าเป็น "ผู้สร้างกรีซสมัยใหม่"[4] และยังคงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในฐานะ "เอ็ทนาร์ช" (Ethnarch)การเข้ามามีบทบาทในเวทีระหว่างประเทศครั้งแรกของเขาคือการที่เขามีบทบาทสำคัญในการดำเนินการความเป็นอิสระของรัฐครีตและหลังจากนั้นได้รวมเกาะครีตเข้ากับกรีซ ในเวลาโดยเร็ว เขาถูกเชิญไปยังกรีซเพื่อแก้ไขปัญหาการชะงักงันทางการเมืองและกลายเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ ไม่เพียงแต่เขาเริ่มต้นการปฏิรูปรัฐธรรมนูญและเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทำให้สังคมกรีกมีความเป็นสมัยใหม่ และยังได้จัดตั้งทั้งกองทัพบกและกองทัพเรือขึ้นมาใหม่เพื่อเตรียมการกับความขัดแย้งในอนาคต ก่อนสงครามบอลข่านในปีค.ศ. 1912 - 1913 บทบาทที่เป็นตัวเร่งของเวนิเซลอสได้ชาวยให้กรีซสามารถเข้าร่วมสันนิบาตบอลข่าน ซึ่งเป็นกลุ่มสัมพันธมิตรของรัฐบอลข่านเพื่อต่อต้านจักรวรรดิออตโตมัน โดยผ่านความเฉียบแหลมทางการทูต พื้นที่และประชากรของกรีซได้เพิ่มทวีมากขึ้นจากการปลดปล่อยมาซิโดเนีย, อีพิรัสและส่วนที่เหลือของหมู่เกาะอีเจียนในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1914 - 1918) เขาได้นำกรีซไปเข้ากับฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อขยายพรมแดนกรีก อย่างไรก็ตาม ด้วยนโยบายต่างประเทศที่สนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทำให้เขามีความขัดแย้งโดยตรงกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งก่อให้เกิดความแตกแยกแห่งชาติ ความแตกแยกนี้ได้ก่อให้เกิดการแบ่งขั้วในหมู่ประชาชนระหว่างฝ่ายกษัตริย์นิยมและกลุ่มนิยมเวนิเซลอส (Venizelists; เวนิเซลิสต์) และเกิดการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจระหว่างทั้งสองกลุ่มที่ได้บั่นทอนทำลายการเมืองและชีวิตทางสังคมของกรีซมาเป็นเวลานานหลายทศวรรษ[5] ต่อมาฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ เวนิเซลอสได้รับดินแดนใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอานาโตเลีย ซึ่งทำให้แนวคิดกรีกเมกาลีใกล้เคียงความเป็นจริงยิ่งขึ้น แม้ว่าเขาจะประสบความสำเร็จ แต่เวนิเซลอสได้พ่ายแพ้การเลือกตั้งในปีค.ศ. 1920 ซึ่งในที่สุดทำให้กรีซพ่ายแพ้ในสงครามกรีก-ตุรกี (1919 - 1922) เวนิเซลอสซึ่งได้เนรเทศตัวเองออกไป ได้เป็นตัวแทนของกรีซในการเจรจาที่นำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญาโลซานและข้อตกลงการแลกเปลี่ยนร่วมกันในระดับประชากรระหว่างกรีซและตุรกี ในช่วงเวลาที่เวนิเซลอสยังดำรงตำแหน่งอยู่ ได้ประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ในระดับปกติกับประเทศเพื่อนบ้านของกรีซและได้ขยายการปฏิรูปรัฐธรรมนูญและเศรษฐกิจ ในปีค.ศ. 1935 เวนิเซลอสได้เปลี่ยนแนวคิดหลังจากการเกษียณอายุราชการโดยการสนับสนุนการรัฐประหารโดยกองทัพ และเขาได้จัดตั้งสาธารณรัฐเฮเลนิกที่สองที่มีความอ่อนแอและล้มเหลวอย่างรุนแรง

อีเลฟเทริออส_เวนิเซลอส

ศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยเนชันนอลแอนด์คาโปดิสเทรียนแห่งเอเธนส์ (National and Kapodistrian University of Athens)
ลายมือชื่อ
คู่สมรส มาเรีย คาเตลูซู (ค.ศ. 1891 - 1894)
เอเลนา สกีลิตซี (ค.ศ. 1921 - 1936)
บุตร คีรีอาคอส เวนิเซลอส
โซโฟคลิส เวนิเซลอส
ก่อนหน้า อเล็กซานดรอส ไซมิส (ในฐานะข้าหลวงใหญ่)
พรรคการเมือง พรรคเสรีนิยม
เกิด 23 สิงหาคม ค.ศ. 1864
มอร์นีส์ ครีต จักรวรรดิออตโตมัน
ถัดไป อเล็กซานดรอส โอโทนาอิออส
กษัตริย์ พระเจ้าจอร์จที่ 2
ประธานาธิบดี อเล็กซานดรอส ไซมิส
วิชาชีพ นักการเมือง
นักปฏิวัติ
สมาชิกสภานิติบัญญัติ
ทนายความ
นักกฎหมาย
สื่อมวลชน
นักแปล
เสียชีวิต 18 มีนาคม ค.ศ. 1936 (อายุ 71 ปี)
ปารีส ฝรั่งเศส
ศาสนา ออร์ทอดอกซ์กรีก
ญาติ คอนสแตนติน มิตโซตากิส (หลาน)

ใกล้เคียง

อีเลฟเทริออส เวนิเซลอส อีเลฟเวน (เพลง) อีเลฟเวน อีเอฟแอลแชมเปียนชิป อีเอฟแอลคัพ อีเอฟแอลแชมเปียนชิป ฤดูกาล 2023–24 อีเลียด อีเอฟแอลแชมเปียนชิป ฤดูกาล 2022–23 อีเอฟแอลคัพ 2024 นัดชิงชนะเลิศ อีเอฟแอลแชมเปียนชิป ฤดูกาล 2021–22

แหล่งที่มา

WikiPedia: อีเลฟเทริออส_เวนิเซลอส http://nla.gov.au/nla.news-article1612186 http://www.britannica.com/eb/article-9038873 http://www.britannica.com/eb/article-9052680 http://www.britannica.com/eb/article-9075030 http://books.google.com/?id=2-zAeObDX_gC http://books.google.com/?id=9HGRx8ZotiUC http://books.google.com/?id=FV_i8P0ZSWQC http://books.google.com/?id=FusZfTDXOpoC http://books.google.com/?id=H5pyUIY4THYC http://books.google.com/?id=KQEH4vvG0KwC